Category: อุทัยธานี

วัดอุโปสถาราม

วัดอุโปสถาราม เดิมชื่อ วัดโบสถ์มโนรมย์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดโบสถ์ เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมลำน้ำสะแกกรัง บนเกาะเทโพ ในเขตเทศบาลเมือง จากตลาดสดเทศบาล มีสะพานข้ามแม่น้ำไปยังวัดอุโปสถาราม ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์และวิหาร เป็นภาพเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในโบสถ์เป็นภาพพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพานฝีมือประณีตมาก ในวิหารเขียนภาพพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทพยดาบนสวรรค์และภาพปลงสังขาร ด้านบนฝาผนังเป็นพระสงฆ์สาวกชุมนุมสลับกับพัดยศเหมือนจะไหว้พระประธานในวิหาร ฝาผนังด้านนอกหน้าวิหารมีภาพถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภาพชีวิตชาวบ้านที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เข้าใจว่าเป็นฝีมือชั้นหลัง นอกจากนี้ภายในวัดอุโปสถาราม ยังมีสิ่งของที่น่าชมอีกมาก เช่น เสมาหินสีแดงหน้าโบสถ์ ตู้พระธรรมและตู้ใส่ของเขียนลายกนกเถาลายดอกไม้ บาตรฝาประดับมุกที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เป็นฝีมือช่างสิบหมู่ และหงส์ยอดเสา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาคารสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่น่าชมหลายหลัง ได้แก่ มณฑปแปดเหลี่ยม ลักษณะผสมแบบตะวันตก มีลายปูนปั้นคล้ายไม้เลื้อยที่กรอบหน้าต่าง และมีพระพุทธรูปปูนสลักนูนสูงอยู่ด้านนอกอาคาร เจดีย์หกเหลี่ยม เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองทรงรัตนโกสินทร์ หอประชุมอุทัยพุทธสภา  เป็นศาลาทรงไทย ใช้เป็นหอสวดมนต์ หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้น และ แพโบสถ์น้ำ  ตั้งอยู่หน้าวัด สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือใน พ.ศ. 2449 เดิมเป็นแพแฝด 2 หลัง มีช่อฟ้า ใบระกาเหมือนอุโบสถทั่วไป หน้าบันมีป้ายวงกลมจารึกภาษาบาลี “สุ อาคต […]

Read More

วัดอมฤตวารี

วัดอมฤตวารี ตั้งอยู่ที่บ้านหนองน้ำคัน หมู่ที่ 8 ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานีสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2325 เดิมชื่อว่า วัดหนองน้ำคัน เพราะตั้งอยู่ใกล้หนองน้ำใหญ่ซึ่งมีอาถรรพถ์ คือใครลงไปอาบน้ำแล้วจะรู้สึกคันตัวจนกว่าน้ำที่เปียกตัวจะแห้ง จึงหายคันแม้กระทั่งใคร ที่ได้นำเอาปลา กุ้ง หอย ที่อาศัยอยู่ในหนองน้ำแห่งนี้ไปทำอาหารกินก็จะเกิดโรคผิวหนัง ต่อมาปี พ.ศ. 2482 พระสุนทรมุนี (พุฒ สุทัตตเถระ) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานีและสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์สมัยนั้นเห็นว่า ชื่อวัดหนองน้ำคันไม่เป็นมงคลนาม จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดอมฤตวารี” แปลว่า “วัดที่มีน้ำดื่มกินได้ชุ่มชื้นดุจน้ำอมฤต” สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1. พระอุโบสถหลังเก่า (บูรณะใหม่) สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะของพระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีขนาดไม่ใหญ่นักมีประตูทางเข้าทางเดียว ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้างละ 3 บาน ประตูหน้าต่างเป็นช่องสี่เหลี่ยม ไม่มีซุ้ม ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังเรื่องพระพุทธประวัติตอน “พระเวสสันดรชาดก” เหนือระดับหน้าต่างมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนเป็นภาพเทพชุมนุมสดับพัดยศ ด้านหลัง พระประธานเขียนภาพพุทธประวัติตอนพิชิตมารและเรื่องพระยาฉัททันต์สันนิษฐานว่า พระอุโบสถเคยซ่อมมาแล้วในราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเพราะภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏเป็นลักษณะและฝีมือช่างประมาณสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันพระอุโบสถหลังนี้ใช้เป็นกุฏิพระสงฆ์ทำให้ภาพจิตรกรมฝาผนังลบเลือนลงไปเป็นบางส่วน [adsense-2] 2.. เจดีย์ […]

