Category: กรุงเทพมหานคร

วัดโสมนัสวรวิหาร

วัดโสมนัสวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 646 ถนนกรุงเกษม แขวงโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร อยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษมด้านตลาดนางเลิ้ง สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามหลวงริมคูเหมือนกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2396 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีพระบรมราชเทวี และทรงพระราชทานให้เป็นพระอารามฝ่ายธรรมยุต พระวิหาร พระวิหารคตและเจดีย์สร้างเชื่อมต่อกันโดยมีพระวิหารเป็นอาคารทรงไทยอยู่ด้านหน้า มีระเบียง 3 ด้าน หอระฆังและหอกลองสร้างเป็นหอกลมหลังคาแบบจีนหน้าต่างเจาะเป็นช่องกลมซึ่งแตกต่างจากวัดอื่นๆ และที่สำคัญอักอย่างหนึ่ง คือ วัดนี้จะมีสีมา 2 ชั้น ซึ่งในกรุงเทพฯ จะมีวัดที่มีสีมาลักษณะนี้อีกหนึ่งวัด คือ วัดมกุฎกษัตริยาราม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถ มีหน้าบันเป็นศิลปะไทยกับจีนผสมกัน ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 4 มีภาพชุดปริศนาธรรม ภาพพุทธประวัติ ภาพพระเถระสำคัญยืนเพ่งซากศพ บนบานประตูหน้าต่างมีภาพแก้วเจ็ดประการและอื่น ๆ แม้ตามกุฏิก็มีภาพเขียนกระจกแบบจีน เหล่านี้ล้วนแล้วแต่น่าชมทั้งสิ้น พระวิหาร พระวิหารคดและพระเจดีย์สร้างต่อเนื่องกันเป็นกลุ่มเดียว โดยให้พระวิหารคดต่อจากด้านหลังพระวิหารโอบรอบพระเจดีย์ไว้ มีพระพุทธรูปยืนปางต่าง ๆ รวม 96 องค์ ประดิษฐานอยู่ในระเบียงพระวิหารคด หน้าบันพระวิหารประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีและสีทองเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ในรัชกาลที่ […]

Read More

วัดสุทัศน์เทพวราราม

วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่146 ถนนตีทอง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิง เป็นศรีสง่าแก่พระนคร ได้พระราชทานนามไว้ว่า วัดมหาสุทธาวาส จากนั้นทรงอัญเชิญพระพุทธรูปโลหะปางมารวิชัย ซึ่งหล่อขึ้นตั้งแต่สมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ที่เรียกกันว่า พระโต หรือ พระใหญ่ จากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ แต่สร้างยังมิทันสำเร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงดำเนินงานต่อ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระอุโบสถและหล่อพระประธานขึ้นใหม่ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดสุทัศนเทพวราราม จากเดิมที่เรียกกันว่า วัดพระโต สร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงถวายพระนาม พระโต ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารว่า พระพุทธศรีศากยมุนี และพระประธานในพระอุโบสถว่า พระพุทธตรีโลกเชฏฐ์ ที่วัดสุทัศนเทพวรารามไม่มีเจดีย์เหมือนวัดอื่นๆ เพราะมีสัตตมหาสถานเป็นอุเทสิกเจดีย์ (ต้นไม้สำคัญในพุทธศาสนา 7 ชนิด) แทนที่อยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด  พระอุโบสถ ของวัดสุทัศน์ฯ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หันหน้าไปด้านทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐานไพที 2 ชั้น หลังคาทรงไทยโบราณ 4 ชั้น 3 ลด […]

Read More

วัดราชบูรณะวรวิหาร

วัดราชบุรณราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 119 อยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ระหว่างถนนจักรเพชรกับถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ “วัดเลียบ” ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณะ” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระวิหารคดเป็นที่ประดิษฐานพระระเบียง 162 องค์ (นำมาจากหัวเมืองต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1) รอบพระอุโบสถ และทรงสร้างพระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมด้วยอสีติมหาสาวกจำนวน 80 องค์ ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระพุทธปรางค์ ซึ่งไม่ได้รับอันตรายจากภัยสงคราม ได้แต่ชำรุดทรุดโทรม มาบูรณธเอาใน พ.ศ.2502 นอกจากนั้นยังได้รับการปฏิสังขรณ์อีกในสมัยรัชกาลที่ 4 […]

