Month: November 2014

วัดธรรมจักรเสมาราม

วัดธรรมจักรเสมาราม  ตั้งอยู่ที่ ตำบลเสมา อ. สูงเนิน แต่เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานในสมัยทวารวดี มีโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อสร้างด้วยหินทรายแดงขนาดใหญ่หลายๆ ก้อนประกอบกันขึ้นตามแนวทิศเหนือทิศใต้ มีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร อายุราว พ.ศ. 1200 พระเศียรอยู่ทางทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยมประกอบด้วยหินทรายสี่แผ่นวางซ้อนกัน พระวรกายประกอบด้วยหินทรายรวมกันเป็นแผ่นในแนวตั้ง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระนอนหินทราย อายุกว่า 1,300 ปี เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ศิลปะทวาราวดี ก่อด้วยหินทรายที่มีความเก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศไทย พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกตามขนบของศาสนสถานในศาสนาพุทธ ในส่วนของพระพักตร์ใช้หินทรายแดงสี่ก้อนวางประกอบซ้อนกันแล้วจึงสลักเป็นรูปวงพระพักตร์ ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างกว้างทรงแย้มพระสรวลที่มุมพระโอษฐ์ชี้ขึ้น ส่วนพระศอเป็นหินทรายทรงกลมหนึ่งก้อน หนาประมาณ 35 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตร และพระวรกายประกอบด้วยหินทรายขนาดใหญ่หลายก้อน พระนอนหินทรายเป็นพุทธลักษณะที่เป็นศิลปะทวารวดี ซึ่งเป็นยุคแรกเริ่มของประวัติศาสตร์ เป็นพระนอนเก่าแก่ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือมีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1200 และที่วัดแห่งนี้ยังมีธรรมจักรเก่าแก่ […]

Read More

วัดเขาจันทน์งาม

วัดเขาจันทน์งาม ชมภาพเขียนสีอายุกว่า  4,000 ปี วัดเขาจันทร์งาม หรือ สำนักสงฆ์เขาจันทน์งาม เดิมชื่อ วัดเลิศสวัสดิ์ ตั้งอยู่ภายในวัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทร์งาม) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 58 ถนนมิตรภาพ บ้านเลิศสวัสดิ์ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา วัดเขาจันทน์งาม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ วัดตั้งอยู่บนเขาเขื่อนลั่น แวดล้อมไปด้วยป่าไม้ มีความร่มรื่นและเงียบสงบ เป็นสำนักปฏิบัติธรรม (สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 26 และเป็นวัดป่าสาขาของวัดหนองป่าพง สาขาที่ 34) ภายในอุโบสถประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระสาวกธาตุ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ภาพเขียนสีโบราณ ถือจุดเด่นของวัดนี้ ที่มีชื่อเสียง เป็นภาพเขียนสีโบราณ ที่มีอายุกว่า 4,000 ปี และหากใครได้มาที่วัดแห่งนี้แล้ว ก้าวแรกที่ลงจากรถ จะรู้สึกได้ถึงความร่มเย็น และสงบเงียบ จากภูมิประเทศโดยรอบของวัดแล้ว บริเวณนี้น่าจะเคยเป็นที่อยู่ของคนยุคโบราณ เนื่องจากเป็นบริเวณของรอยแยกหิน เป็นลักษณะร่องเขา คล้ายกับแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคหิน หรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากที่จอดรถ จะมีทางเดินเป็นทางปูนซีเมนต์ เดินขึ้นเขาประมาณ 100 เมตร ผ่านป่าและต้นไม้สองข้างทางอันหนาแน่น และร่มเย็น ซักพักจะมีทาง 3 […]

