ใบเสมาบ้านกุดโง้ง

ใบเสมาบ้านกุดโง้ง ชมใบเสมาโบราณ ศึกษาเรื่องราวพุทธศาสนา ใบเสมาบ้านกุดโง้งถูกเก็บรักษาอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนวัดกุดโง้ง ตำบลกุดตุ้ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ใบเสมาทำด้วยหินทราย มีลักษณะเป็นแผ่นค่อนข้างใหญ่ ปลายมนแหลม ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย เฉพาะที่สลักลวดลายเก็บรักษาไว้ในอาคาร ชนิดแผ่นเรียบและรูปสถูปปักไว้ที่พื้นด้านนอก ลวดลายเป็นเรื่องราวพุทธศาสนาเล่าเรื่องชาดกตอนต่างๆ ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังค์ใต้ต้นโพธิหรือรูปสถูป ซึ่งมักปักดินอยู่นอกอาคารเห็นเพียงสถูป ส่วนองค์ระฆังรูปหม้อน้ำคงจะฝังอยู่ใต้ดิน นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามอีสาน ใบเสมาเหล่านี้เป็นใบเสมาหินทรายศิลปทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 ที่พบเป็นจำนวนมากในบริเวณรอบๆ หมู่บ้านได้ถูกนำมารวบรวมไว้ในอาคารอย่างเป็นระเบียบ ส่วนมากมีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย

ลวดลายที่ปรากฏบนใบเสมาเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาเล่าเรื่องชาดกตอนต่างๆ หรือเป็นภาพรูปเคารพ เช่น ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามแห่งหนึ่งในอีสาน การพบใบเสมาที่บ้านกุดโง้งพบกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณรอบหมู่บ้าน แต่เดิมใบเสมาเหล่านี้จะจมอยู่ในดินมีเฉพาะส่วนยอดโผล่ขึ้นมาให้เห็นไม่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป ยกเว้นใบเสนาภาพชาดกที่ไม่ได้ฝังจมดินเหมือนใบเสมาอื่นๆ แต่ปักอยู่กลางแจ้งที่ขอบเนินดินเตี้ยๆ ขนาดเล็ก 2 เนิน (ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นพื้นที่ทำนา) อยู่ห่างจากหมู่บ้านไม่ไกลนัก เนินดินแรกพบว่ามีการปักใบเสมาเป็นรูปวงกลมล้อมรอบเนินดิน โดยปักเสมาเป็นคู่มีอยู่ 5 จุด ส่วนเนินดินที่ 2 ซึ่งอยู่ห่างจากเนินดินแรกไปทางตะวันตกเล็กน้อยมีลักษณะและทิศทางการปักเหมือนกับเนินดินแรก เนินดินทั้งสองนี้มีขนาดเล็กแะลไม่พบเศษอิฐหรือซากศาสนสถานในบริเวณดังกล่าวเลย จึงสันนิษฐานว่าใบเสมาภาพชาดกที่ปักอยู่รอบเนินดินนี้คงใช้ปักเป็นเครื่องหมายแสดงถึงลานที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่าที่จะใช้เป็นเสมารอบอุโบสถ แต่ช่วงเวลาต่อมาอาจได้มีการใช้เสมานี้เป็นสิ่งที่เคารพนับถือในหมู่บ้านด้วย เพราะใบเสมาที่เป็นรูปพระพุทธเจ้านั่งแสดงธรรมที่พบกลางเนินดินแรกนั้น ได้มีร่องรอยของการปิดทองอันแสดงถึงการใช้เป็นที่กราบไหว้บูชาทำนองเดียวกับพระพุทธรูปใบเสมาที่ที่พบโดยทั่วไปเป็นแบบแผ่นหินมีทั้งแบบเรียบๆ ที่ไม่มีการสลักภาพใดๆ และแบบที่มีการแกะสลักลวดลายต่างๆ ประดับลงไปซึ่งมีหลายแบบ

[adsense-2]

เสมาหินที่พบในภาคอีสานนี้ถือเป็นโบราณวัตถุที่แสดงถึงความเป็นชุมชนสมัยทวารวดี ซึ่งเป็นเวลาที่พุทธศาสนาลัทธิหินยานเผยแผ่เข้ามา โดยใบเสมาเหล่านี้ใช้ปักเพื่อกำหนดเขตในการทำพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ดังเช่น “ใบเสมาบ้านกุดโง้ง” หมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีลักษณะคล้ายเกาะ มีลำน้ำประทาวล้อมรอบ พื้นที่ราบส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา ในบริเวณนี้ได้มีการขุดพบเสมาหินทรายขนาดใหญ่เป็นกลุ่มๆ ปักอยู่ทั่วไปทั้งในบริเวณตัวเมืองและบริเวณเนินดินและในทุ่งนารอบๆ ตัวเมือง