Read More

วัดราชนัดดารามวรวิหาร

วัดราชนัดดารามวรวิหาร หรือ “วัดราชนัดดา” ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถ.มหาไชย แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ใกล้กับป้อมมหากาฬ ติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นพลับพลารับแขกเมือง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ใกล้กับวัดเทพธิดาราม ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 วัดราชนัดดารามวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2389ตรงกับปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บนสวนผลไม้เก่าเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ พระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี สำหรับสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในวัดราชนัดดารามนี้ก็ยังเป็นแบบไทย พระอุโบสถเป็นมีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานพระนามว่า “พระเสฏฐตมมุนี” ส่วนพระวิหารก็เป็นศิลปะแบบไทยเช่นกัน ภายในมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นประธาน พระนามว่า “พระพุทธชุติธรรมนราสพ” สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด โลหะปราสาท พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาท แทนการสร้างเจดีย์ นับเป็นโลหะปราสาทแห่งแรกของไทย โดยสร้างเป็นอาคาร 7 ชั้น มียอดปราสาท 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรมในพระพุทธศาสนา 37 […]

Read More

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) ตั้งอยู่บนถนนหน้าพระลาน กรุงเทพมหานคร ใกล้ๆ กับท้องสนามหลวงและแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทน์ และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระแก้วมรกต เป็นพระประทับนั่งอย่างสมาธิราบในสกุลช่างล้านนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งแกะสลักมาจากหยกสีเขียว เข้มที่มีค่าและหายากมาก พระแก้วมรกตจะมีเครื่องทรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู ซึ่งเครื่องทรงเหล่านี้ทำด้วย ทองคำประดับเพชรและสิ่งมีค่าชนิดต่าง ๆ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งของ พระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบันที่จะต้องเสด็จ ฯ ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูด้วยตนเองซึ่งกำหนดวันเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตมีดังนี้ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูฝน วันแรม […]

Read More

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี(วัดแขก)

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี(วัดแขก) เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายการบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีซึ่งเป็นพระชายาของพระศิวะ เดิมเป็นสถานที่เฉพาะ ของผู้นับถือศาสนาฮินดูเท่านั้น ในช่วงบ่ายจะมีการปิดโบสถ์ เพื่ออ่านรามเกียรติ์ เป็นการสรรเสริญพระเป็นเจ้า แต่ในปัจจุบัน วัดแขกเปิดกว้างต้อนรับผู้คนมากขึ้น ทั้งผู้มีจิตศรัทธาองค์เทพต่างๆ ตลอดจนยินดีต้อนรับผู้นับถือศาสนาอื่นๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประวัติความเป็นมา เทวสถานนี้มีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่สมัย ร.5 ราว พ.ศ. 2453-2454 โดยคณะผู้ศรัทธาชาวอินเดียใต้ผู้อาศัยอยู่ย่านตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก และตำบลหัวลำโพงอำเภอบางรัก ซึ่งเป็นชาวอินเดียเผ่าภารตะฑราวิฑนาดู (ทมิฬ) จากทางใต้ของประเทศอินเดียที่เดินทางทางทะเล เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนดินแดนย่านแหลมมลายูรวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อนายไวตี พ่อค้าวัว และญาติมิตรชาวฮินดูที่ตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพอยู่ย่านตำบลหัวลำโพง อำเภอบางรัก และตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก มีศรัทธาจัดสร้างวัดเพื่อเป็นที่บูชาพระอุมาเทวี ตามลัทธิศักติทางศาสนาฮินดู โดยเริ่มต้นตั้งเป็นศาลไม้ใต้ต้นสะเดาในไร่อ้อยริมคลองสีลม แถววัดวัวลำพองหรือหัวลำโพงในปัจจุบันนี้ ต่อมาคณะกรรมการผุ้ก่อตั้งวัดอาทิ นายไวตรีประเดียอะจิ (ต้นตระกูลไวตี เจ้าของเดิมที่ดินใน ซ.สีลม 13 หรือ ซ.ไวตี ถนนสีลม ) นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้หาที่ดินเพื่อตั้งสถานที่ถาวร โดยขอแลกที่ดินของพวกตนกับที่ดินสวนผักริมคลองสีลมของนางอุปการโกษากร ( ปั้น […]

Read More

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์)

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ตั้งอยู่ที่ถนนสนามไชย ข้างพระบรมหาราชวัง เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด และได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่างๆ มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ที่วัดโพธิ์ยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์ ยาว 46 เมตร สูง 15 เมตร ที่ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล 108 ประการ อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย ปัจจุบันวัดโพธิ์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกเมื่อ มีนาคม พ.ศ.2551 อีกทั้งในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน โดยจุดเด่นที่สำคัญของวัดโพธิ์ ก็คือ พระพุทธไสยาส หรือ พระนอน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นอันดับต้น ๆ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเชื่อกันว่าเป็นปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ ในขณะที่พระพักตร์อิ่มเอิบ […]