Read More

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสุทธจินดา ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด จัดแสดงศิลปวัตถุทั้งที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดารวบรวมไว้ โบราณวัตถุที่กรมศิลปากรได้สำรวจขุดพบในเขตจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียงและที่มีผู้บริจาค ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป มีทั้งพระศิลาสมัยขอม พระพุทธรูปสมัยอยุธยา พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ เครื่องเคลือบดินเผา เครื่องใช้สมัยโบราณ ภาพไม้แกะสลักซึ่งนำมาจากวัดโบราณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ เป็นอาคารโถงชั้นเดียวไม่ใหญ่โต แต่มีโบราณวัตถุสำคัญหลายอย่างที่ที่พบในเขต จ.นครราชสีมาและจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน โดยจัดเป็นหมวดหมู่เรียงลำดับยุคสมัย เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผากลองมโหระทึกทำด้วยสำริด ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ยุคต่อมาคือยุคประวัติศาสตร์จัดแสดงพระพุทธรูป ศิลาจารึก และข้าวของเครื่องใช้ที่หน้าสนใจอีกหลากหลาย โบราณวัตถุต่างๆ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์บางส่วนเคยเป็นสมบัติส่วนตัวของสมเด็จมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาซึ่งได้สะสมโบราณวัตถุจากจังหวัดต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้มอบให้กรมศิลปากรเพื่อจัดแสดงเผยแพร่ เพื่อการศึกษาแก่สาธารณชนทั่วไป ในปีพ.ศ.2497 กรมศิลปากรจึงสร้างอาคารขึ้นบริเวณวัดสุทธจินดา จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พร้อมกับนำโบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งโบราณคดีอื่นๆที่ประชาชนบริจาคเพิ่มเติมนำมาจัดแสดงไว้ให้ชมด้วย สิ่งที่น่าสนใจภายในพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูปสมัยทวารวดี เป็นพระพุทธรูปที่ได้จากแหล่งโบราณคดีเมืองเสมา และเมืองโคราฆปุระที่เชื่อว่าเป็นชุมชนแรกเริ่มของโคราช พระพุทธรูปทวารวดีมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปลพบุรี คือ ปากหนา ตาโปน วงหน้าเป็นเหลี่ยมและนิยมทำพุทธรูปปางนาคปรก เครื่องถ้วยและภาชนะดินเผา เป็นเครื่องถ้วยที่เผาจากเตาบุรีรัมย์ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเมืองแถบนี้ เครื่องถ้วยและไหมีหลายขนาดจัดแสดงไว้จำนวนสองตู้ มีทั้งสีเขียว สีน้ำตาล มีลวดลายสวยงามต่างๆ เช่น ลายนก […]

Read More

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ตั้งอยู่เลขที่ 184 หมู่ 7 ถ.มิตรภาพ – หนองปลิง บ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมือง จ. นครราชสีมาแต่เดิมหน่วยงานที่รับผิดชอบคือกรมทรัพยากรธรณี ในเวลาต่อมาได้ย้ายมาเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีพื้นที่ 80 ไร่ ภายใต้งบประมาณการก่อสร้าง 150 ล้านบาท โดยการสนับสนุน ผลักดันหรืออนุมัติโดย ฯ พณ ฯ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในสมัยที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ โดยการประสานงานจากนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รวมทั้งการสนับสนุนจากจังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานโยธาธิการจังหวัด กองทัพภาคที่ 2 ศูนย์ รพช. องค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี เป็นต้น พิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ทั้งนี้ด้วยพระมาหากรุณาธิคุณ แห่งสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ได้ทรงให้การสนับสนุน และสนพระทัย นับแต่การเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการไม้กลายเป็นหิน […]

Read More

พิพิธภัณฑ์โครงกระดูกซากช้างโบราณ

พิพิธภัณฑ์โครงกระดูกซากช้างโบราณ ตั้งอยู่ที่ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ชมซากช้างโบราณ ซากช้างถูกค้นพบจากบ่อทรายที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ทุกบ่อทรายจะมีสภาพชิ้นส่วนของซากช้างแตกต่างกันไป แต่ละบ่อความลึกประมาณ 30-50 เมตร จากระดับดินเดิม จะพบซากสัตว์ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะซากช้างโบราณยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรธรณีสถาบันราชภัฎนครราชสีมา และต่างประเทศ ได้วินิจฉัยว่าเป็นซากช้างดึกดำบรรพ์ คอมโพเธอเรียม มีความสูงประมาณ 2 เมตร มีงวงสั้นกว่าช้างปัจจุบัน มีงาตรง 2 คู่ จากขากรรไกรบนและล่าง เป็นช้างที่มีวิวัฒนาการมาจากช้างรุ่นแรกแห่งดินแดนอียิปต์ที่มีขนาดเท่าหมู ใหญ่ที่มีชื่อ “โมริธิเรียม” สำหรับที่พบที่ตำบลท่าช้างนี้ มีอายุตอนปลายของสมัยไมโอซีน ตอนกลางมีอายุราว 13-15 ล้านปีก่อน ขณะนี้ชิ้นส่วนกระดูกช้างส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ ที่อาคารโครงกระดูกซากซ้างโบราณ ซึ่งอยู่ชั้นล่างของที่ทำการเทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งแต่ละวันจะมีบุคคลที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมโดยตลอดกรมทรัพยากรธรณีได้แจ้งว่า ผลการตรวจฟอสซิลจากบ่อทราย ตำบลท่าช้าง ยืนยันว่าชิ้นส่วนของช้างสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มีอยู่ 3 ชนิด เฉพาะซากช้างโบราณที่ค้นพบจากบ่อดูดทรายริมแม่น้ำมูลของที่นี่ในตำบลท่าช้างและตำบลช้างทองก็ 8 สกุลใน 38 สกุล นอกจากนี้ยังพบสัตว์ชนิดอื่นๆรวมเกือบ 50 ชนิด เช่น ยีราฟคอสั้น ม้าฮิปปาเรียน […]

