Tag: ภาคกลาง

วัดชัยมงคล

วัดชัยมงคล ตั้งอยู่ที่ถนนเทศบาล 5 ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2400 ปลายสมัยรัชกาลที่4 เหตุที่ชื่อว่า วัดชัยมงคล เนื่องจากเป็นจุดแพ้ชนะในการแข่งขันเรือเหนือวัดขึ้นมาไปเป็นวัดสนามชัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นใหม่ในปัจจุบันโดยนำศิลปสมัยใหม่มาผสมผสาน เช่น การใช้สีสะท้อนเสียง การเขียนแบบเหมือนจริง การให้น้ำหนักสีอ่อนและเข้ม นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการวางภาพ เช่น บนผนังเหนือหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุมเพียงแถวเดียว หรือ ที่ผนังตรงข้ามองค์พระประธานเขียนภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนพุทธบัลลังก์แทนภาพมารผจญ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 620 071 , (035) 613 003 สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 851 015 โทรสาร (035) 851 079 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 615 […]

Read More

วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี เดิมชื่อวัดจุฬามณีศรีองครักษ์ราษฎร์บำรุง ตั้งอยู่ที่ตำบลองค์รักษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2375 ช่วงรัชกาลที่ 3 บรรยากาศบริเวณวัดเงียบสงบ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ อยู่ในหอสวดมนต์ ทำด้วยโลหะผสมทองคำ 60% เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบสุโขทัยโบสถ์หลังเก่าเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านหน้าอาคารเป็นหลังคายื่นออกมาโดยมีเสารองรับที่หัวเสาแต่ละต้นทำปูนปั้นรูปกลีบบัวประดับ ชาวบ้านเล่าขานกันว่าสมัยกรุงแตก พ.ศ.2310 ชาวบ้านรวมทั้งพระถูกพม่ากวาดต้อนไป ภายหลังพระภิกษุรูปหนึ่งหนีกลับมาได้จึงมาสร้างวัดนี้ วัดมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา โดยเฉพาะการเจาะช่องโค้งแหลม ส่วนเจดีย์อาจสร้างยุคหลัง เมื่อคนไทยได้รับอิทธิพลตะวันตกและจีนแล้ว เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในเมืองอ่างทอง ศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้ สมัยรัชกาลที่ 5 สร้างเป็นแบบหลังคาลดระดับ ไม่มีการตกฝ้าเพดาน ทำให้เห็นโครงสร้างที่ซับซ้อนแสดงให้เห็นถึงปัญญาของช่างพื้นบ้านในอดีต ในการแก้ไขปัญหาระบบโครงสร้างของศาลาที่มีขนาดใหญ่และกว้าง แต่โครงสร้างใช้ไม้ขนาดเล็กกว่าศาลาทั่วไป ซึ่งนับเป็นความคิดริเริ่มเฉียบแหลมมากในการใช้ไม้ที่ขนาดยาวธรรมดาแต่ทำศาลาที่มีขนาดใหญ่ได้ มีสัดส่วนงดงาม เป็นสถาปัตยกรรมที่ควรศึกษาและอนุรักษ์อย่างยิ่ง [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 620 071 , (035) 613 […]