Read More

วัดใหม่จันทราราม

วัดใหม่จันทาราม แต่เดิมเป็นวัดร้างมีนามว่า “วัดพะเนียด” ซึ่งเป็นสถานที่รวมรวบช้างป่า เพื่อส่งไปเป็น ช้างศึกให้แก่กรุงศรีอยุธยา เพื่อใช้ในการทำสงครามในสมัยนั้น เดิมที่มีเสาตลุงเพนียดช้างอยู่ ต่อมาสร้างวัดขึ้นมา และปล่อยทิ้งร้างไป พระอาจารย์เอี่ยม และชาวบ้านท่าซุง จึงบูรณะก่อสร้างใหม่ ให้นามวัดใหม่ว่า “วัดใหม่จันทาราม” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดใหม่” ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนัง รูปดอกมณฑารพ (ดอกไม้แห่งเมืองสวรรค์) ตัวโบสถ์มีลักษณะคล้ายเรือ ส่วนหน้าเชิดขึ้น หน้าบันโบสถ์เป็นศิลปะจีนผสม ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลายเครือเถา มีพระประธานปางปรินิพพานให้ได้ชมกัน ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมที่น่าชม แม้จะทรุดโทรมไปบ้าง แต่ก็ยังคงได้เห็นการเขียนภาพจิตรกรรมซึ่งสัมพันธ์กับพระพุทธรูปประธานอันแสดงถึงวิธีคิดอันแยบคายของช่างเขียนโบราณ [adsense-2] สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1. โบสถ์ อาคารโบสถ์มีลักษณะคล้ายเรือ ส่วนหน้าเชิดขึ้นหน้าบันโบสถ์ได้รับอิทธิพลศิลปะจีนโดยตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นลายเครือเถา เสารองรับชายคาด้านหน้าเป็นเสาแปดเหลี่ยม กรอบประตูหน้าต่างเป็นซุ้มโค้งแบบสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมที่นิยมในช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5 2. ภาพจิตรกรรมดอกมณฑารพ ชาวพุทธเชื่อว่าดอกมณฑารพเป็นต้นไม้ในเมืองสวรรค์ บางคนก็เรียกว่าดอกมณฑา มณฑาเป็นไม้ต้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Talauma candollei BI. ในวงศ์ Magnoliaceae ลักษณะใบใหญ่ มีดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม ภาพจิตรกรรมดอกมณฑารพเกี่ยวโยงกับพระประธานในโบสถ์ซึ่งแปลกแตกต่างจ่ากวัดอื่นตรงที่เป็นพระพุทธไสยาสน์ปางปรินิพพานแทนที่จะเป็นพระพุทธรูปปามารวิชัย ด้วยเหตุนี้ช่างจึงเขียนภาพบนผนังโบสถ์ด้านหลังพระประธานเป็นภาพดอกมณฑารพเต็มทั้งผนัง […]

