วิหารเซียน

วิหารเซียน หรืออเนกกุศลศาลา เป็นแหล่งรวมสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมชั้นสูงของจีน ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปวัตถุ โบราณวัตถุอันมีค่า ได้แก่ เจ้าแม่กวนอิมหยกขาวองค์ใหญ่ รูปปั้นทหารและม้าจากสุสานจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ พระแท่นบัลลังก์ทองของจักรพรรดิ ภาพเขียนเก่า และเครื่องปั้นดินเผา

“วิหารเซียน” และมีชื่อในภาษาจีนว่า “ต้า ผู้ อี่” (จีนแต้จิ๋ว) หรือ “ต้าน ฝู เยวี้ยน” (จีนกลาง) ซึ่งมีความหมายว่า “สถานที่ที่มีบรรยากาศดั่งสรวงสวรรค์” เป็นแหล่งรวมงานศิลปะไทย-จีน ชั้นสูงที่สำคัญยิ่งในประเทศไทยแห่งหนึ่ง โดยสถานที่แห่งนี้ได้ก่อกำเนิดจากแรงบันดาลใจของ อาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ ในการที่จะแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี และความกตัญญูกตเวทีของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่มีต่อประเทศชาติ พระราชวงศ์ และองค์พระมหากษัตราธิราชเจ้า โดยอาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ เป็นผู้ริเริ่มในการก่อสร้างออกแบบและดูแลการก่อสร้างทั้งหมด ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้ก่อสร้างบนที่ดินบริเวณโครงการพัฒนาพื้นที่วัดญาณสังวรารามอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 7 ไร่ ที่ได้รับพระราชทานเมื่อปีพุทธศักราช 2530 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานฤกษ์ในการก่อสร้างเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2531 เวลา 09.19 น. และพระราชทานนามอาคารนี้ว่า “อเนกกุศลศาลา”

ที่อเนกกุศลศาลาหรือวิหารเซียนเป็นสถานที่รวมพระพุทธรูปทั้งแบบหินยานของไทยและแบบมหายาน รูปเทพเจ้าต่างๆ ที่เรียกว่าเซียนจำนวนมาก นอกจากเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาเที่ยวชมวิหารเซียน ยังเป็นสถานที่สำหรับการทัศนศึกษาที่ดีของนักเรียน ภิกษุ-สามเณร เดินทางมาเยี่ยมชมเป็นประจำคณะภิกษุสามเณรในรูปนี้เดินทางมาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนทีเดียวครับ

การเข้าชมวิหารเซียนหรืออเนกกุศลศาลาเก็บค่าเข้าชมโดยชำระค่าเข้าชมที่หน้าประตูจากนั้นก็สามารถเดินชมรอบๆ บริเวณรวมทั้งด้านในได้ทั้งหมดการก่อสร้างวิหารเซียนทั้งหมดนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน เหนือซุ้มประตูด้านในมีป้ายภาษาจีนเขียนว่า “จู้ เหลิน วุ่ย เล่อ” (ภาษาจีนกลาง) มีความหมายเป็นอนุสติเตือนให้ระลึกว่า “การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์นั้นย่อมเป็นสุข” ซึ่งอเนกกุศลศาลา หรือวิหารเซียนแห่งนี้ก็คือสัญลักษณ์ของความสุขจากการได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ให้ได้รับความปิติภาคภูมิใจในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมแห่งมนุษยชาติ ความสำคัญของป้ายเหนือซุ้มประตูคือเป็นป้ายที่เขียนด้วยลายมือของท่านซุนเคอ บุตรชาย ดร.ซุนยัดเซ็น ที่เขียนให้แก่อาจารย์สง่า กุลกอบเกียรติ โดยเฉพาะ

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม  เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00–17.00 น. อัตราค่าเข้าชมคนละ 50 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 

วิหารเซียน โทร. (038) 238 367
ททท. ภาคกลาง เขต 3 ชลบุรี (038) 427 667, (038) 428 750
ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว ททท. 1672
Call Center พัทยา 1337
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784
ประชาสัมพันธ์จังหวัด (038) 279 448
สำนักงานจังหวัดชลบุรี (038) 275 034
ตำรวจท่องเที่ยว (038) 425 440, 1155
ตำรวจท่องเที่ยวพัทยา (038) 410 044, (038) 425 937
ตำรวจทางหลวง ส.ทล.2 กก.3 จ.ชลบุรี (038) 392 001, 1193
ตำรวงภูธร ภาค 2 จังหวัดชลบุรี (038) 275 0213

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว วิหารเซียนตั้งอยู่ใกล้กับวัดญาณสังวราราม ริมอ่างเก็บน้ำบ้านอำเภอ ห่างจากวัดญาณสังวรารามไปตามถนนประมาณ 2 กิโลเมตร ทางเข้าอยู่ก่อนถึงวัดวัดญาณสังวรารามเล็กน้อย มีทางแยกตรงสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำไปอีก 800 เมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น