พระที่นั่งอนันตสมาคม

พระที่นั่งอนันตสมาคม ตั้งอยู่ที่ถนนราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ใกล้กับพระบรมรูปทรงม้าและพระที่นั่งวิมานเมฆ พระที่นั่งอนันตสมาคมเริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้นแปดปี เพื่อเป็นที่รับรองแขกเมืองและประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน พระองค์ได้ทรงจ้างช่างจากอิตาลี คือ มิสเตอร์ เอ็ม.ตามานโย (M.Tamango) เป็นผู้ออกแบบ นาย ซี อัลเลกรี เป็นวิศวกร โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง แต่การก่อสร้างดำเนินไปได้เพียงสองปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงรับช่วงการก่อสร้างต่อจนสำเร็จลงในอีก 6 ปีต่อมาซึ่งตรงกับ พ.ศ.2458 รวมเวลาทั้งสิ้น 8 ปี

พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นอาคารแบบโดมคลาสสิกของโรมัน เป็นศิลปะแบบอิตาเลียนเรเนอซองส์ ผสมกับศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ซึ่งรูปทรงของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เป็นแบบเดียวกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งโรม และโบสถ์เซนต์ปอล กรุงลอนดอนอีกด้วย และหากมองลงมาจากบนอากาศ ก็จะเห็นผังของพระที่นั่งเป็นรูปไม้กางเขนแบบลาติน

ลักษณะเด่นของพระที่นั่งอนันตสมาคมก็อยู่ที่ช่วงบนของอาคารซึ่งเป็นรูปโดมซึ่งทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และโดมเล็กๆ อยู่รายรอบอีก 6 โดมด้วยกัน

นอกจากนั้น สิ่งที่ช่วยเพิ่มความสง่างามของโดมเหล่านี้ก็คือหินอ่อนสีขาว มีริ้วลายสีน้ำตาลแก่แกมหม่น สั่งเข้ามาจากเมืองคารารา ประเทศอิตาลี ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในเรื่องหินอ่อนที่มีคุณภาพ ซึ่งนำมาทำเป็นตัวอาคาร และบางส่วนยังแกะสลักเป็นรูปพันธุ์พฤกษา และรูปคนเพื่อประดับอาคารอีกด้วย

ส่วนภายในมีบันไดขึ้นสู่ชั้นบนเป็นบันไดหินอ่อนโค้งสวยงาม ชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมนั้นเป็นห้องโถงยาว เพดานสูง นอกจากนี้ ยังมีลวดลายอันงดงามตั้งแต่เพดานซึ่งทำเป็นรูปโค้งเชื่อมหัวเสาทั้งสองด้าน ส่วนตัวเสาก็สร้างด้วยหินอ่อนทั้งต้น มีลวดลายการแกะสลักอย่างงดงาม โดยเฉพาะเสาที่เรียกว่าเป็นแบบ “โครินเธียน” ที่หัวเสาสลักด้วยลวดลายใบไม้อันสวยงาม เป็นแบบที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ นอกจากนั้น เหนือพระทวาร หรือประตูทุกประตู ก็ยังมีตุ๊กตาแบบโรมันแกะสลักจากหินอ่อนมีพวงมาลัยหินอ่อนคล้องคอประดับไว้อย่างน่าชม

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ภายในพระที่นั่งอนันตสมาคมงดงามเป็นอย่างมากก็คือภาพเขียนแบบเฟรสโก (ภาพเขียนสีบนปูนเปียก) บนเพดานโดม โดยฝีมือของจิตรกรชาวอิตาเลียน คือนายซี. รีโกลี และศาสตราจารย์กาลิเลโอ กินี โดยรูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่แสดงถึงเหตุการณ์เด่นๆ ในแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6

เพดานโดมทางทิศเหนือ เป็นภาพเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 ขณะที่พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กำลังเสด็จกลับจากทัพที่ไปเมืองเขมร และมีพสกนิกรไปกราบบังคมทูลอัญเชิญ ให้ทรงรับราชสมบัติปกครองแผ่นดินอันนับเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จักรี

