Tag: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศาลเจ้าปู่ย่า

ศาลเจ้าปู่ย่า ตั้งอยู่ถนน 39 ศาลเจ้าเนรมิตร ตลาดน้อยหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นศาลเจ้าของชาวจีนที่ใหญ่โต และสวยงาม มีสวนหย่อมริมหนองบัว บริเวณโดยรอบมีศาลาชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยว และพักผ่อน และในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ ยังมีมังกรทองยาวถึง 99 เมตร ซึ่งใช้แสดงในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี นอกจากศาลเจ้าแล้วที่นี่ยังมี ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเชิดชูองค์เจ้าปู่เจ้าย่า ที่เป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งเป็นแหล่งในการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาวจีนที่อพยพจากประเทศจีนมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในจังหวัดอุดรธานี บรรยากาศที่นี่เปรียบเสมือนว่ากำลังเด่นเล่นอยู่ในเมืองจีน ด้วยตัวอาคารสถานที่ตกแตกแบบสถาปัตยกรรมแบบจีน นอกจากนี้ที่เด็กๆ ชื่นชอบมากๆ ก็เห็นจะเป็นฝูงปลาคราฟจำนวนมากมาย ที่แหวกว่ายอยู่ในน้ำ สามารถให้อาหารปลาคราฟได้ โดยบริจาคเงินใส่กล่องตามกำลังทรัพย์ เคล็ดลับการกราบไหว้ขอพร นอกจากการกราบไหว้ด้วยธูป 30 ดอกแล้ว การกราบไหว้ศาลเจ้าปู่-ย่า ต้องถวายส้ม 4 ลูก พอกราบไหว้ครบทั้ง 6 จุดแล้ว ให้เดินไปที่สะพานเก้าเลี้ยวเชื่อกันว่าเป็นจุดเชื่อมต่อสวรรค์ และรับรู้ว่าขอพรอะไรไป เสร็จแล้วให้มากราบลาศาลปู่-ย่า พร้อมเอาส้มกลับมา 2 ลูก [adsense-2] สิ่งที่น่าสนใจ ทีตีแป่บ้อ หรือที่เรียกสั้นๆว่า “ทีกง” […]

Read More

วัดมัชฌิมาวาส

วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี  วัดแห่งนี้เคยเป็นวัดร้างมาก่อน ชื่อว่าวัดโนนหมากแข้งแต่หลักฐานที่พอให้ทราบได้ว่าเป็นวัดร้างนั้น ก็มีอยู่ 2 อย่าง คือเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่โนน (เนิน) ประชาชนเล่าสืบกันมา ว่าเจดีย์นั้นได้ครอบ หรือ คร่อมตอหมากแข้งขนาดใหญ่ และมีพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก (ปัจจุบัน คือ หลวงปู่นาค) อยู่ภายในเจดีย์ ปัจจุบัน พระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก ก็ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ให้ชาวอุดรฯและจังหวัดใกล้เคียงได้สักการะบูชา กันมาจนถึงทุกวันนี้ และกลายเป็นพระพุทธรูปที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมัชฌิมาวาสตลอดมา วัดมัชฌิมาวาส เดิมชื่อ วัดโนนหมากแข้ง โดยได้รับพระราชทานบรมราชานุญาตสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ตั้งอยู่ในตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ 1 งาน มีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ติดกับถนนหมากแข้ง และถนนดุษฎี ด้านทิศใต้ […]

