Category: สระบุรี

อุโมงค์รถไฟพระพุทธฉาย(บุใหญ่)

อุโมงค์รถไฟพระพุทธฉาย(บุใหญ่) ตั้งอยู่ที่ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี ถ้าใครเคยดูหนังเรื่องโอเค เบตง ก็จะคุ้นตากับทางรถไฟและอุโมงค์รถไฟสายนี้มากค่ะ เพราะถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำหนังเรื่องนี้นี่เอง อุโมงค์รถไฟพระพุทธฉาย(บุใหญ่) เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของไทย และเป็นอุโมงค์เพียงแห่งเดียวเท่านั้นในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก นอกจากนี้อุโมงค์พระพุทธฉายยังมีความยาวรองจากอุโมงค์ขุนตานเพียงแห่งเดียว โดยหากวัดตัวอุโมงค์จะพบว่าตัวอุโมงค์ยาวถึง 1,197 เมตร อีกทั้งภายในเป็นผนังคอนกรีตซึ่งมี รูปแบบก่อสร้างเป็นรูปเกือกม้า มีความกว้าง 7 เมตร และความสูง 5.5 เมตร ในการสร้างอุโมงค์พุทธฉายนี้ใช้หมอนคอนกรีตและรางเชื่อมหนัก 100 ปอนด์อุโมงค์พุทธฉายตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟบุใหญ่ และสถานีรถไฟวิหารแดง ในเขตตำบลพระฉาย อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี หรือบริเวณเขาช่องลิง รอยต่อระหว่างตำบลเจริญธรรม อำเภอวิหารแดง และตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรีนั่นเอง อุโมงค์พระพุทธฉาย เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2536 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ด้วยงบประมาณ 127.5 ล้านบาท เปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ […]

Read More

หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน สระบุรี

หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน สระบุรี ตั้งอยู่ บริเวณ กม.3 ถ.สายสระบุรี-ปากบาง บ้านโตนด ต.ดาวเรือง อ.เมือง จ.สระบุรี เมื่อมาเยือนที่นี่เราจะได้พบกับเรือนไทยไม้สักโบราณริมแม่น้ำป่าสักที่ให้บรรยากาศเรียบง่ายเงียบสงบ นำพาผู้มาเยือนย้อนอดีตสู่วิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน ในยามปกติกลุ่มเรือนไทย และเรือนแพ จะว่างเปล่า แต่บ่อยครั้งก็จะมีชีวิตชีวาขึ้นมาด้วยการทำหน้าที่เป็น ฉากละครดังๆ หลายเรื่อง หรือ กลายเป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงรื่นเริง งานแต่ง งานข้าวแลงขันโตก ที่จะได้รับการประดับประดาตกแต่งจนเรืองรองไปด้วยดอกไม้ตุง แสงไฟ และผู้คนที่แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไท-ยวน ในราวปี พ.ศ. 2536 กลุ่มชาวไท-ยวน สระบุรี ได้รวมตัวกัน จัดตั้งหอวัฒนธรรมแห่งนี้ขึ้น และ มอบหมายให้อาจารย์ทรงชัย วรรณกุล เป็นประธานเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวไท-ยวน สืบสานและเผยแพร่วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีให้คงอยู่ รวมถึงเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มชาวไท-ยวน ด้วยกัน ให้ชนรุ่นหลังได้สัมผัสกับบรรยากาศความเป็นชาวบ้าน ไท-ยวนแท้ๆ [adsense-2] ข้อมูลที่ควรรู้ ใครที่สนใจจะไปเที่ยวที่นี่ควรนัดหมายก่อน เพราะว่าปกติเรือนจะปิดไม่มีคนอยู่ ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00-15.00 น. จะมีบรรดาครูจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมาสอนวัฒนธรรมไทย เช่น การฟ้อน กลองไทย และมวยไทย เปิดเรือนให้พักแบบโฮมสเตย์ […]

Read More

สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง(พุแค)

สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลาง(พุแค) ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าพระพุทธบาทพุแค ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 4,697 ไร่ เป็นสวนพฤกษศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นแหล่งรวบรวมศึกษาวิจัยพันธุ์พืชรวมทั้งเผยแพร่และให้บริการความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับพืช รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจครอบคลุมสองฟากฝั่งถนน หากมาจากสระบุรี ทางซ้ายมือจะเป็นส่วนของอาคารสำนักงานและห้องสมุดพรรณไม้ ทางขวามือมีบริเวณกว้างขวาง บรรยากาศร่มรื่น และมีลำธารไหลผ่าน เป็นสวนหย่อมรวบรวมพันธุ์พืชไม้ต่าง ๆ ส่วนมากจะเป็นไม้พื้นบ้าน ประกอบด้วยพรรณไม้ต่างๆ 35 วงศ์ พรรณไม้ในวรรณคดี และพรรณไม้สมุนไพร เดิมสวนแห่งนี้ได้รับการขนานนามจากประชาชนในจังหวัดสระบุรีและจังหวัดสระบุรีว่า “สวนสวรรค์” เพราะเป็นสถานที่ที่มีดอกไม้ป่าสวยงาม ออกดอกบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมอบอวล กรมป่าไม้ได้เข้ามาดำเนินการจัดตั้งสวนสวรรค์ให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 โดยได้ดัดแปลงสภาพพื้นที่เดิมที่มีสภาพเป็นป่าดิบแล้ง มีพรรณไม้พื้นล่างเต็มไปด้วยหนาม เถาวัลย์ ให้เป็นสถานที่สำหรับปลูกรวบรวมพรรณไม้ นานาชนิด ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศและต่างประเทศอย่างเป็นหมวดหมู่ สวนพฤกษศาสตร์พุแคนอกจากจะมุ่งเน้นการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านพฤกษศาสตร์ และปลูกรวบรวมพรรณไม้ตามหลัก อนุกรม วิธานพืช สวนพฤกษศาสตร์ยังมุ่งเน้นให้สวนพฤกษศาสตร์ให้เป็นแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชของประเทศ โดยเฉพาะ ไม้มีค่าหายาก และใกล้สูญพันธุ์ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติแก่ประชาชนผู้สนใจ นิสิตนักศึกษา ตลอดจนนักเรียน ทุกระดับชั้น เพื่อให้เกิดจิตสำนึกหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าของประเทศ แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญภายในสวนพฤกษศาสตร์อื่นๆ ยังมีแปลงปลูกพรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด แปลงพรรณไม้หอม แปลงพรรณไม้มงคลที่ปลูกตามทิศ […]

Read More

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ต.ท่ามะปราง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เป็นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ ป่านานาชนิดในพื้นที่ 13,750 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อกับด้านตะวันตกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วยป่าหลายชนิด ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า ก่อให้เกิดความหลากหลายของพันธุ์พืช เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกต่าง ๆ นักท่องเที่ยวสามารถเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมน้ำตก ดูนก และปั่นจักรยาน ทางศูนย์ฯยังมีสถานที่สำหรับจัดอบรมสัมมนาด้วย พันธุ์ไม้ที่พบใน บริเวณนี้มีจำพวกพืชสมุนไพร เช่น พญามีฤทธิ์ ม้ากระทืบโรง กราวเครือ ว่าน รวมทั้งเห็ดชนิดต่าง ๆ เช่น เห็ดแชมเปญ เห็ดปากหมู สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณ ได้แก่ ช้างป่า กระทิง หมี กวาง เก้ง นางอาย อีเห็น กระจง หมูป่า และ นกอีกประมาณ 158 ชนิดที่บินข้ามไปมาระหว่างศูนย์ฯ กับเขาใหญ่ […]

Read More

วัดสูง(เสาร้องไห้)

