อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย

อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับพาครอบครัวมาพักผ่อน พาเด็กๆมาให้อาหารปลา ดูปลาตัวโตๆ หลากหลายสายพันธุ์กันค่ะ อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย ตั้งอยู่ที่บ้านโขงกุดหวาย หมุ่ที่ 7 ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร  เป็นลำน้ำที่แยกออกจากลำน้ำชี อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงชนบทโดยได้รับการประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคามเมื่อปี 2540 เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้มีฝูงปลาหลายร้อยชนิดที่มาจากแม่น้ำชีได้ทะลักเข้ามาอยู่ตั้งแต่ตัวเล็ก และส่วนมากจะเป็นปลาเผาะซึ่งเป็นปลาเนื้ออ่อน ต้นตระกูลของปลานี้จะอยู่ในแม่น้ำโขง ชาวบ้านส่วนใหญ่อนุรักษ์ไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาดูและศึกษาชนิดพันธุ์ปลาต่างๆ ตัวอุทยานทำเป็นลักษณะกึ่งศาลากลางน้ำมีทางเดินเชื่อมต่อถึงกันตลอด 2 ฝั่ง ก่อนเข้าสู่ศาลากลางน้ำหรือโป๊ะ จะมีร้านขายของขบเคี้ยวสำหรับนักท่องเที่ยวได้พักผ่อน และอาหารปลาสำหรับเรียกปลามา

ข้อควรระวัง จำกัดน้ำหนักโป๊ะ ระมัดระวังกันด้วยนะคะ

ประวัติความเป็นมา

คำว่ากุด หมายถึงทางน้ำทีแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินเป็นเวลานาน บริเวณกุดหวายทีว่านี้ เดิมต้นหวายเกิดล้อมรอบ สวนตรงเนินกลางกุดมีหญ้าคา หญ้าแฝกงอกงามมากตรงบริเวณหัวคุ้งน้ำพระครูพิทักษ์โกสุมพิสัย (ญาครูโม่ง) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีได้ไปตั้งสำนักสงฆ์เพื่อเป็นสวนหญ้า สำหรับเกี่ยวมามุงศาสนสถานในสมัยโบราณ ปัจจุบันบริเวณนี้ชาวบ้านได้ตั้งเป็นวัดชื่อ พิทักษ์สามัคคีโพธิ์ศรี 2

เมื่อพุทธศักราช 2537 ศูนย์บริการเกษตรกรรมเคลื่อนที่และกรมชลประทาน ได้ขุดลอกเป็นคุ้งน้ำตามแนวเดิมทีกว้างที่สุดประมาณ 120 เมตร ลึกจากผิวดิน 10 เมตร โค้งเป็นรูปเกือกมายาวประมาณ 800 เมตร มีความจุน้ำประมาณ 96000 ลูกบาศก์เมตร ด้านทิศตะวันตกมีทางน้ำธรรมชาติ ไหลล้นลง๗ูลำน้ำg รอบกุดด้านทิศเหนือมีหมู่บ้านโขงกุดหวายตั้งอยู่ ประชากรเป็นคนไทยลาวและไทยโคราช

พุทธศักราช 2537 ประมาณเดือนตุลาคมเกิดน้ำหลากท่วมสองฝังลำน้ำชีทะลักเข้าโขงกุดหวาย และไหลลงแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงตามลำดับ ฝูงปลาเผาะ เป็นตระกูลปลาสวายชาวอีสานบางส่วนเรียกว่าปลาซวย ปลาวังก็มี สำหรับปลาเผาะนี้อาศัยอยู่ตามแม่น้ำโขง และปากแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง เช่น ปากแม่น้ำมูล ได้รวมกันเป็นฝูงว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นมา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน อาจเป็นเพราะว่าแก่งตะนะ ซึ่งเป็นแก่งและซอกหินที่เคยอาศัย ถูกระเบิดเพื่อสร้างเขื่อนปากมูล ปลาเหล่านี้ไม่มีที่อาศัยจึงแตกตื่นทวนกระแสน้ำขึ้นมารวมกับปลาเลี้ยงทีน้ำท่วมบ่อ เช่น ปลาตะเพียน ยี่สก นิล ไน ได้มารวมกันอยู่ ในโขงกุดหวายจำนวนมาก โดยเฉพาะปลาเผาไม่มากกว่าชนิดอื่น และเป็นปลาขนาดใหญ่ปัจจุบันลำตัวยาวประมาณ 2 ศอก ชอบว่ายเหนือน้ำตามกินอาหารจากคนไปเทียวชม

เมื่อรวมปลาชนิดต่าง ๆ แล้วมีประมาณหลายแสนตัว ชาวบ้านถือเป็นโอกาสดี จึงร่วมกันปิดกั้นทางน้ำมิให้ไหลลงลำน้ำชี ต่อมาทางราชการได้เสริมคันดินให้แข็งแรงโดยมีความยาว 30 เมตร สันคันดินกว้าง 8 เมตร และร่วมกันตั้งชื่อว่า อุทยานมัจฉา การดำเนินงานในอุทยานใช้วัฒนธรรมนำการพัฒนา ทุกคนในหมู่บ้านร่วมมือกันโดยมีวัดในพุทธศาสนาเป็น ศูนย์กลาง

ภายในวัดก็จะมีสัตว์ที่ชาวบ้านนำมาวัดช่วยเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็น จระเข้ สุนัขจิ้งจอก ลิง เยี่ยว กระต่าย นก และหนูตะเพา ฯลฯ และยังมี พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน อีกด้วย และได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ปลาหน้าวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ห้ามจับสัตว์น้ำ หรือทำการประมงในที่รักษาพืชพันธ์ ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภายในอุทยานแห่งนี้ มีร้านจำหน่ายอาหารปลา มีสะพานไม้ ขนาดกว้าง 1 เมตร 60 เซนติเมตร ยาว 83 เมตร ข้ามคุ้งน้ำไปบริเวณวัด และใช้เป็นสถานที่ให้อาหารปลาและชมปลาได้ด้วย มีซุ้มริมฝั่งน้ำ 4 ซุ้ม แพลอยน้ำขนาด 3 x 5.50 เมตร จำนวน 10 แพ ให้นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารและชมปลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทีมีประชาชนไปเที่ยวจำนวนมาก

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานขอนแก่น(รับผิดชอบพื้นที่ ขอนแก่น,มหาสารคาม,ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์)
ที่อยู่ 277/20-21 ถ.กลางเมือง (ถนนรอบบึงแก่นนคร ด้านทิศตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์. 043-227-714-6 โทรสาร. 0432-27-717, 043-227-719 อีเมล: [email protected]
หรือโทร. 1672

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

เดินทางไปตามเส้นทางมหาสารคาม-กิ่งอำเภอฆ้องชัย จนถึงบ้านโนนตูม ระยะทางประมาณ 5 กม. จะมีป้ายทางแยกอุทยานวังมัจฉา เลี้ยวซ้ายตรงเข้าไปทางบ้านโขงกุดหวาย เป็นระยะทางประมาณ 2 กม. จะพบทางเข้าอุทยานแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 200 เมตร ถึงอุทยานวังมัจฉา

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น