Read More

วัดจันทราราม

วัดจันทราราม ตั้งอยู่ที่บ้านช้าง หมู่ที่ 5 ตำบลโคกพุทรา อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเล็กๆในชุมชนมีค้างคาวแม่ไก่อยู่อาศัยจนเป็นที่เลื่องลือ วัดจันทารามเป็นวัดเก่าแก่ซึ่งภายในบริเวณวัดแห่งนี้มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นจึงเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ค้างคาวแม่ไก่และนกนานาชนิดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ค้างคาวแม่ไก่นี้จะเป็นค้างคาวที่มีสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ผิดแผกแตกต่างไปจากค้างคาวสายพันธุ์อื่นๆที่เราอาจเคยได้เห็นกันมาบ้าง ค้างคาวแม่ได้นี้จะมีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเที่ยบกับค้างคาวโดยทั่วไป มีสองสี หัวสีน้ำตาลอ่อนส่วนลำตัว ปีก และขามีสีดำ ซึ่งขาทั้งสองข้างจะมีขนาดยาวถึง 5 นิ้ว และเมื่อได้กางปีกออกอาจวัดความกว้างได้ถึง 80-90 เซนติเมตรได้เลยทีเดียว นับว่าเป็นค้างคาวที่ตัวใหญ่มาก ค้างคาวแม่ไก่เหล่านี้จะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะห้อยหัวอยู่ตามกิ่งไม้เป็นสีดำมองเห็นแต่ไกลซึ่งผู้สนใจสามารถไปชมได้ในทุกฤดูกาล ซึ่งหลายๆคนอาจมีความเข้าใจและฝังใจมาว่า ค้างคาวเป็นสัตว์ดุร้ายและน่ากลัว แต่ก็คงต้องเปลี่ยนใจเป็นแน่แท้หากได้เห็นความทะเล้นน่าเอ็นดูของเหล่าค้างคาวแม่ไก่แห่งนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้มาเยือนก็อาจต้องระวัง ไม่ควรไปทำให้เหล่าค้างคาวที่กำลังห้อยหัวอยู่นั้นแตกตื่นและที่สำคัญควรระวังเวลายืนใต้ต้นไม้ที่บรรดาค้างคาวทั้งหลายกำลังพักผ่อน มิเช่นนั้นอาจโดนค้างคาวทั้งหลายปล่อยก้อนของเสียพร้อมกลิ่นอันอาจไม่พึงประสงค์ใส่ศีรษะโดยไม่ทันตั้งตัวได้ค่ะ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด อุโบสถ ภายในอุโบสถวัดจันทรารามมีพระประธานคือพระโต พระเพชรหรือหลวงพ่อเพชร วัดจันทรารามขึ้นชื่อลือชาเรื่องความศักดิ์สิทธิ์มานาน หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชรศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น สร้างจากชาวบ้านบริจาคโลหะหล่อหลอมพระพุทธรูปขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจคนในหมู่บ้าน สังเกตุว่าคนมากราบไหว้ขอพรมักจะนำดอกไม้สดมาสักการะ มีการแสดงลิเกแก้บนหลวงพ่ออยู่เสมอ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 620 071 , (035) […]

Read More

วัดจันทรังษี

วัดจันทรังษี ตั้งอยู่ที่บ้านนา หมู่ 9 ตำบลหัวไผ่ อ.เมือง จ.อ่างทอง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2446 วัดนี้มีพื้นที่สองฝั่งถนน ฝั่งทิศตะวันออกมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อโยก” และฝั่งตะวันตกของถนนเป็นที่ตั้งของพระมหาวิหารจัตุรมุขพระมงคลเทพมุนี(หลวงพ่อสด) องค์ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างด้วยโลหะปิดทองคำเหลืองอร่ามทั้งองค์มีความงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 6 เมตร 9 นิ้ว สูง 9.0 เมตร เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 สร้างโดยพระธรรมรัตนากร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญเป็นผู้จุดประกายการก่อสร้าง นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างองค์สมมุติพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวรเจ้าแม่กวนอิม ปางพันมือ สี่หน้า สูง 5 เมตร 8 นิ้ว แกะสลักจากไม้หอมขนาดใหญ่ จากประเทศจีนโดยได้อัญเชิญเข้ามาประเทศไทยประดิษฐาน ณ วัดจันทรังสี ในวันที่ 15 มีนาคม 2552 บริเวณหน้าวิหารมีประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างขนาดใหญ่ที่สวยงาม มีประวัติที่เล่าสืบต่อมาว่า สามเณรสงัด สะอาดเอี่ยม ได้ติดตามปรนนิบัติหลวงตาทัยซึ่งพำนักอยู่ในป่าช้าวัดจันทรังษี หลวงตาได้บอกกับสามเณรว่าวัดจันทรังษีมีช้างใหญ่อยู่เชือกหนึ่งเป็นช้างที่สวยงามมาก ชื่อว่าช้างมงคล และต่อไปวัดจันทรังษีนี้จะเจริญรุ่งเรือง ในปัจจุบันวัดจันทรังษีมีความเจิรญสมกับคำพูดของหลวงตาทัย [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 […]

