พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ตั้งอยู่อาคารราชินูทิศ (ริมหนองประจักษ์) ถนนโพศรี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ตัวอาคารสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 โดยดำริพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลอุดร คุณหญิง ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนในจังหวัด เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับ โรงเรียนนารีอุปถัมภ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2468

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ ว่า “ราชินูทิศ” จึงเป็นชื่อเรียกอาคารหลังนี้สืบมา อาคารราชินูทิศ ได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง เมื่อ พ.ศ. 2473

และเมื่อปี พ.ศ. 2503 ใช้เป็นสำนักงานโครงการพัฒนาการศึกษา ส่วนภูมิภาค จนต่อมา พ.ศ. 2516 ได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานศึกษาธิการเขต เขตการศึกษา 9 และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ตามลำดับ อาคารราชินูทิศเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อด้วยอิฐหรือปูน รูปทรงแบบตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยา มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ซุ้มประตูหน้าต่างโค้ง ปัจจุบัน ได้ปรับปรุงอาคารดังกล่าวนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ เมืองอุดรธานี จัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับจังหวัดอุดรธานี นับตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ธรรมชาติวิทยา ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมรวมถึงพระประวัติและ พระเกียรติคุณของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี

อาคารราชินูทิศ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี อาคารราชินูทิศเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อด้วยอิฐหรือปูน รูปทรงแบบตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยา มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ซุ้มประตูหน้าต่างโค้ง ปัจจุบันได้ปรับปรุงอาคารดังกล่าวนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ เมืองอุดรธานี จัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับจังหวัวดอุดรธานี นับตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ธรรมชาติวิทยา ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม รวมถึงพระประวัติและ พระเกียรติคุณของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี

[adsense-2]

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี มี 2 ชั้น ๆ ละ 6 ห้อง ประกอบด้วย

ชั้นบน

  1. ห้องพระประวัติ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
  2. ห้องราชสกุลทองใหญ่
  3. ห้องภาพถ่ายโบราณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
  4. ห้องพระอริยสงฆ์ เกจิอาจารย์ ของจังหวัดอุดรธานี

ชั้นล่าง

  1. ห้องประชาสัมพันธ์ และบริการ มีหลาน ๆ เจ้าหน้าที่น่ารัก ทั้งหญิงและชาย คอยบริการแนะนำนักท่องเที่ยวให้รู้จักกับพิพิธภัณฑ์แต่ละส่วน ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส น่ารักทุกคนเชียว ว่าแล้ว หลานหญิงหนึ่ง ชายหนึ่ง ก็พาหมู่เฮาเดินชมพิพิธภัณฑ์ พร้อมทั้งอธิบายแต่ละส่วนอย่างละเอียด ด้วยความตั้งอกตั้งใจ
  2. ห้องธรรมชาติวิทยาและธรณีวิทยา ห้องนี้แสดงให้เห็นถึงสภาพดิน หิน นํ้า แร่ธาตุ ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่สำคัญ ตลอดจนซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบในจังหวัดอุดรธานี
  3. ห้องประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ห้องนี้แสดงให้เห็นความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ และแหล่งโบราณคดี ที่มีอายุอันยาวนานแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคแรก ได้แก่ แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง ซึ่งมีการขุดค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ภาชนะดินเผาที่มีลวดลาย และขนาดต่างกัน พร้อมด้วยเครื่องประดับทำจากสัมฤทธิ์ และเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ประเภท มีด หอก แหลน ขวาน ที่ทำจากเหล็กแหล่งโบราณคดียุคประวัติศาสตร์ยุคที่ ๒ ได้แก่ ยุคอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ซึ่งพบแหล่งอารยธรรมมนุษย์โบราณสมัย ๑,๘๐๐ ปี ถึง ๑,๒๐๐ ปี โดยมีการพบซากโบราณวัตถุ และร่องรอยตามวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุคนั้น ได้แก่ ภาพเขียนสีตามผนังถ้ำ หลักเสมาขนาดใหญ่ที่ฝังอยู่รอบเสาหินตามธรรมชาติ ที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และร่องรอยการแกะสลักพระพุทธรูปในก้อนหินขนาดใหญ่ เพื่อใช้เป็นทีสักการบูชา

