Category: อุตรดิตถ์

น้ำตกสายทิพย์

“น้ำตกสายทิพย์” อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีจำนวนชั้นทั้งหมด 7 ชั้น ในการเดินลงสู่ตัวน้ำตกนักท่องเที่ยวควรสวมใส่รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าที่มีความสามารถในการยึดเกาะพื้นผิวเป็นอย่างดีเนื่องจากทางลงสู่ตัวน้ำตกแต่ละชั้นค่อนข้างชันและลื่น ก้อนหินโดยรอบบริเวณน้ำตกถูกปกคลุมไปด้วยพืชจำพวกมอสและตะไคร่น้ำดูเขียวชอุ่มสวยงาม ปัจจุบันทางอุทยานแห่งชาติภูสอยดาวได้ทำรั้วไม้กั้นทางไว้ไม่ให้นักท่องเที่ยวเดินลงไปเกินน้ำตกสายทิพย์ชั้นที่ 5 เพื่อความปลอดภัย ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว ช่วงเดือนกันยายน – ต้นพฤศจิกายน บนลานสนภูสอยดาวจะเต็มไปด้วยพรรณไม้ดอกนานาชนิด น้ำตกมีน้ำมาก ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน – กลางเดือนมกราคม เป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็น เหมาะแก่การสัมผัสความหนาวเย็นพร้อมชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่คนละ 40 บาท เด็กคนละ 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่คนละ 200 บาท เด็กคนละ 100 บาท ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th หรือที่อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 53110 โทรศัพท์ 0 5541 9234-5 [adsense-2] […]

Read More

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว แต่เดิมเป็นวนอุทยานภูสอยดาว ได้สำรวจจัดตั้งเป็นวนอุทยานภูสอยดาว โดยสำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 มีพื้นที่เพียง 20,000 ไร่ จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2535 กรมป่าไม้ได้จัดสรรงบประมาณให้สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลกทำการสำรวจพื้นที่ เพิ่มเติมเพื่อผนวกเข้ากับพื้นที่เดิมของวนอุทยานภูสอยดาว ผลการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และในเขตป่าไม้ถาวรตามป่าภูสอยดาวท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ป่าภูสอยดาว ท้องที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ตามมติคณะรัฐมนตรีได้เนื้อที่รวม 48,962.5 ไร่ หรือ 78.34 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลกได้ขอจัดตั้งวนอุทยานภูสอยดาวเป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ได้รายงานให้กรมป่าไม้ทราบว่า พื้นที่วนอุทยานภูสอยดาวเป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ จึงเห็นสมควรที่จะรักษาพื้นที่ป่าแห่งนี้ไว้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ใกล้เคียงยังมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ สามารถผนวกเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก โดยกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จนกระทั่งปี 2551 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 71 ก ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 แหล่งท่องเที่ยว […]

Read More

อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ

อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ อยู่ที่สี่แยกตลาดลับแล อำมาตย์ตรี พระศรีพนมมาศ (ทองอิน แซ่ตัน) (พ.ศ. 2404 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2465) อดีตนายอำเภอลับแลในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้สร้างความเจริญให้แก่อำเภอลับแลเป็นอย่างมาก เช่น เป็นผู้วางผังเมืองลับแล สร้างฝายหลวง พัฒนาการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมการเกษตร เป็นบุคคลที่คนอำเภอลับแลให้ความเคารพนับถือสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน พระศรีพนมมาศ เดิมชื่อ “นายทองอิน” มีบิดาเป็นชาวจีน ชื่อ “ตั้วตี๋ แซ่ตัน” มีมารดาชื่อ “นิ่ม” เป็นชาวอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พระศรีพนมมาศเกิดที่บ้านยางกะได เมืองลับแล เมื่อ พ.ศ. 2404 เมื่อเล็กๆ บิดามารดาได้ยกให้เป็นลูกของหลวงพ่อน้อย วัดป่ายาง หลวงพ่อน้อยได้ตั้งชื่อให้ว่า “ทองอิน” เมื่อมีอายุได้ 12 ปี บิดามารดาก็นำไปฝากวัดไว้โดยอยู่กับหลวงพ่อต้น วัดน้ำใส เพื่อให้เข้าศึกษาเล่าเรียน เมื่ออายุครบที่จะบวช ได้อุปสมบทที่วัดน้ำใส ในเมืองลับแล 1 พรรษา แล้วสึกออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ อาชีพเริ่มแรกของนายทองอินคือการค้าขาย เริ่มต้นแต่หาบแร่ของไปขายยังชุมชนต่าง […]