Read More

วัดสังกัสรัตนคีรี

วัดสังกัสรัตนคีรี ตั้งอยู่บนเขาสะแกกรัง เป็นภูเขาที่ตั้งกั้นเมืองอุทัยอยู่ทางทิศตะวันตกก่อนที่จะเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เหมือนดั่งเป็นร่มเงาให้กับจังหวัดอุทัยทั้งจังหวัด แต่เดิมเรียกกันว่าเขาแก้ว เป็นที่ตั้งของวัดสังกัสรัตนคีรี เป็นวัดเก่า แก่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2443 ยอดเขาสะแกกรังเป็นดินแดนที่ชาวอุทัยยกให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ภายในวัด เป็นที่ ประดิษฐานของพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ของเมือง อุทัยมา ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ชาวเมืองต่างให้ความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังใหม่ฝั่งตรงข้ามบันไดทางขึ้นยอดเขาสะแกกรัง ทางขึ้นสู่ยอดเขาสะแกกรังขึ้นไปได้สองทาง คือทางรถยนต์ และจากบริเวณลานวัดจะมีบันได 449 ขั้นตัดตรงขึ้น สู่ยอดเขาสะแกกรังถ้าไม่อยากเดินขึ้นบันไดก็สามารถใช้ทางรถก็ได้ โดยขึ้นทางด้านข้างสนามกีฬาจังหวัด ซึ่งบน ยอดเขานั้นบนเขาสะแกกรังมีศาสนสถานที่สำคัญหลายแห่งคือพระมณฑปทรงไทยสวยงามมีนามว่า สิริมหามายากุฎาคาร ซึ่งที่บนนี้เขาเปรียบให้เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนา โปรดพระพุทธมารดาบน สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาที่เมือง กัสนคร และกลายมาเป็นชื่อวัดสังกัสรัตนคีรี จากบนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองอุทัยธานีได้กว้างขวาง มีจุดนั่งพักผ่อนชมวิวหลายจุดและมี ศาสนสถาน ที่ให้เข้าไปไหว้พระทำบุญหลายแห่ง ทั้งวิหารพระพุทธรูปสำคัญ วิหารพระบรมสารีริกธาตุ ศาลเจ้าจีน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งย้ายมาจากวัดจันทาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2448 ด้านหน้ามีระฆังใบใหญ่ที่พระปลัดใจและชาวอุทัยธานีร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2443 ถือกันว่าเป็น […]

Read More

วัดพิชัยปุรณาราม

วัดพิชัยปุรณาราม เดิมชื่อ วัดกร่าง ตั้งอยู่เลขที่ 199 ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสะแกกรัง สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อปลายสมัยอยุธยา ประมาณ พ.ศ.2301 พระยาพิชัยสุนทรเจ้าเมืองอุทัยธานีในสมัยนั้นได้ชักชวนพุทธศาสนิกชนร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์และได้เปลี่ยนชื่อ จากวัดกร่างมาเป็นวัดพิชัยปุรณารามจนถึงปัจจุบันนี้ วัดพิชัยปุรณารามมีวิหารเก่าสร้างในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา มีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์นามว่า “พระพุทธชัยสิทธิ์” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างในสมัยอยุธยา ขนาดหน้าตัก กว้าง 1.47 เมตร สูง 1.87 เมตร มีซุ้มเรือนแก้วปูนปั้น เป็นพญานาคสวยงามประดิษฐานในวิหาร ส่วนในพระอุโบสถมีพระประธานสร้างด้วยปูนนามว่า “พระพุทธรูปอู่ทอง” และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติและงานศิลปกรรมอื่น ๆ อันทรงคุณค่า ที่เก่าแก่อายุกว่าร้อยปี ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงสมควรได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังเพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบทอดพระพุทธศาสนา สิ่งน่าสนใจภายในวัด 1. พระพุทธชัยสิทธิ์ หรือหลวงพ่อชัยสิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางวิชัน มีซุ้มเรือนแก้วประดับรอบองค์คล้ายกับพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก และพระประธานในโบสถ์วัดไลย์ จ.ลพบุรี สันนิษฐานว่าพระพุทธชัยสิทธิ์สร้างขึ้นในสมัยอู่ทองหรือต้นสมัยอยุธยา 2. วิหารพระพุทธชัยสิทธิ์ นับเป็นอาคารสมัยอู่ทองหรืออโยธยา ซึ่งมีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา อายุกว่า 600 ปี ปัจจุบันเหลือสถาปัตยกรรมสมัยอู่ทองเพียงสี่แห่งในประเทศไทย นอกจากที่วัดนี้แล้วมีที่โบสถ์พระศรีรัตนมหาธาตุ […]