Read More

วัดเขียน

วัดเขียน ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนฝาผนังที่งดงามแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติชาดก สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสกุลเมืองวิเศษชัยชาญสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะภาพคล้ายกับภาพเขียนในพระอุโบสถวัดเกาะและวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งอยู่ในยุคสมัยเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด อุโบสถ อุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อุโบสถหลังเดิมมีขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้าทางเดียวทางด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นประตูหลอก ผนังด้านข้างมีหน้าต่างข้าละ 3 บาน เป็นหน้าต่างสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ 2 บาน ที่เหลืออีกด้านหนึ่งเป็นหน้าต่างหลอก เสาภายในอาคารเป็นเสาเหลี่ยมติดผนัง บัวหัวเสาร์เป็นหัวกลีบยาวซึ่งเป็นลักษณะของบัวหัวเสาในสมัยอยุธยาตอนปลาย หน้าบันเป็นหน้าบันไม้ขนาดเล็กแกะสลักลวดลายเป็นลายเทพนมและลายกระจังรวน ในคราวที่มีการปฏิสังขรณ์อาคารใหม่หลังจากได้เคยถูกทิ้งร้างมาครั้งหนึ่ง หน้าบันทั้ง 2 ชิ้นได้ถูกรื้อลงและนำไปประกอบกับซุ้มประตูทางเข้าวัดด้านชลประทาน เครื่องบันหลังคาเป็นไม้ มุงด้วยกระเบื้องลอนสีน้ำตาลแดง มีชายคาปีกนกยื่นออกมา 2 ข้าง สลักลวดลายเช่นเดียวกับลายหน้าบัน ใบเสมา อยู่รอบพระอุโบสถ ยอดทรงมงกุฎ มีทับทรวง มีตาเสมา มีเอว มีท้องเสมา เป็นใบเสมาสมัยอยุธยาตอนปลาย เหมือนใบเสมาวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ อันเป็นของสมัยอยุธยาตอนปลาย เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง สมัยอยุธยาตอนปลาย อยุ่หน้าอุโบสถวัดเขียนทางด้านทิศตะวันออก (หน้าอุโบสถหันออกสู่แม่น้ำเป็นแบบแผนอยุธยาตอนปลายอย่างหนึ่งที่นิยมสร้างเจดีย์อยู่หน้าอุโบสถเช่นเดียวกับวัดพิไชยสงคราม (วัดนอก) สมุทรปราการ วัดสามวิหาร อยุธยา วัดศรีโพธิ์ […]

Read More

วัดขุนอินทประมูล

วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ในเขตตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ มีชื่อว่า พระศรีเมืองทอง มีความยาววัดจากปลายพระเมาลีถึงปลายพระบาทได้ 50 เมตร (25 วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไป เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 เหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้งมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. 2296 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ในปี พ.ศ. 2421 และ 2451 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.2516 และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2518 พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป และ ในศาลาเอนกประสงค์ มีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูลและโครงกระดูกมนุษย์ ขุดพบในเขตวิหารพระพุทธไสยาสน์เมื่อปี พ.ศ. 2541 ลักษณะนอนคว่ำหน้า มือและเท้ามัดไพล่อยู่ด้านหลัง เชื่อกันว่าเป็นโครงกระดูกขุนอินทประมูลแต่บ้างก็ว่าไม่ใช่ ประวัติและความเป็นมาของวัด […]

Read More

วังปลาวัดข่อย

วังปลาวัดข่อย อยู่บริเวณแม่น้ำน้อยหน้าวัดข่อย หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์รังนก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง สิ่งที่น่าสนใจที่วัดนี้คือ ปลาที่มีปริมาณชุกชุมมากมาตั้งแต่สมัยพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อเข็ม) เป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2528 พระครูสรกิจจาทร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ปรับปรุงสถานที่ และประกาศ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำร่วมกับสำนักงานประมงอำเภอโพธิ์ทองและเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลรักษามิให้ปลาถูกรบกวน ปัจจุบันมีปลานานาพันธุ์ เช่น ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาเทโพ ปลาแรดปลาบึก ฯลฯ อาศัยอยู่รวมกันไม่ต่ำกว่า 50,000 ตัว ทางวัดได้จัดจำหน่ายอาหารปลาให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินกับการให้อาหารปลาและจัดสวนสัตว์ขนาดเล็ก ตลอดจนร้านจำหน่ายเครื่องดื่มไว้บริการอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดข่อยมี มณฑป พระวิหาร เจดีย์ พระอุโบสถ กุฏิ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญแบบทรงไทยโบราณซึ่งทำมาจากไม้สักเป็นเสาเหลี่ยม 8 เหลี่ยม ตะเกียง จากกรุงวอชิงตัน เป็นตะเกียงโบราณ นาฬิกาโบราณ จากปารีส และตู้พระไตรปิฎกทำด้วยไม้สักจากประเทศจีนซึ่งมีในสมัยรัชกาลที่ 5 เรือซึ่งเป็นพาหนะที่ใช้ในการเดินทางมีแทบทุกชนิด ได้แก่ เรือบด เรือแจว เรือสำปั้น และเรือประทุน […]