Read More

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเกียรติในเรื่องความ องอาจ กล้าหาญ รักชาติ และเสียสละของท่าน จากนั้นในระหว่างวันที่ 7 – 13 มกราคม ของทุกปี จะจัดงานเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของท่าน ถือเป็นงานประจำปี เรียกชื่องานว่า “งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด” และในบริเวณอนุสาวรีย์ยังมี “พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก” เป็นที่เก็บรักษาดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนัก 557.8 กิโลกรัม ฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักสลาย และ “พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย” ที่ภายในเก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งแบบจำลองสนามรบ และวิถีชีวิตผู้คนเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยโบราณ [adsense-2] พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้าน ห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2284 ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ เข้ารับราชการกับพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองค์รักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงพิชัยอาสา” […]

Read More

วัดใหญ่ท่าเสา

วัดใหญ่ท่าเสา ตั้งอยู่ในเขตชุมชนท่าเสา ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองอุตรดิตถ์ และอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟท่าเสา วัดใหญ่ท่าเสาน่าจะสร้างขึ้นมาพร้อมกับชุมชนท่าเสาเมื่อราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นอย่างน้อย ผู้คนในชุมชนท่าเสามีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เนื่องจากชุมชนท่าเสาเคยเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญในลุ่มน้ำน่าน จึงมีทั้งชาวไทย ชาวจีน ชาวไทยวน (ล้านนา) และชาวลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานและอยู่อาศัยสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดใหญ่ท่าเสา 1. โบสถ์ เป็นโบสถ์ขนาดเล็กมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย บานประตูเป็นไม้แกะสลัก 2 บาน หน้าบันด้านหน้าเป็นไม้แกะสลักรูปเทพนมและลายไทย ส่วนหน้าบันด้านหลังเป็นไม้แกะสลัก 2. หอไตร มีลักษณะเป็นไม้ยกพื้น เสาเป็นปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา หน้าบันเป็นไม้แกะสลัก หน้าบันทางด้านทิศตะวันออกเป็นรูปหน้ากาล แวดล้อมไปด้วยลายพันธุ์พฤกษาและรูปเทพยดา เบื้องหลังเป็นลายลายก้านขด ทางด้านบนสุดของหน้าบันเป็นรูปครุฑยุดนาค ส่วนหน้าบันทางด้านทิศตะวันตกเป็นลายกนกก้านขดธรรมดา เชิงชายคาเป็นไม้แกะสลักอย่างงดงาม ส่วนช่อฟ้าและใบระกาทำด้วยปูนปั้น นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ เดิมเป็นศาลาไม้ยกพื้น ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นครึ่งไม้ครึ่งคอนกรีต บนศาลาการเปรียญมีโบราณวัตถุอันเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชาและอุทิศให้บรรพบุรุษจำนวนมาก เมื่อมีการปรับปรุงศาลาการเปรียญใหม่และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม เจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสาจึงนำโบราณวัตถุต่างๆ ไปเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย ในปี พ.ศ. 2540 จึงนำโบราณวัตถุมาจัดแสดงเพื่อให้พุทธศาสนิกชน นักท่องเที่ยวและนักเรียนนักศึกษาเข้ามาเยี่ยมชมโบราณวัตถุได้ 3. พิพิธภัณฑ์วัดใหญ่ท่าเสา ตั้งอยู่บนชั้น 2 […]