    ยุคในประวัติศาสตร์ พบว่า จังหวัดอุดรธานีมีโบราณวัตถุประเภทหินแกะสลักที่วัดกู่แก้ว ซึ่งเป็นลวดลายศิลปวัฒนธรรมยุคลพบุรี ยุคในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ยังค้นพบพระพุทธรูปบุทอง-เงิน ในเจดีย์เก่า ที่ก่อด้วยอิฐมอญขนาดใหญ่ตามวัดต่าง ๆ จากพื้นที่หลาย ๆ อำเภอ

  4. ห้องมานุษยวิทยา และชาติพันธุ์ แสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่สมัยอดีต จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ สภาพวิถีชีวิต ความเป็นอยู่อาศัย สร้างบ้านเรือนที่เป็นไม้ ตั้งแต่หลังคาถึงเสาเรือน อยู่ใกล้กับแหล่งธรรมชาติ พื้นที่อุดมสมบูรณ์ สะดวกต่อการมาหากิน เครื่องใช้ของคนอุดรธานี ตามที่พบ จะมีการใช้ภาชนะดินเผาประเภท ไห หิน เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นภาชนะในครัวเรือน และเครื่องใช้ในการจับปลา ล่าสัตว์ต่าง ๆ ใช้คัมภีร์ใบลานเป็นหนังสือธรรมะ การแต่งกาย ในแต่ละเผ่า จะมีการแต่งกายแบบคนไทยอีสาน แบบชาวภูไท แบบชาวไทพวน แบบชาวจีน และญวณ ซึ่งแต่ละเผ่ายังคงอาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานีแต่ะละพื้นที่
  5. ห้องประวัติศาสตร์ และการพัฒนาเมือง ของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ห้องนี้จัดแสดงให้เห็นภาพถ่ายโบราณ และภาพวาดของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ที่ได้ทรงสร้างเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านเดื่อหมากแข้ง ซึ่งเป็นชุมชนเล็ก ๆ แต่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีที่ราบลุ่ม สามารถปลูกข้าว ทำนาเลี้ยงชีพพลเมืองได้ จนพัฒนามาเป็นเมืองขนาดใหญ่ได้
  6. ห้องศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แสดงให้เห็นเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของชาวจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ศิลปะการทอเสื่อกก การเสร้างเฮือนอีสาน เป็นต้น

อัตราค่าเข้าชม ราคาบัตรเข้าชมคนละ 30 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 223 708
สำนักงานจังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 223 304
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 222 285, (042) 328 515-9
ตำรวจท่องเที่ยวอุดรธานี โทร.(042) 221 1219, (042) 321 189, 1155
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท. สำนักงานอุดรธานี โทร.(042) 325 406-7
สถานีรถไฟอุดรธานี โทร.(042) 222 061
สถานีขนส่งอุดรธานี โทร. (042) 222 916
โรงพยาบาลอุดรธานี โทร. (042) 248 586, (042) 348 888
โรงพยาบาลหมอไพโรจน์ โทร. (042) 248 101-5, (042) 246 706-7
โรงพยาบาลวัฒนา โทร. (042) 241 031-2
โรงพยาบาลปัญญาเวชอินเตอร์ โทร. (042) 343 111
โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม โทร. (042) 341 710
โรงพยาบาลเอกอุดร โทร. (042) 342 555
โรงพยาบาลชัยเกษม โทร. (042) 243 385-6
โรงพยาบาลรัตนแพทย์ โทร. (042) 247 713

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีตั้งอยู่อาคารราชินูทิศ (ริมหนองประจักษ์) ถนนโพศรี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี อยู่ใกล้วัดโพธิสมภาร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น