Read More

วัดเทพธิดาราม

วัดเทพธิดาราม ตั้งอยู่เลขที่ 70 ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดบ้านพระยาไกรสวนหลวง วัดนี้เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2379 เสร็จในปี พ.ศ. 2382 สถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือ พระปรางค์ทิศทั้งสี่ เป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 บุษบกที่รองรับพระประธานภายในโบสถ์ประดิษฐ์อย่างสวยงาม และที่ผนังพระอุโบสถมีภาพเขียนเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์แบบอย่างในรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ระหว่าง พ.ศ. 2383-2385 วัดนี้เคยเป็นที่พำนักของสุนทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวบวชเป็นพระภิกษุ และได้เขียนบทกลอนเรื่องรำพันพิลาปขึ้น มีบทพรรณนาลักษณะปูชนียสถานปูชนียวัตถุของวัดอย่างละเอียด บรรยายถึงความงามของพระอารามไว้ และเรียกว่า “กุฏิสุนทรภู่” มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงกวีเอกผู้นี้ในวันที่ 26 มิถุนายน เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันยังมีกุฏิหลังหนึ่งเรียกว่า บ้านกวี เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน คำว่า เทพธิดา หมายถึง กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองศ์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีพระสิริโฉมงดงาม ทรงได้รับใช้เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของพระราชบิดา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อร่วมในการก่อสร้างวัดเทพธิดารามด้วย สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด รูปหมู่พระอริยสาวิกา […]

Read More

วัดไตรมิตรวิทยาราม

วัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพไทย-จีน แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณอยู่ในที่ลุ่มพระอารามเป็นเรือนไม้ มีชื่อเดิมว่า “วัดสามจีน” เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน 3 คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า “วัดสามจีน” วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ คือ พุทธสถาปัตกรรมอันทรงคุณค่า “พระมหามณฑป” ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดใครต่อใครให้อยากไปเยือน “วัดไตรมิตร” สักครั้งค่ะ ภายใน “พระมหามณฑป” ประกอบด้วย ชั้น 2 “ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช” ทำความรู้จักกับชุมชนชาวจีนสำเพ็ง – เยาวราช อันเป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่สำคัญของกรุงเทพฯ ซึ่งเติบโตขึ้นจากการก่อร่างสร้างตัวของชาวจีนที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย ชั้น 3 “นิทรรศการพระพุทธรูปทองคำ” ภายในจะมีห้อง Multimedia Theatre ที่จัดแสดงสื่อผสม แสง เสียง และภาพ Animation ประกอบกับโมเดลวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย เล่าเรื่องราวตั้งแต่เริ่มกำเนิดพระพุทธรูปขึ้นในโลก และพัฒนาการมาสู่พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ชั้น 4 ประดิษฐาน “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” หรือ “พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร” หรือจะเรียกสั้นๆ ภาษาชาวบ้านว่า “หลวงพ่อทองคำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่สร้างจากเนื้อทองคำบริสุทธิ์ จนได้รับการจดบันทึกลง […]

Read More

พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ

 พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ ไม่ต้องไปถึงทะเลก็ได้ดูเปลือกหอยรูปทรงต่างๆหลากสีทั้งในประเทศและจากต่างประเทศกันแล้วค่ะ พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยตั้งอยู่เลขที่ 1043 ซอยสีลม 23 บางรัก กรุงเทพฯ อยู่บริเวณหัวมุมถนนสีลม ซอย 23 เยื้องสี่แยกโรงพยาบาลเลิดสินค่ะ  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดขึ้นจากความรัก ความรอบรู้ และ ความเชี่ยวชาญในเปลือกหอยของ “คุณจอม : สมหวัง ปัทมคันธิน” สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย (ปี 2007 และปี 2008) ผู้คว้ารางวัลคะแนนโหวตสูงสุดปี 2008 ทายาทของคุณสมนึก ปัทมคันธิน เจ้าของพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ที่หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ตัวพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นแรก จัดแสดงเปลือกหอยขนาดใหญ่ หลากหลายชนิด รวมถึงหอย 2 ฝาที่มีขนาดใหญ่และหายากอย่างหอยมือเสือยักษ์ นอกจากนี้ยังมีบรรดาเม่นทะเลรูปร่างแปลกตาและมีสีสันสวยงามให้ได้ดูกันด้วย แค่เริ่มต้นเปลือกหอยบางชนิดก็ทำให้เราได้รู้ว่ารูปร่างภายนอกของเปลือกหอย บางชนิดนั้นคล้ายคลึงกันมากๆ จนแทบจะแยกกันไม่ออกเลยค่ะ ชั้น 2 เป็นส่วนจัดแสดงเปลือกหอยสีสันสวยงามจากทั่วโลกเช่น หอยแครงหัวใจ หอยแต่งตัว หอยพระอาทิตย์ หอยเกลียวชั้นญี่ปุ่น หอยเชลล์ หอยงวงช้าง […]

Read More