Read More

พระมหาธาตุเจดีย์

พระมหาธาตุเจดีย์  หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระธาตุดอนแก้วตั้งอยู่ที่บ้านดอนแก้ว ตำบลตูมใต้ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประดิษฐานอยู่กลางวัดมหาธาตุเจดีย์ ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สูงประมาณ 18 วาเศษ องค์พระธาตุมีลักษณะการสร้าง 2 ชั้น แต่ละชั้นมีรูปแกะสลักเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ นรก-สวรรค์ การก่อสร้างพระธาตุเป็นหินทรายรูปทรงสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ 1 ศอก รอบนอกฉาบด้วยปูน สันนิษฐานว่าวัดพระธาตุดอนแก้ว ใบเสมา และเสาหินสร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 12–13 ประวัติความเป็นมาของพระมหาธาตุเจดีย์ ดอนแก้ว เป็นเกาะเล็ก ๆ กลางหนองหานน้อยกุมภวาปี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลำปาว ตำนานเล่าว่า พระอรหันต์กลุ่มหนึ่งจะไปนมัสการพระธาตุพรม ได้มาพักแรมที่ดอนแก้ว พระอรหัตนต์องค์หนึ่งอาพาธหนักถึงนิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายที่เหลื่ออยู่จึงถวายเพลิงท่าน และก่อเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้ ต่อมาประมาณ พ.ศ. 11 มีกลุ่มคนเข้ามาในดอนแก้วแล้วสร้างใบเสมาหินทรายล้อมรอบพระธาตุไว้ และปักรายรอบบริเวณดอนแก้ว จากการศึกษาพบว่าเป็นเสมาสมัยทวารวดีและเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 15 ต่อมาชุมชนลาวได้อพยพจากเมื่องร้อยเอ็ด เมืองชัยภูมิ เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ดอนแก้ว มีท้าวชินเป็นหัวหน้าชุมชน ได้ปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์ขึ้น […]

Read More

วัดโพธิสมภรณ์

วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่บนถนนเพาะนิยม เลขที่ 22 ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี อยู่ทางทิศตะวันตกของหนองประจักษ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 40 ไร่ ปัจจุบันมี พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) เป็นเจ้าอาวาส ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ วัดโพธิสมภรณ์ เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ประวัติความเป็นมาของวัด วัดโพธิสมภรณ์ เริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2449 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดย มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้พิจารณาเห็นว่าในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี มีเพียง “วัดมัชฌิมาวาส” วัดเดียวเท่านั้น สมควรที่จะสร้างวัดขึ้นอีกสักวัดหนึ่ง จึงได้ไปสำรวจดูสถานที่ทางด้านทิศใต้ของ “หนองนาเกลือ” ซึ่งเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่อุดมไปด้วยเกลือสินเธาว์ มีปลาและจระเข้ชุกชุม (ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” […]

Read More

วัดพระพุทธบาทบัวบาน

วัดพระพุทธบาทบัวบาน ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตตำบลเมืองพาน บ้านไผ่ล้อม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอันเก่าแก่และมีการขุดค้นพบใบเสมาที่ทำด้วยหินทรายเป็นจำนวนมาก บางหลักถูกทำให้ล้ม และอีกหลาย ๆ หลักถูกดินทับถม ใบเสมาเหล่านี้สลักเป็นรูปเทวดา และนางอัปสร เป็นศิลปะทวาราวดีตอนปลายผสมกับศิลปะลพบุรี ปักอยู่ 8 ทิศ แต่ละทิศ ปักซ้อนกัน 2 หลัก เท่าที่ขุดพบมีจำนวนทั้งหมด 31 หลัก  เป็นศิลปกรรมสมัยทวาราวดีตอนปลาย-ลพบุรีตอนต้น สมัยประวัติศาสตร์ จากการศึกษากลุ่มเสมา และการจำหลักภาพขนาดของเสมา จำนวนเสมา น่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์จึงสามารถสร้างศิลปกรรม ประติมากรรมหินทรายขนาดใหญ่และงดงามได้ สภาพของชุมชนคงจะได้ร้างไป ต่อมาชุมชนลาวล้านช้างในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชหนีศึกพม่า พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ได้เข้ามาตั้งชุมชนที่นี่ จึงมีศิลปกรรม สถาปัตยกรรมล้านช้างมากมาย เช่น มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปไม้ ฯลฯ และคงจะสร้างไป จนเมื่อเกิดศึกฮ่อ พวกลาวพวนจึงได้อพยพหนีศึกฮ่อมาตั้งชุมชนใหม่ สภาพชุมชนสมัยนั้นเป็นป่าดงดิบแล้ง มีไม้ที่มีค่าหนาแน่น เช่น ไม้มะค่า ไม้ตะเคียน ตะเคียนทอง ประดู่ ฯลฯ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี โทร. (042) […]