Read More

วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี พ.ศ. 1700 (ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของเมืองฝางสวางคบุรี (สว่างคบุรี เพี้ยนมาจาก สวรรคบุรี) เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสว่างคบุรี เมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “เจ้าพระฝาง” เมืองสวางคบุรี ผู้นำชุมนุมเจ้าพระฝางในคราวเสียสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วัดพระฝาง มีปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดคือพระมหาธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่กลางกลุ่มโบราณสถานวัดพระฝาง สันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์สำคัญของอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านว่า พระมหาธาตุองค์นี้ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นพุทธปูชนียสถานสำคัญของอาณาจักรคู่กับรอยพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จขึ้นทำศึกชนะเจ้าพระฝางและตั้งงานสมโภชพระมหาธาตุเมืองพระฝางถึง 3 วัน เทียบเท่างานนมัสการพระพุทธชินราช แต่ความศรัทธาในพระมหาธาตุเมืองฝางคงได้เสื่อมถอยลงในช่วงหลัง จากความเสื่อมของเมืองสวางคบุรี หลังชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตกในสมัยธนบุรี จนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เดิมได้ปรักหักพังไปมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะพระมหาธาตุเมืองพระฝางใหม่ แปลงเป็นแบบเจดีย์ทรงลังกาดังที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ วัดพระฝางยังมีอุโบสถมหาอุด […]

Read More

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่กลางเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณประดิษฐานพระมหาธาตุประจำเมืองทุ่งยั้ง เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย[1] ตามตำนานการสร้างพระบรมธาตุกล่าวว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ผู้ครองเมืองสุโขทัย ได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาบรรจุไว้ในถ้ำใต้ดินโดยขุดลงไปเป็นถ้ำแล้วก่อพระธาตุไว้ โดยลักษณะเดิมของพระบรมธาตุเมืองทุ่งยั้งคงเป็นรูปเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ต่อมามีการบูรณะเพิ่มเติมโดยพญาตะก่าพ่อค้าไม้ชาวพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2444 เป็นลักษณะเจดีย์อย่างพม่า จนใน พ.ศ. 2451 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้ยอดพระบรมธาตุเจดีย์หักพังลงมา หลวงพ่อแก้วสมภารวัดพระบรมธาตุในขณะนั้นได้เป็นหัวหน้าปฏิสังขรณ์ซ่อมเพิ่มเติมดังรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งในปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมบำรุงอยู่เสมอในฐานะวัดสำคัญประจำเมืองทุ่งยั้ง ซึ่งเมืองทุ่งยั้งในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยติดต่อกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยซึ่งพิจารณาได้จากสำเนียงการพูดของคนทุ่งยั้งเทียบกับกลุ่มคนในชุมชนชาวสุโขทัยเดิม ที่อาศัยอยู่ในแถว หมู่ที่ 10 และหลายๆ หมู่บ้านในเขตตำบลทุ่งยั้ง ที่มีประวัติชุมชนว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพไปตั้งบ้านเรือนที่อื่นได้ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งยังมีประเพณีประจำปีที่สำคัญคือ ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ทุกวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี โดยเป็นวันงานสลากภัตของวัดและจะมีการจัดแสดงพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพด้วย ศิลปะโบราณสถานที่น่าสนใจภายในวัด พระวิหารหลวง ก่ออิฐถือปูน ลักษณะพระวิหารมีทรงหลังคาซ้อนสามชั้น ลาดต่ำ และด้านในพระวิหารหลวง มีภาพวาดตำนานเรื่องพระสังข์ทอง ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงสถานที่ศักดิ์สืทธิ์ คือ เวียงเจ้าเงาะ และบ่อน้ำทิพย์ ที่อยู่เยื้องไปทางใต้ตรงกันข้ามกับตัววัด ที่ตัวพระวิหารหลวงมีประตูด้านหลังสามารถเดินทะลุออกไปที่ […]

