พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือพระสี่มุมเมือง ประดิษฐานอยู่ที่ เขาแก่นจันทร์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี ราชบุรี ซึ่งมีอยู่ 4 องค์ ถูกจัดสร้างขึ้นตามความเชื่อและโบราณประเพณีของบ้านเมืองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่จะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องขอบขัณฑสีมาทั้งสี่ทิศ โดยการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศนั้นเป็นการสร้างพระพุทธรูปแบบแบบ “จตุรพุทธปราการ” กล่าวคือเป็นการนำเอาวัดหรือพระพุทธรูปเป็นปราการทั้งสี่ด้าน เพื่อปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรู ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เสริมสร้างดวงชะตาแก่บ้านเมืองและคุ้มครองพสกนิกรทั้งมวลให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข4 จังหวัด เพื่อประดิษฐานเป็นที่สักการะในทิศทั้งสี่ของประเทศ ซึ่งจังหวัดราชบุรีถือเป็นทิศตะวันตก การสร้างพระพุทธรูปประจำสี่มุมเมืองนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเททองเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2511 พระสี่มุมเมืองเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว มีพุทธลักษณะเช่นเดียวกับ

พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ราบตามแบบศิลปะสุโขทัย โดยมีพระพักตร์แจ่มใส พระเนตรเปิด พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย หล่อด้วยสำริดขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้วประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปจัตุรุมุข ก่ออิฐถือปูน โครงสร้างสร้างคาเป็นเครื่องไม้มุงทับด้วยกระเบื้องอย่างไทยโบราณ บานประตู หน้าต่าง และหน้าลงรักปิดทองทั้งสี่ด้าน

ประวัติความเป็นมา
เดิมเป็นพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครองราชย์สมบัติเท่ากับจำนวนพรรษาในราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครบ 15 ปี เพื่อเป็นราชกุศลและเป็นการสมโภชสิริราชสมบัติของพระองค์ โปรดให้หล่อพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิกาไหล่ทอง รวม 16 องค์ ถวายนามว่า “พระนิรโรคันตราย” ถวายอารามหลวงวัดมหานิกาย 15 องค์ ในราชการ อีก 1 องค์ ทำนองพระนิรันตรายในรัชกาลที่ 4

ต่อมากรมรักษาดินแดน คำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบิดาแห่งกิจการรักษาดินแดน คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจริญรอยตามพระราชประเพณีแต่โบราณกาลที่เคยสร้างพระพุทธปฏิมากรไว้ 4 มุมเมือง เพื่อเป็นศิริมงคลแก่พสกนิกรให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากโรคาพาธภัยพิบัติทั้งปวง เป็นแนวคิดการสร้าง “พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ” ขึ้นจึงกราบบังคมทูลและได้รับพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯ ประดิษฐานไว 4 ทิศ ของราชอาณาจักรไทย คือ

ทิศเหนือ  ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดลำปาง
ทิศใต้     ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันออก  ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดสระบุรี
ทิศตะวันตก  ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดราชบุรี

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สำนักงานภาคกลาง เขต 2 โทร.(032) 471 005
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี โทร.(032) 315 372
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรี โทร.(032) 326 016
สำนักงานจังหวัดราชบุรี โทร.(032) 337 009,(032) 325 800
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดราชบุรี โทร.(032) 338 994
สถานีเดินรถราชบุรี โทร.(032) 321 854
สถานีรถไฟราชบุรี โทร.(032) 337 002
สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี โทร.(032) 322 232-4,(032) 324 009
ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวง โทร.(032) 337 304
ที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี โทร.(032) 337 015
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองราชบุรี โทร.(032) 315 494
โรงพยาบาลราชบุรี โทร.(032) 327 999
โรงพยาบาลเมืองราช อ.เมือง โทร.(032) 322 274-80
โรงพยาบาลพร้อมแพทย์ อ.เมือง โทร.(032) 315 234-9
ที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง โทร.(032) 95 156
สถานีตำรวจภูธรอำเภอสวนผึ้ง (032) 395 111
โรงพยาบาลสวนผึ้ง โทร.(032) 364 496-8

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว  ขับรถไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านตัวเมืองราชบุรีประมาณ กม.105 เขาแก่นจันทร์อยู่ทางขวามือ

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น