Read More

วัดป่าภูก้อน

วัดป่าภูก้อน ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูงและป่าน้ำโสม อ.นายูง จ.อุดรธานี อันเป็นรอยต่อของ 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย สร้างขึ้นเมื่อปี 2530 โดยคุณปิยวรรณและคุณโอฬาร วีรวรรณ ผู้มีความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระป่า และได้ทำเรื่องขอใช้ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูง-น้ำโสม เพื่อสร้างวัดในเนื้อที่ 15 ไร่ จากกรมป่าไม้ รอบผนังภายในวิหารตกแต่งอย่างสวยงามด้วย ภาพพุทธประวัติและภาพทศชาติ ตกแต่งเป็นภาพปั้นนูนต่ำหล่อด้วยทองแดงจำนวน 22 ช่อง ซึ่งเป็นภาพของพระพุทธเจ้าในองค์ชาติต่างๆ 10 ชาติ เป็นการสื่อความหมายถึงการสั่งสมบารมีด้วยความพรากเพียร และความเสียสละของพระองค์ในทุกๆชาติ โดยด้านบนของทุกภาพ แกะสลักบทสวดอิติปิโสช่องละท่อนด้วยสีเขียวเข้มบนหินอ่อนขาวถือเป็นผนังพระวิหารที่มีเสน่ห์และเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พระวิหารที่สวยงามสะดุดตาของวัดป่าภูก้อน ได้รับออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง องค์พระพุทธรูปหินอ่อน พระวิหาร ศาลาราย และอาคารรอบลานเขา โดยพระวิหารมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สมัยรัตนโกสินทร์ มีประตูทางเข้าออกวิหาร 3 ด้าน ภายในถูกตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตา แฝงไปด้วยเรื่องราวคำสอนของพระพุทธเจ้า ภายในพระวิหารยังเป็นที่่ประดิษฐานของ พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี พระพุทธไสยาสน์ขนาดความยาว 20 เมตร สร้างขึ้นด้วยหินขาวอ่อนจากประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นหินขาวอ่อนที่มีความสวยงามและทนทานมากที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสร้างถึง 6 […]

Read More

วัดป่าบ้านตาด

วัดป่าบ้านตาด ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี บริเวณวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคกเนินที่ล้อมรอบด้วยกำแพงคอนกรีต มีพื้นที่ทั้งหมดราว 163 ไร่ มีประตูเข้าออกเป็นประตูใหญ่อยู่บริเวณ ด้านหน้าของวัดการจะเข้าไปในวัดต้องขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเสียก่อน กำแพงล้อมรอบบริเวณ วัดนอกจากมีจุดประสงค์ที่จะให้แสดงเขตแน่นอนของวัดแล้วยังป้องกันอันตรายให้กับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของวัดอีกด้วย เพราะในบริเวณวัดมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ทั้งไก่ฟ้า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต หมูป่า วัดบ้านตาด เป็นที่พำนักของพระอาจารย์มหาบัวญาณสัมปันโน พระอาจารย์วิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระที่มีปฏิปทา เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ภายในวัดนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการไปปฏิบัติธรรม วัดป่าบ้านตาด เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2498 หลังจากที่ชาวบ้านบริจาคที่ดินให้เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรม พร้อมกับนิมนต์ให้ หลวงตามหาบัว มาพำนัก เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน หลังจากนั้น หลวงตามหาบัว จึงตกลงรับนิมนต์ชาวบ้านมาพำนักที่นี่เพื่อจะได้อยู่ดูแลโยมแม่ที่แก่ชรา พร้อมกับเริ่มสร้างและพัฒนา วัดป่าบ้านตาด และเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2513 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา และให้ชื่อว่า วัดเกษรศีลคุณ แต่ชาวบ้านจะรู้จักและเรียกกันในนาม “วัดป่าบ้านตาด” หลวงตามหาบัว ได้พัฒนาและทำให้ วัดป่าบ้านตาด กลายเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ชาวบ้านให้ความเคารพ เลื่อมใสเป็นอย่างมาก […]

