Tag: วัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านศรีบุญเรือง ถนนสำราญชายโขง ต.ศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.มุกดาหาร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคเดียวกับการสร้างบ้านแปลงเมือง ภายในวิหารประดิษฐานพระประธาน หลวงพ่อพระพุทธสิงห์สอง ไม่มีประวัติว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เล่ากันว่า เจ้ากินรี เจ้าเมืองมุกดาหาร อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ราว 200 กว่าปีก่อน หลวงพ่อพระพุทธสิงห์สองแห่งวัดศรีบุญเรือง ปางมารวิชัย เนื้อสำริด ศิลปะสมัยเชียงแสน ชายสังฆาฏิยาว เส้นพระศกละเอียด รัศมีเปลวแบบลังกา สาธุชนชาวมุกดาหารและผู้คนสัญจรไปมามักจะกราบนมัสการขอพรเพื่อเป็นศิริมงคล ประวัติวัดศรีบุญเรือง วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดที่ชาวบ้าน สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกับการสร้างเมืองมุกดาหาร ( ประมาณ พ.ศ.2310 – 2317 ) เพื่อให้พระธุดงค์ออกจาริกแสวงบุญได้พักอาศัย ในสมัยนั้นพระสงฆ์มีจำนวนน้อย จึงไม่ค่อยจะมีผู้อยู่อาศัยเป็นประจำ วัดแห่งนี้จึงเป็นที่พักอาศัยของพระธุดงค์มาโดยตลอด แม้แต่ชื่อก็ยังไม่สามารถจะทราบได้ครั้งต่อมา ( ประมาณ พ.ศ. 2318 ) พระยาจันทร์ศรีอุปราชา ( เจ้ากินรี ) ซึ่งเป็นผู้สร้าง และเป็นเจ้าเมืองคานแรกของเมืองมุกดาหาร ได้ชักนำพวกเจ้านาย ข้าราชการ และชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัด […]

Read More

วัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง เดิมชื่อวัดจอมหมากแจง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองแม่สะเรียง อยู่ติดกับวัดจองสูงโดยมีรั้วกั้นพื้นที่แยกจากกัน เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอแม่สะเรียง สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2450 ตามแบบศิลปพม่าผสมไทยใหญ่ เป็นวัดที่มีความสวยงาม ศาลาและวิหารมีหลังคาที่มีลวดลายฉลุสวยงามเป็นศิลปะผสมผสานแบบ กรีกรามัญ วัดศรีบุญเรือง เดิมชื่อวัดจองหมากแกง เพราะมีต้นมะขามขนาดใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของกุฏิสงฆ์ โดยการสร้างของ ครูบาศรีวิชัย ประมาณปี พ.ศ. 2450 เป็นวัดที่มีพื้นที่ค่อนข้างน้อย แต่โดดเด่นด้วยความสวยงามของศิลปะแบบไทยใหญ่ คือหลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ประดับสังกะสีและลายแกะสลักไม้ ลวดลายละเอียด เป็นหลังคาจองขนาดใหญ่ 3 หลังติดกัน ภายในจอง(วัด) มีภาพเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก โดยฝีมือช่างชาวพม่า วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ติดกับวัดจองสูง และมีทางเดินเชื่อมกัน [adsense-2] สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1. ศาลาหลังใหญ่ สร้างตามแบบศิลปะไทยใหญ่ หลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ ตามแบบฉบับของไทยใหญ่ใช้เป็นทั้งวิหาร กุฏิ และศาลาการเปรียญ ภายในมีภาพเขียนเป็นเรื่องพระเวสสันดรชาดก มีทั้งหมด 12 กัณฑ์ ฝีมือช่างชาวพม่า 2. พระอุโบสถ มีขึ้นด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่นักเพราะพื้นที่จำกัด หลังคามีลวดลายฉลุที่สวยงาม ภายในประดิษฐานพระประธานแบบพม่าองค์โต เปิดให้ชมเป็นบางครั้ง 3. พระพุทธรูปหยกขาว เป็นพระพุทธรูปที่ทำจากหยกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย […]

Read More