Tag: พิพิธภัณฑ์ไทยโส้

พิพิธภัณฑ์ไทยโส้

พิพิธภัณฑ์ไทยโส้ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปู่มเหศักดิ์ ตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ จ.สกลนคร เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สักการะบูชาของชาวไทยโส้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทพซึ่งช่วยคุ้มครองชาวไทยโส้ ในพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ ของชาวไทยโส้ซึ่งอพยพมาจากฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขง มีแผ่นป้ายเขียนข้อความภาษาของชาวไทยโส้เปรียบเทียบกับภาษาไทย ให้เห็นถึงความแตกต่างของตัวอักษร และสำเนียงการออกเสียง ในพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ของชาวไทยโส้ซึ่งอพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีแผ่นป้ายเขียนข้อความภาษาของชาวไทยโส้เปรียบเทียบกับภาษาไทย ให้เห็นถึงความแตกต่างของภาษาและสำเนียงการออกเสียง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สักการะบูชาของชาวไทยโส้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทพซึ่งช่วยคุ้มครองชาวไทยโส้ ในพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ ของชาวไทยโส้ซึ่งอพยพมาจากฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขง มีแผ่นป้ายเขียนข้อความภาษาของชาวไทยโส้เปรียบเทียบกับภาษาไทย ให้เห็นถึงความแตกต่างของตัวอักษร และสำเนียงการออกเสียง ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ไทยโส้ สกลนคร เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาตั้งรกรากหรืออพยพเข้ามาอยู่ตั้งแต่ในอดีต กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อพยพเข้ามาคือ “โส้” ซึ่งมีภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โส้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่บริเวณทิศตะวันตกของเทือกเขาอากและลุ่มแม่น้ำตะโปน ต้นน้ำเซบังเหียน ในลาว โส้อพยพเข้ามาในสกลนครมากในช่วง พ.ศ. 2426-2430 เนื่องจากหนีภัยสงครามพวกจีนฮ่อ อำเภอกุสุมาลย์เดิมชื่อ “บ้านกุดขมาน” ตั้งตามชื่อลำห้วยขมานซึ่งมีต้นขมานขึ้นอยู่จำนวนมาก ส่วนคำว่า”กุด” นั้นหมายถึงวังน้ำ สืบเนื่องจากอำเภอกุสุมาลย์มีประชาชนเชื้อสายโส้อาศัยอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ในปี พ.ศ.2524 นายสุวัฒน์ แสงสุทธิเศรษฐ์ นายอำเภอกุสุมาลย์คนที่ 7 ร่วมมือกับชาวอำเภอกุสุมาลย์ก่อสร้าง “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยโส้” ขึ้นเพื่อรวบรวม จัดแสดง และอนุรักษ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีพ […]

Read More