Tag: วัดกำแพงแลง

วัดกำแพงแลง

วัดกำแพงแลง หรือวัดเทพปราสาทศิลาแลง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูแบบขอม ปราสาทหรือปรางค์ศิลาแลงที่ยังเหลือให้เห็นเพียงบางส่วน มีซุ้มประตูเรียกว่าโคปุระทั้ง 2 ด้านยังอยู่ในสภาพดี บนผนังศิลาปรากฎลวดลายปูนปั้นสมัยทวาราวดีที่งดงาม โดยเฉพาะลายมกรคายนาคและลายกลีบบัวหัวเสา คือต้นแบบของช่างเพชรบุรีที่จะมาศึกษาแนวทางไปปรับใช้ในการผลิตงานศิลปะของตน โบราณสถานที่วัดกำแพงแลง ถือเป็นโบราณสถานที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี แสดงถึงความเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ของเพชรบุรี สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 เมื่อวัฒนธรรมเขมรโบราณเริ่มขยายตัวตามดินแดนแถบนี้ ชุมชนในลุ่มแม่น้ำเพชรบุรีก็ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรโบราณ เช่นกัน มีการสร้างเมืองในรูปแบบวัฒนธรรมเขมรโบราณ เป็นรูปสี่เหลี่ยมอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี ภายในวัดกำแพงแลงเดิมเคยมีปรางค์ 5 องค์ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางและมีปรางค์ทิศอยู่ 4 มุมปัจจุบันเหลือเพียง 3 องค์ เมื่อ พ.ศ. 2499 มีผู้ขุดพบรูปสลักของพระนางอุมาในปรางค์องค์หนึ่งที่พังลง จึงสันนิษฐานว่าในปรางค์แต่ละองค์เป็นที่ประดิษฐานของเทวรูป พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ พระลักษมี และพระขันธกุมาร ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น พุทธสถานแล้วจึงมีการก่อสร้างอาคารอื่นๆด้วยอิฐ แต่ยังคงลักษณะกำแพงศิลาแลงไว้แบบเดิม เนื่องจากกำแพงวัดทั้ง 4 ด้านก่อด้วยศิลาแลง จึงเป็นที่มาของชื่อวัดกำแพงแลง หมู่ปราสาทศิลาแลงมีทั้งหมด 5 องค์เป็นปราสาทจตุรมุขย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง ลักษณะคล้ายกับปราสาทหินพิมายในจังหวัดนครราชสีมา และปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี […]

Read More