Read More

ปราสาทหินพนมวัน

ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา  เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมในคติความเชื่อของเขมรโบราณ สันนิษฐานว่าเดิมก่อสร้างด้วยอิฐในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เนื่องจากแผนผังของปราสาทหินพนมวันมีรูปแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมายเป็นศิลปะร่วมแบบบาปวน ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18–19 จึงได้สร้างอาคารหินซ้อนทับลงไป จากจารึกที่ค้นพบ เรียกปราสาทแห่งนี้ว่า “เทวาศรม” เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นพุทธสถาน  เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย ปัจจุบันแม้จะหักพังไปมาก แต่ยังคงเห็นซากโบราณสถานหลงเหลือเป็นเค้าโครงค่อนข้างชัดเจนเช่น ปรางค์จตุรมุของค์ประธานหลักซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกโดยมีมณฑปอยู่เบื้องหน้าและมีฉนวน (ทางเดิน) เชื่อมต่อระหว่างอาคารทั้งสองติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว 25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย 1 องค์ ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา รอบปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินกว้าง 54 เมตร ยาว 63.30 เมตร ประกอบด้วยประตูทางเข้า 4 ทิศ  ทางด้านทิศตะวันออกมี “บาราย” หรือสระน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชน เรียกว่า “สระเพลง” ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า “ปรางค์น้อย” ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบปราสาทมีระเบียงคตสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ […]

Read More

ปราสาทนางรำ

ปราสาทนางรำ ชมปราสาทหินโบราณ ตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ ตำบลนางรำ ชื่อ ปราสาทนางรำ มาจากว่า เดิมเคยมีรูปนางรำ เป็นหินสีเขียวทำแบบเทวรูป อยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารห่างไป 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันเหลือแต่ร่องรอยของเทวสถานและแท่นหิน ปราสาทนางรำเป็นโบราณสถานสมัยขอมที่เรียกว่าเป็น อโรคยาศาล (โรงพยาบาล) สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน 2 กลุ่มตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน กลุ่มปรางค์ที่สมบูรณ์กว่าหลังอื่นประกอบด้วยปรางค์องค์กลาง มีมุขยื่นออกไปข้างหน้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทมีวิหารก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ส่วนซุ้มโคปุระหรือประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปกากบาท นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง ถัดจากปราสาทนางรำไปทางทิศใต้ มีปราสาทอีก 3 หลังเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเหลือเพียงฐานและมีกรอบประตูและทับหลังหินทรายตั้งแสดงอยู่ มีกำแพงศิลาแลงและคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ ตามประวัติ พระเจ้าชัยวรมันที่7 พระมหากษัตริย์เขมร ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1724-1763 ทรงสร้างขึ้น ปรากฎหลักฐานตามจารึกพระขรรพ์ เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชาที่ว่าพระองค์ได้สร้าง”บ้านมีไฟ”หรือที่พักคนเดินทาง57แห่งบนถนนนอกเมืองพระนครหลวงไปยังอาณาจักรจามปา17แห่งไปยังปราสาทหินพิมายบนที่ราบสูงในประเทศไทย จารึกด่านประคำโศลกที่4กล่าวว่า”พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลและรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคตพร้อมด้วยรูปพระชิโนรสทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานนครราชสีมา (นครราชสีมา ชัยภูมิ) อ.เมือง นครราชสีมา โทร. (044) […]

