Tag: โบราณสถานพานหิน

โบราณสถานพานหิน

โบราณสถานพานหิน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านโคกขวาง ตำบลหนองโพรง อ.ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง แผนผังโบราณสถานพานหินแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างยาวด้านละ 15.5 เมตร สูง 3.5 เมตร มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน ที่มุขด้านทิศเหนือมีร่องรอยหลุมเสา ทุกด้านลักษณะก่อสร้างเป็นชั้นๆ มีบัวคว่ำ บัว หงาย และบัวหน้ากระดาน ตอนบนมีลักษณะเป็นห้องๆ มีคอระฆังหรือฐานปติมากรรมวางอยู่ และได้พบพระหัตถ์พระวิษณุ ทรงสังห์หินทรายเขียวและเศษภาชนะดินเผา นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าอาจเป็นเสาบันไดไม้ขึ้นตัวอาคารของโบราณสถานพานหิน ด้านบนของอาคารพบหลุมเสาซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเสาของอาคารเครื่องไม้มุงหลังคา และพบแท่งศิลาแลงทรงกลมสลักเป็นรูปเชิงบาตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สันนิษฐานว่าประดิษฐานเทวรูป พระนารายณ์ มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 แห่งเจนละ ตรงกลางของซากเทวาลัยมีฐานของเทวรูปซึ่งแต่เดิมตะแคงอยู่ลักษณะคล้ายพาน จึงเรียกว่า “พานหิน” นอกจากนี้ยังพบศิลาแลงทรงกลม สกัดเป็นรูปฐานเชิง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2451 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสโบราณสถานพานหินแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2451 ทรงสันนิษฐานว่าแท่งศิลาแลงทรงกลมบนตัวอาคารนั้นน่าจะเป็นฐานเทวรูป ซึ่งเมื่อได้มีการขุดแต่งทางโบราณคดีในสมัยต่อ ๆ มา ณ โบราณสถานพานหินแห่งนี้ ในปี […]

Read More