Read More

วัดท่าถนนน

วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2474 เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณรในเมือง มีลักษณะสถาปัตยกรรมสวยงาม และอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งได้รับยกย่องว่าสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ หลวงพ่อเพ็ชรเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหนองไม้ อำเภอหนองโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านวัดร้างแห่งหนึ่งเป็นวัดโบราณ พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดินจอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหนอนไม้ [adsense-2] ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหนอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือวัดท่าถนนในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน […]

Read More

วัดเจดีย์คีรีวิหาร

วัดเจดีย์คีรีวิหาร เป็นวัดของคณะสงฆ์ไทยสังกัดคณะมหานิกาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวจังหวัด 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1043 เดิมมีชื่อว่า “วัดป่าแก้ว” สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1519 โดยเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ปฐมกษัตริย์แห่งนครลับแลโบราณ ภายในวัดมีพระเจดีย์โบราณซึ่งเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งขอแบ่งมาจากพระมหาชินธาตุเจ้า (พระธาตุดอยตุง) จังหวัดเชียงราย ถือกันว่าพระเจดีย์แห่งนี้เป็นพระบรมธาตุเจดีย์แห่งแรก ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานของชาติ วัดเจดีย์คีรีวิหารเดิมชื่อวัดป่าแก้ว สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1519 ในยุคที่เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารปกครองเมืองลับแล พระองค์มีใจฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง มีพระราชดำริที่จะสร้างเจดีย์ เพื่อเผยแผ่บำรุงส่งเสริมเชิดชูพระพุทธศาสนา จึงเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าเรืองไทธิราช กษัตริย์แห่งโยนกนคร กราบทูลขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย อัญเชิญมาบรรจุที่เจดีย์วัดป่าแก้ว เจดีย์นี้เป็นเจดีย์แห่งแรกของอำเภอลับแลซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ถึงวันศีลวันธรรม จะมีดวงไฟสุกสว่างลอยขึ้นเหนือเจดีย์อยู่เป็นประจำ กาลเวลาล่วงเลยมานานวัดป่าแก้วได้ทรุดโทรมลงจนกลายเป็นวัดร้าง พระเจดีย์ก็ชำรุดหักพังลงไปเพราะขาดการดูแล จนปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จประพาสภาคเหนือ มาประทับที่วัดทุ่งเอี้ยงซึ่งอยู่ห่างจากวัดป่าแก้วไม่มากนัก พระองค์ทอดพระเนตรเห็นเจดีย์เก่าอยู่ จึงตรัสถามพระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร เจ้าอาวาสวัดทุ่งเอี้ยง ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองพิชัยว่า […]

Read More

วัดกลางธรรมสาคร

วัดกลางธรรมสาคร หรือ วัดกลาง อยู่ที่ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร วัดกลางเป็น วัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง มีพระอุโบสถที่มีลวดลายรูปปั้นสวยงาม ภายในอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีพุทธลักษณะงดงาม เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นผสมศิลปะแบบลาวหลวงพระบาง และจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่หายากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพระเวสสันดรชาดกและเทพชุมนุม วัดกลางธรรมสาคร ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง ฯ มีพระอุโบสถเก่าแก่อยู่ 1 หลัง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่สามด้าน ลายปูนปั้นที่ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์และตัวเหรา รวมทั้งที่ซุ้มหน้าต่างประตูมีความวิจิตรงดงามอย่างยิ่ง หน้าบันเป็นไม้จำหลักรูปครุฑจับนาค มีตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานอยู่ท่ามกลางลายเครือเถาก้านขด มีเทพนมอยู่เป็นระยะ มีรูปสัตว์สอดแทรกอยู่ตามลายเครือเถาที่เกี่ยวพันกันไปอย่างต่อเนื่อง [adsense-2] วัดกลางธรรมสาคร เดิมชื่อวัดโพธาราม สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ. 2285 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณปี พ.ศ. 2300 เคยเป็นท่าจอดเรือ เพื่อเดินเท้าไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ต่อมาลำน้ำเปลี่ยนทางเดินจึงเลิกใช้กัน และทางน้ำเดิมกลายเป็นบุ่งน้ำหน้าวัด ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดบุ่งวัดกลาง แผนที่

Read More