Read More

สามชุกตลาดร้อยปี

สามชุกตลาดร้อยปี ตั้งอยู่ที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตลาดห้องแถวไม้ 2 ชั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี(ท่าจีน) และรายล้อมด้วยบรรยากาศของบ้านเรือนรวมถึงเรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง ย้อนอดีตกลับไปยุคสมัยที่ตลาดสามชุกเฟื่องฟู ยุคนั้นชาวบ้านจะนำของพื้นเมือง รวมทั้ง เกลือ ฝ้าย แร่ สมุนไพร มาแลกเปลี่ยนซื้อขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ ต่อมาเมื่อริมแม่น้ำสุพรรณ กลายเป็นแหล่งทำนาที่สำคัญ มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ตลาดสามชุกก็กลายเป็นตลาดข้าวที่สำคัญ มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ทำให้ตลาดสามชุกไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะริมน้ำ แต่ยังขยายมาถึงริมฝั่ง โดยแต่ละปีมีการเก็บภาษีได้จำนวนมาก พร้อมๆกับมีการตั้งนายอากรคนแรก ชื่อ “ขุนจำนง จีนารักษ์” ช่วงเวลาเฟื่องฟูของตลาดสามชุกกินเวลานานหลายสิบปี แต่หลังจากที่มีการตัดถนนผ่านสามชุก ผู้คนเปลี่ยนไปใช้ถนนเป็นเส้นทางสัญจรมากขึ้น ส่งผลให้ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และการค้าที่ตลาดสามชุกเริ่มซบเซา แต่ตลาดสามชุกก็ยังคงดำเนินวิถีของตลาดห้องแถวไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยความที่ วิถีชีวิตและลักษณะทางกายภาพของชุมชนตลาดสามชุกมีกาลเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามานับร้อยปี เหตุนี้ประชาคมชาวตลาดสามชุกจึงได้มีการปรับปรุง ฟื้นฟู และร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ของตลาดสามชุกไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ตลาดสามชุกกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง สิ่งที่น่าสนใจ อาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารไม้โบราณติดลูกไม้ขนาด 3 ชั้นของขุนจำนงค์ จีนารักษ์ นายภาษีเก่า ซึ่งท่านเจ้าของตลาดมอบให้เป็นแหล่งรวบรวมภาพถ่ายวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยก่อน ร้านถ่ายรูปโบราณที่ยังมีกล้องถ่ายภาพเก่าแก่อายุกว่าร้อยปีให้บริการ ร้านขายยาสมุนไพร และเพลิดเพลินกับขนม […]

Read More

สวนเฉลิมภัทรราชินี

สวนเฉลิมภัทรราชินี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บนถนนนางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง ภายในสวนมี หอคอยบรรหาร-แจ่มใส เป็นหอคอยชมวิวแห่งแรก และสูงที่สุดในประเทศไทยมองเห็นโดดเด่นอยู่กลางเมือง มีความสูงถึง 123.25 เมตร ฐานกว้าง 30 เมตร การขึ้นเที่ยวชมหอคอย จะมีจุดแวะพักชมวิว 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 เป็นที่จำหน่ายบัตรและของที่ระลึก ส่วนชั้นที่ 2 เป็นร้านจำหน่ายเครื่องดื่มอาหารว่างและจุดนั่งชมสวน ชั้นที่ 3 เป็นร้านจำหน่ายของที่ระลึกและจุดชมตัวเมือง และชั้นที่ 4 อยู่ในระดับสูงสุด 78.75 เมตร เป็นจุดชมทิวทัศน์ของจังหวัดสุพรรณบุรีโดยรอบ มีกล้องส่องทางไกลบริการ ผนังห้องแสดงภาพวาดสีน้ำมันเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หอคอยบรรหาร-แจ่มใส นอกจากนั้นยังมีสวนน้ำสไลเดอร์ น้ำพุดนตรี และบริเวณให้พักผ่อนหย่อนใจค่ะ [adsense-2] ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม  เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-ศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-20.30 น. อัตราค่าเข้าชม สวนเฉลิมภัทรราชินี ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 […]

Read More

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ คาดว่าจะมีอายุราว 1200 ปี โดยน่าจะสร้างขึ้นสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ในปีพศ.1724 ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท) มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย หน้าบันของวิหาร มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ เรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทยแบบโบราณ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าเลไลยก์ สร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง ตามเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นไปบนเรือนจะเห็นภาพวาดตัวละครขุนช้าง นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปเป็นที่ระลึก แต่ละห้องจะมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน มีการจัดแสดงเครื่องใช้ต่างๆในสมัยก่อน มีการตกแต่บริเวณโดยรอบสวยงามน่าเที่ยวชม ในเสภาขุนช้างขุนแผน เมื่อนางทองประศรี พาพลายแก้วไปอยู่เมืองกาญจน์เก็บหอมรอมริบ จนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐี และเมื่อพลายแก้วเติบโตก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้มาเรียนคาถาอาคม […]

Read More