Read More

ปราสาทครบุรี

ปราสาทครบุรี ตั้งอยู่ที่บ้านปรางค์บุรี ตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ 1 งาน 86 ตารางวา ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของโรงเรียนบ้านครบุรีนครธรรมโฆสิตวิทยาคาร ราว พ.ศ.1300-1800 วัฒนธรรมขอมได้แพร่เข้าสู่อีสานทางปักธงชัยและช่องตะโกลงสู่ชุมชนในลำน้ำลำพระเพลิง ลำน้ำจักราช และลำน้ำลำปลายมาศ ทำให้เกิดบ้านเมืองแบบวัฒนธรรมขอมเกิดขึ้นมากมายในย่านนี้ รวมถึงฝั่งตะวันตกของลำน้ำลำปลายมาศ ที่ตั้งของเมืองครบุรี หรือทางใต้ลำน้ำมูลลงมา บ้านเมืองแบบที่ได้รับวัฒนธรรมขอมเหล่านี้ จึงนับเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอมไปด้วย มีหลักฐานวัฒนธรรมในครบุรี คือ ปราสาทครบุรี เป็นอาคารก่อด้วยศิลาแลง ตามแบบวัฒนธรรมขอม จากองค์ประกอบผังเชื่อว่าคือ “อโรคยาศาล” หรือที่นักวิชาการจะแปลว่า โรงพยาบาล ที่มีจารึกปราสาทตาพรหมระบุว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม โปรดให้สร้างอโรคยศาล ขึ้นจำนวน 102 แห่ง ในทุกๆ วิษัย (เมือง) แต่ในขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านมีความเห็นว่า อโรคยาศาล อาจไม่ใช่โรงพยาบาลที่มีการรักษาคนป่วยจริงแต่เป็นชื่อสัญลักษณ์ของกลุ่มศาสนสถานหรืออาคารประเภทหนึ่งที่มีหน้าที่บางอย่าง นอกจากนี้ที่บ้านเฉลียงโคก ต.เฉลียง อ.ครบุรี มีภาพสลักในถ้ำวัวแดงเป็นรูปอุมามเหศวร คือภาพพระอิศวรประทับนั่งชันเข่าโอบกอดพระอุมาบนหลังโคนนทิ มีอายุราว พ.ศ.1600-1650 รุ่นราวคราวเดียวกับปราสาทพิมายในลุ่มน้ำมูล และปราสาทนครวัดในกัมพูชา […]

Read More

ไทรงาม

ไทรงาม อยู่ในพื้นที่บริเวณโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณเขื่อนพิมาย  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางฟุต เป็นสถานที่ซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อน ปิกนิก ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา และรับประทานอาหาร ต้นไทร เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง มีชื่อพื้นเมืองว่า “ไทรย้อย” ที่อำเภอพิมายแห่งนี้ มีต้นกำเนิดจากผู้ใดปลูกไว้หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่สามารถที่จะหาคำตอบได้ เนื่องจาก ไทรเหล่านี้เกิดจากต้นแม่ที่มีอายุประมาณไม่ต่ำกว่า 350 ปี ไทรงามแห่งนี้มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แผ่กิ่งก้านสาขาออกรากซึ่งเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่มากมาย โดยไทรงามเริ่มเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง นับตั้งแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมืองพิมาย เมื่อ 21 มกราคม 2454 และได้พระราชทานนามสถานที่ท่องเที่ยวสถานที่แห่งนี้ว่า “ไทรงาม” ต้นไทร เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่งและส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามพันธุ์ น้ำยางขาว ไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ไม่ต่ำกว่า 800 ชนิด ต้นไทรเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำดี โดยปกติเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด […]

Read More

เทวสถานศาลพระนารายณ์

เทวสถานศาลพระนารายณ์ ตั้งอยู่ถนนชุมพล อ.เมือง จ.นครราชสีมา อยู่หลังวัดพระนารายณ์มหาราช ฝั่งทางทิศตะวันตกของอุโบสถกลางน้ำ  เป็นศาลคู่บ้านคู่เมืองนครราชสีมา ที่ประดิษฐานองค์เทวรูป พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิฆเนศวร ทำด้วยศิลาศิลปขอมโบราณ(พ.ศ. 1500-1700)  เป็นศูนย์กลางทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199-2231) พระองค์ทรงโปรดให้สร้างพุทธสถาน และบูรณะเทวสถานต่าง ๆ ทั้งสยามประเทศ พุทธสถานประจำจังหวัดนครราชสีมา  คือ วัดพระนารายณ์มหาราช อยู่ติดศาลหลักเมือง และเทวสถาน ศาลพระนารายณ์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสวัดพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงถวายเครื่องสักการะบูชาพระพุทธรูปในพระวิหารใหญ่ และพระอุโบสถบนเกาะกลางสระบัว พร้อมทั้งได้ถวายเครื่องบวงสรวงบูชาเทวรูปพระนารายณ์ และพระพิฆเนศ ที่ “หอพระนารายณ์” เทวสถาน ศาลพระนารายณ์ ได้ถูกปรับปรุงสร้างศาลขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2511 แล้วตั้งชื่อเป็น “สถานพระนารายณ์” เป็นเทวสถานที่มีประชาชนผู้นับถือศรัทธา ไปบวงสรวงบูชาเป็นประจำ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานชุมพร(เยื้องสถานีบริการน้ำมัน ปตท.) ห่างจากสถานีรถไฟ […]

Read More