Read More

วัดนาคาเทวี

วัดนาคาเทวี ตั้งอยู่ที่ตำบลนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2454 หลวงปู่หน่อยได้นำชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านขาว ช่วยกันสร้างและบูรณะวัดนี้ขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2502 สำหรับชื่อ วัดนาคาเทวี นั้นเล่ากันว่า มาจากการที่มีพญานาคตัวเมียซึ่งอาศัยอยู่ในปล่องกลางโบสถ์ เป็นผู้ดูแลวัด สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด เจดีย์โบราณ ซึ่งคงเหลือเพียงส่วนฐานเท่านั้น มีลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม จากการขุดแต่งฐานเจดีย์ดังกล่าวได้พบโบราณวัตถุหลายชนิด เช่น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาทั้งที่มาจากแหล่งผลิตในประเทศ คือกลุ่มเตาลุ่มแม่น้ำสงคราม และที่มาจากแหล่งผลิตต่างประเทศ ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเคลือบเขียนสีน้ำเงินบนพื้นขาว ซึ่งเป็นชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 พระพุทธรูปประทับนั่งบนฐานกลีบบัว ซึ่งแกนในขององค์พระเป็นดินเหนียว ด้านนอกใช้โลหะเงินและทองมาหุ้ม แล้วสลักเป็นลวดลายขององค์พระ โดยเป็นพระพุทธรูปบุเงินจำนวน 11 องค์ พระพุทธรูปบุทองจำนวน 8 องค์ รวมเป็น 19 องค์ ลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปเป็นศิลปกรรมแบบล้านช้าง สันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะมีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22-23 [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 223 708 […]

Read More

วัดทิพยรัฐนิมิตร

วัดทิพยรัฐนิมิตรหรือวัดบ้านจิก ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งอยู่ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนนเรศวรกับ ถนนทหาร บริเวณนี้คือ “คุ้มบ้านจิก” ภายในวัดร่มรื่น มีเจดีย์องค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์นี้มีสัณฐานคล้ายทะนานที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุแต่ครั้งพุทธกาล และรูปเหมือนหลวงปู่ถิร จิตธมโม เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พร้อมเครื่องอัฐบริขารอยู่ในศาลา เมื่อท่านเดินทางเข้าประตูมาก็จะสังเกตุเห็นว่ายังมีรั้วอิฐ เตี้ยๆ กั้นอยู่อีกชั้นหนึ่ง แบ่งวัดออกเป็นสองตอน ตอนนอกมีพื้นที่น้อยกว่าตอนในมาก ตอนนอกนี้เคยเป็นที่ตั้งของโบสถ์เก่าซึ่งรื้อถอนออกไปเมื่อปี พ.ศ.2533 คุ้มบ้านจิกซึ่งมีศาลเจ้าเป็นที่นับถือของคนในหมู่บ้านนี้ ต่อมาคุณแม่ทิพย์ภรรยาพันตำรวจโทพระยงค์พลพ่ายได้ร่วมกับ ร้อยตำรวจโทขุนรัฐกิจบรรหาญ ชักชวนชาวบ้านคุ้มบ้านจิกถวายที่ดินแห่งนี้ให้เป็นที่สำนักสงฆ์เมื่อ พ.ศ.2473 และสร้าง โบสถ์ (โบสถ์เก่า) อยู่ข้างหน้าศาลเจ้าจนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2479 เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ไม่ได้จัดฉลองและผูกพัทธสีมา ซึ่ง ในขณะนั้นมีพระอาจารย์โชติเป็นเจ้าอาวาส และต่อมา พ.ศ.2481 พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร เป็นเจ้าอาวาส และในปีนี้ พระอาจารย์อุ่นได้เดินทาไปธุดงค์และชักชวนพระ 30 รูป ซึ่งมีหลวงปู่ถิรรวมอยู่ด้วยจากอำเภอมุกดาหารมาอยู่ที่วัดบ้านจิก ขณะที่จำพรรษาที่วัดบ้านจิกนี้ หลวงปู่ถิรมักจะนิมิตเห็นตัวท่านเองนั่งอยู่ในโบสถ์ร้าง ซึ่งหลวงปู่ก็ ไม่ทราบว่าเป็นโบสถ์ไหน หลวงปู่จึงได้แต่คิดว่าทำไมผู้สร้างโบสถ์จึงไม่จัดงานฉลองโบสถ์ แต่ต่อมาในปี พ.ศ.2491 ร้อยตำรวจโทขุนรัฐกิจบรรหาญและคณะชาวบ้านขออนุญาตจัดงานฉลองและผูกพัทธสีมา หลวงปู่จึทราบว่าที่แท้จริงโบสถ์ร้างใน นิมิตตลอด 9 ปีก็คือโบสถ์วัดบ้านจิกที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง ต่อมาประมาณ […]

Read More

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง ระหว่างปี พ.ศ. 2517–2518 จากการศึกษาหลักฐาน ต่าง ๆ ที่พบทำให้บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 1822–4600 โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย ภายในพิพิธภัณฑฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดินเพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราว และวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุ และนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ […]

Read More