Read More

วัดธรรมโฆษก

วัดธรรมโฆษก (วัดโรงโค) ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ ใกล้ตลาดเทศบาล เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒนสัตยา ของข้าราชการเมืองอุทัยธานี และเป็นลาน ประหารนักโทษ เป็นวัดที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมืองดงาม จัดว่าสวยงามที่สุดในอุทัยธานี สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ถึงสมัย รัตนโกสินทร์ จิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ และตอนผจญมาร ผนังข้างด้านบนเป็นภาพเทพชุมนุมสลับกับพัดยศ กรอบหน้าต่างด้านนอกเป็นลายปูนปั้น วิหารสร้างยกพื้นสูงกว่าโบสถ์ หน้าบันเป็นรูปช้างสามเศียร ภายในมีแท่นสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีประมาณ 20 องค์ จัดเรียงอย่างมีระเบียบ บนหน้าต่างด้านนอกมีลายปูนปั้นเป็นเรื่องรามเกียรติ์ประดับเป็นกรอบ ประตูวิหารเป็นไม้จำหลักลายดอกไม้ทาสีแดงงดงามมาก โบสถ์และวิหารมีพระปรางค์และเจดีย์เรียงรายอยู่ 2-3 องค์ [adsense-2] กำแพงรอบโบสถ์ของวัดนี้ก่อต่อกับฐานวิหารเพราะมีพื้นสูงกว่า ประตูเป็นซุ้มแบบจีน และด้านหลังโบสถ์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปเช่นเดียวกับด้านหน้า มีกุฏิเล็กอยู่ติดกับกำแพงโบสถ์ เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา บานประตูวัดแกะสลัก ฝีมือช่างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นลายดอกไม้ประกอบใบกระจังต่อก้านสลับดอกเรียงเป็นแถวสวยงามมาก พื้นในเป็นสีแดงเข้าใจว่าเดิมคงลงสีทองบนตัวลายไว้ บานหน้าต่างแกะเป็นลวดลายเดียวกัน ปกติโบสถ์จะปิดหากต้องการชมควรแจ้งไปก่อนที่ โทร. 0 5651 1450 ปัจจุบันวัดธรรมโฆษกได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว ไปตามทางหลวงสายเอเชีย พอเจอทางแยกซ้ายเข้าอ.เมือง จ.อุทัยธานี จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายประมาณ 8 กิโลเมตร […]

Read More

วัดจันทาราม(วัดท่าซุง)

วัดจันทราราม (วัดท่าซุง) ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลน้ำซึม ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 5 กม. ตามทางสาย 3265 มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟากอำเภอมโนรมย์ ประมาณ 12 กม. เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพื้นบ้านเข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังเป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน มีศาลามณฑปแก้วที่สร้างขึ้นใหม่ รวมทั้งมีท่าเรือคอนกรีตริมฝั่งแม่น้ำเพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทางน้ำ วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2-3 แห่ง สิ่งที่เป็นโบราณวัตถุของวัดคือ ธรรมมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ มากมาย ซึ่งสร้างโดยพระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงเป็นบริเวณพุทธาวาสที่น่าชมมาก พระอุโบสถใหม่สร้างสวยงามภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า ยังมีศาลาอยู่หลายหลังสำหรับใช้เป็นสถานที่ฝึกสมาธิและมีที่พักให้ด้วย เวลาทำการ เปิดทุกวัน – มหาวิหารแก้ว เวลาเปิด 9:00 – 11: 30 น. และ 14:00 – […]

Read More

แม่น้ำสะแกกรัง

แม่น้ำสะแกกรัง ลำน้ำสำคัญที่ไหลผ่านตัวจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ในสมัยก่อนเมื่อพ่อค้าล่องเรือผ่านมา จะรู้ได้ว่าถึงบ้านสะแกกรังแล้ว ด้วยต้นสะแกจะออกดอกเล็กๆ ช่อยาวสีเขียวอมเหลืองที่ห้อยลงมาริมน้ำ โดยเฉพาะในเดือนยี่ถึงเดือนสามจะสังเกตได้ชัดเจน สะแกกรัง เป็นแม่น้ำมีต้นกำเนิดอยู่ในเขตเทือกเขาโมโกจู ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านท่าซุง ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 225 กิโลเมตร แม่น้ำสะแกกรัง มีหลายชื่อตามท้องถิ่นที่แม่น้ำไหลผ่านคือ คลองแม่เร่ – แม่วง คือ ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอคลองขลุง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์จนถึงเขาชนกัน แม่น้ำวังม้า คือ ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี แม่น้ำตากแดด คือ ช่วงไหลผ่านเขตอำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอทัพทัน และอำเภอเมือง ฯ จนถึงปากคลองขุมทรัพย์ แม่น้ำสะแกกรัง คือ ช่วงตั้งแต่ปากคลองขุมทรัพย์ หรือคลองอีเติ่ง ที่บ้านจักษา อำเภอเมือง ฯ หรือตรงปลายแม่น้ำตากแดด ณ จุดที่แม่น้ำตากแดดไหลมาบรรจบกับคลองขุมทรัพย์ ซึ่งน้ำจะเป็นสองสี แล้วไหลผ่านตัวเมืองอุทัยธานี แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอมโนรมย์ […]