ใบเสมาเหล่านี้เป็นใบเสมาที่ทำด้วยหินทรายแดง มีขนาดค่อนข้างใหญ่ บางชิ้นมีความสูงกว่า 2 เมตร ด้านบนมีปลายแหลม มีทั้งเสมาแบบเรียบๆไม่มีลวดลาย และแบบสลักลวดลายเป็นภาพต่างๆ เช่นบางใบมีลวดลายสลักรูปดอกบัว รูปสถูป ภาพบุคคลเช่นภาพพระพุทธเจ้า ภาพพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตย บ้างก็เป็นภาพเล่าเรื่องในชาดกและคติธรรมทางพุทธศาสนา เช่น เรื่องพระเวสสันดร เรื่องมโหสถชาดก เตมียชาดก ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์เป็นต้น ใบเสมาแผ่นหนึ่งสลักภาพภูริทัตชาดก มีจารึกอักษรปัลลวะอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 ที่มีข้อความกล่าวถึงการรักษาธรรมะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนอีกด้วย นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในอีสาน ในบริเวณหมู่บ้านยังพบเศษภาชนะดินเผา ขวานหิน ลูกปัดหิน ภาชนะเคลือบน้ำโคลนอีกด้วย

ปัจจุบันชาวบ้านได้นำเอาเสมาหินที่รวบรวมได้จากบริเวณต่างๆ มารวมไว้ภายในศาลาวัดและโรงเรียนบ้านกุดโง้ง รวมทั้งหมดกว่า 30 ชิ้น และอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร แต่ก็ยังมีใบเสมาหินอีกหลายสิบชิ้นที่ยังฝังอยู่ตามทุ่งนาบ้าง ตามคันดินบ้าง และเชื่อกันว่าบริเวณบ้านกุดโง้งยังมีโบราณวัตถุอีกมากมายที่ถูกฝังอยู่และยังไม่ได้รับการขุดค้น

แบ่งลักษณะของลวดลายดังนี้

1.ลวดลายรูปเสมา เป็นการสลักโครงรูปเสมาทำให้แลดูคล้ายเป็นใบเสมาซ้อนกัน 2-3 ชั้น เสมาบางหลักมีการแกะลวดลายชนิดอื่นอยู่ภายในลายโครงรูปเสมาอีกทีหนึ่ง
2.ลวดลายรูปสถูป สลักเป็นรูปสถูปหรือรูปยอดสถูปมักมีรูปทรงสูงแหลม เกือบจดปลายใบเสมาบางหลักมีลายลูกแก้วหรือวงแหวนคั่นอยู่ที่โคนยอดสถูป
3.ลวดลายที่เป็นภาพชาดก สลักเป็นรูปภาพที่สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นเรื่องราวชองชาดก มีอยู่เพียง 9 หลัก ได้แก่ เรื่องมโหสถชาดก พรหมนารทชาดก เตมียชาดก ภูริทัตชาดก เป็นต้น นอกนั้นไม่สามารถที่จะวิเคราะห์จารึกที่ค้นพบบนในเสามาและการเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรมกับใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถกำหนดอายุใบเสมาบ้านกุดโง้งนี้ได้ว่ามีอายุอยู่ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 ใบเสมาที่พบเหล่านี้ส่วนหนึ่งชาวบ้านได้นำมาเก็บรวบรวมไว้ที่วัดศรีปทุมคงคา เนื่องจากมีผู้ลักลอบเข้ามาขุดแล้วนำออกไปขาย ต่อมาสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ได้จัดสร้างอาคารถาวรเพื่อจัดแดสงและเก็บรักษาใบเสมาเหล่านี้ไว้ภายในบริเวณวัดศรีปทุมคงคา บ้านกุดโง้ง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยภูมิ
ตรงข้ามสนามฟุตบอลเทศบาลเมืองชัยภูมิ ถนนองค์การบริหารฯ สาย 2 อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000
เว็บไซต์ : http://chaiyaphum.mots.go.th
e-mail : [email protected]
โทรศัพท์.0-4481-1218 มือถือ 089 – 6171345 โทรสาร.0-4481-6316

ประชาสัมพันธ์จังหวัดชัยภูมิ โทรศัพท์ 0 4482 2502
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โทรศัพท์ 0-4481-1376
ททท. สำนักงานนครราชสีมา(ดูเลเขตพื้นที่จ.ชัยภูมิด้วย) โทรศัพท์ 0-4421-3030, 0-4421-3666 ทุกวันในเวลาราชการ

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

จากจังหวัดตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 12 กม. ถึงบ้านกุดตุ้มเลี้ยวขวาเข้าทางสายกุดตุ้ม-บุ้งคล้า เข้าไปตามทางจนถึงหมู่บ้านกุดโง้ง และต่อไปถึงวัดกุดโง้ง

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น