เพดานโดมด้านทิศตะวันออก หรือตรงบันไดทางขึ้นนั้น เป็นรูปเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ที่ทรงกำลังเสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค และด้านหลังมีรูปพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ซึ่งถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ และใต้โดมเดียวกันนั้น อีกด้านหนึ่งเป็นภาพของรัชกาลที่ 3 กำลังเสด็จเลียบพระนครทางสถลมารคเช่นกัน แต่ด้านหลังเป็นภาพพระมหาเจดีย์ในวัดพระเชตุพน และปราสาทราชมณเฑียรต่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง และป้อมเผด็จดัสกร ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างและบูรณะขึ้น

เพดานโดมด้านทิศตะวันตก เป็นภาพในสมัยรัชกาลที่ 4 ประทับอยู่เบื้องหน้าพระพุทธชินสีห์ รายล้อมไปด้วยพระภิกษุและนักบวชในศาสนาอื่นๆ แสดงถึงความเป็นองค์เอกอัครศาสนูปภัมภกของทุกศาสนา โดยไม่มีการกีดกัน ส่วนเพดานโดมด้านทิศใต้ของท้องพระโรงกลาง เป็นภาพที่ฉันคุ้นตามากที่สุด ซึ่งเป็นภาพของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีพระกรุณาธิคุณพระราชทานอภัยทาน และทรงยกเลิกประเพณีทาสในประเทศไทยโดยสิ้นเชิงอย่างไม่มีการเสียเลือดเนื้อ

เพดานโดมทางด้านทิศตะวันออกของท้องพระโรงกลาง แสดงภาพเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ 6 เสด็จออกประทับ ณ พระที่นั่งบุษบกมาลา ที่มุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช เมื่อพุทธศักราช 2454

ใต้โดมกลาง ซึ่งเป็นโดมใหญ่ที่สุด ก็มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงมีพระราชดำริก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม และบนเพดานตลอดทั้งบริเวณท้องพระโรงกลางก็จะมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” สลับกับ “วปร.” พระปรมาภิไธยย่อในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสร้างพระที่นั่งแห่งนี้จนแล้วเสร็จสมบูรณ์

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้บริการ เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-วันอาทิตย์เวลา 10.00-17.00 น. (ปิดขายบัตร 17.๐๐ น.)ปิดวันจันทร์ วันปีใหม่ วันสงกรานต์ ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

อัตราค่าเข้าชม  ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 75 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

พระที่นั่งอนันตสมาคมโทร. (02) 283 9411 หรือ (02) 283 9185
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โทร. 1348
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (ทางด่วน) โทร. 1543
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543
กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584
ศูนย์บริการประชาชนสายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด โทร. 1126
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด โทร. 1318
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบินไทย โทร. (02) 545 3321
สำรองที่นั่ง การบินไทย โทร. (02)-288-7000 (สำนักงานสีลม), (02) 356 1111(สำนักงานหลานหลวง-ในประเทศ), (02) 545 3691 (สำนักงานวิภาวดีฯ-ต่างประเทศ)
บริษัท บางกอก แอร์เวย์ จำกัด โทร. 1771
สหกรณ์แท็กซี่สยาม โทร. 1661
TAXI-RADIO โทร. 1681
แอร์พอร์ต ลิงค์ โทร. (02) 131 5700 ต่อ 1301
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร. (02) 132 1888
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3191, (02) 269 3199
แผนกสื่อสาร การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3481, (02) 269 3484
กรมการบินพลเรือน โทร. (02) 286 0506, (02) 286 0594
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. (02) 621 8701
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT รถไฟใต้ดิน) โทร. (02) 716 4044
สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว พระที่นั่งอนันตสมาคม ตั้งอยู่ที่ถนนราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ใกล้กับพระบรมรูปทรงม้าและพระที่นั่งวิมานเมฆ

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น