Read More

น้ำพุร้อนสมอทอง

น้ำพุร้อนสมอทอง ตั้งอยู่ที่บ้านสมอทอง ตำบล คอกควาย อยู่ในโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว เดิมเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติขนาดเล็ก ที่ผุดขึ้นมาผิวดิน เป็นน้ำใสและมีกลิ่นกำมะถันฉุนมีความร้อนขนาดต้มไข่สุกภายใน 5 นาที ไหลผ่านช่องเขาไปรวมกับน้ำในลำห้วยคอกควาย ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงให้เป็นบ่อน้ำพุร้อน และเป็นจุดชมทิวทัศน์ และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้สวยงาม น้ำพุร้อนบ้านสมอทอง อยู่ในโครงการอ่าวเก็บน้ำห้วยขุนแก้วสร้างขึ้นเมื่อ ปี 2540 จึงได้สร้างบริเวณน้ำร้อนให้เป็นสวนหย่อมขึ้นมากลางอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นน้ำพุร้อนแบบธรรมชาติขนาดเล็กที่ผุดขึ้นมาผิวดินโดยไหลผ่านช่องเขาสองลูก อยู่ในโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว น้ำพุที่ผุดนี้ ใส มีกลิ่นกำมะถันฉุน และมีความร้อนขนาดต้มไข่สุกภายใน 5 นาที โดยน้ำจะไหลลาดตามหินของภูเขาลงไปรวมกับน้ำในลำห้วยคอกควาย ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงให้เป็นบ่อน้ำพุร้อน เป็นจุดชมทิวทัศน์ และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้สวยงาม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเคยเสด็จ ณ แหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนบ้านสมอทอง จังหวัดอุทัยธานี เมื่อวันที่ 16 กันยายาน พ.ศ. 2552 ภายในบริเวณน้ำพุร้อนสมอทองมีบริการ อ่างแช่เท้า สระแช่น้ำแร่กลางแจ้ง นวดเพื่อสุขภาพ ห้องอาบน้ำพุร้อนส่วนตัวไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว  [adsense-2] อัตราค่าบริการ อาบน้ำแรก ห้องกลาง ราคา 150 บาท/ชม. อาบน้ำแร่ ห้องใหญ่ ราคา […]

Read More

ถ้ำพุหวาย

“ถ้ำพุหวาย” ตั้งอยู่ในเขตวนอุทยานถ้ำเขาวง สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูนสูงชันสลับซับซ้อน ถ้ำพุหวาย เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ภายในถ้ำกว้างขวาง มีหินงอกหินย้อย เช่น รูปเจดีย์ อ่างน้ำ โดยทางเข้าถ้ำอยู่บนไหล่เขาต้องเดินขึ้นไป อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีโพรงทะลุถึงด้านตรงข้ามของภูเขา มีค้างคาวอาศัยอยู่ 9 ชนิด ติดต่อคนนำทางทางได้บริเวณปากถ้ำ ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ทางด้านหลังของถ้ำพุหวาย คือ ถ้ำเทพมาลีหรือถ้ำพญานาค เป็นถ้ำขนาดเล็กค่อนข้างลึกมีความสวยงามตามธรรมชาติของหินงอกหินย้อย ยอดเขาพุหวาย สูง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่กว้างไกลอย่างสวยงาม บนสันเขามีสภาพเป็นป่าเต็งรังที่ค่อนข้างสมบูรณ์ [adsense-2] การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว จากอำเภอบ้านไร่ใช้ทางหลวงหมายเลข 3011 สายบ้านไร่-พุบอน ผ่านโค้งศาลเจ้าพ่อเขารัก จนกระทั่งถึงทางแยกที่มีป้ายบ้านอีหลุม-บ้านเขาพุเตย เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ผ่านทางเข้าวัดถ้ำเขาวงมาอีก 3 กิโลเมตร จะถึงทางเข้าถ้ำพุหวาย

Read More