วัดสูง(เสาร้องไห้) ที่วัดแห่งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมากคือเสาร้องไห้ ซึ่งเป็นเสาไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในศาลนางตะเคียนทอง ณ วัดสูง ตำบลเสาไห้ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี เสาไม้ตะเคียนต้นนี้มีผู้คนนับถือกันว่าเป็นเจ้าแม่ เพราะสิ่งของที่นำไปบูชาล้วนเป็นของสตรีทั้งสิ้น มีตำนานเล่ากันว่า เมื่อครั้งสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานี ได้มีการเกณฑ์เสาจากหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อคัดเลือกเสาที่มีลักษณะงดงาม เพื่อจัดเป็นเสาเอก ทางเมืองสระบุรีได้จัดส่งเสาต้นหนึ่งที่มีลักษณะงดงามมาก ล่องลงมาตามลำน้ำป่าสัก แต่มาถึงกรุงเทพฯ ช้าไปเล็กน้อย และได้มีการคัดเลือกเสาเอกไปก่อนแล้ว จึงได้เป็นเสารอง ซึ่งถ้าเสาต้นนี้มาทันเวลาก็ต้องได้เป็นเสาเอกอย่างแน่นอน เพราะมีลักษณะใหญ่ และสวยงามมาก ด้วยความยาว 13 เมตร กล้าว 0.75 เมตร เสาต้นนี้จึงเกิดความเสียใจลอยทวนน้ำกลับขึ้นมาจมลง ณ ตำบลแห่งนี้อยู่ประมาณ 100 กว่าปี เมื่อปี พ.ศ. 2501 ได้มีชาวบ้านนำขึ้นจากน้ำไปไว้ที่ศาลหน้าพระอุโบสถวัดสูงจนถึงปัจจุบันนี้ พอตกเวลากลางคืนชาวบ้านมักได้ยินเสียงร้องไห้ จึงได้ให้ชื่อตำบลนี้ว่า ตำบลเสาร้องไห้ และได้กลายเป็น “อำเภอเสาไห้” ในปัจจุบัน   ตำนานเสาร้องไห้ มีตำนานเล่ากันว่า เมื่อครั้งสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานี ได้มีการเกณฑ์เสาจากหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อคัดเลือกเสาที่มีรูปร่างลักษณะงดงาม […]

Read More

วัดพะเยาว์

วัดพะเยาว์ ตั้งอยู่ที่บ้านพะเยาว์ หมู่ 1 ตำบลศาลารีไทย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก โดยชาวบ้านพะเยาว์เชื่อกันว่า บรรพบุรุษของตนได้อพยพมาจากทางเมืองเหนือ คราวเดียวกับที่ชาวเชียงแสนที่อพยพมาเมื่อปีพ.ศ. 2347 ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันได้จนทุกวันนี้คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีอีกทั้งสำเนียงและภาษาในการพูดแบบเมืองเหนือ (ภาษายวน) ประวัติของพระพุทธรูปทองคำ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งใน 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 หลวงพ่อทองคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเดิมเป็นพระพอกด้วยปูนลงรักไว้นานมาก ทิ้งตากแดดไว้ที่วัดร้างในอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2420 ชาวบ้านศาลารีไทย หมู่ที่ 3 ตำบลศาลารีไทย อำเภอเสาไห้ สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นชื่อว่า วัดอุทิศสโมสร ขาดพระพุทธปฏิมาประธาน ทราบข่าวว่ามีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปล่อยทิ้งตากแดด กรำฝน ไม่มีผู้สนใจจึงไปอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ วัดอุทิศสโมสร พุทธศักราช 2478 วัดอุทิศสโมสรเกิดร้าง เนื่องจากหมู่บ้านขาดแคลนน้ำ […]

Read More

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า มีพระภิกษุไทยคณะหนึ่ง เดินทางไปยังลังกาทวีป เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท พระสงฆ์ลังกากล่าวว่า ประเทศไทยก็มีรอยพระพุทธบาทอยู่แล้วที่เขาสุวรรณบรรพต จึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้ทรงทราบ และได้สืบหาจนพบรอยพระพุทธบาท เพื่อเป็นที่สักการบูชา เป็นศูนย์รวมแห่งพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ พระพุทธบาทสระบุรีเป็นพระอารามหลวง ที่พระมหากษัตริย์แทบทุกพระองค์ทรงทำนุบำรุงและเสด็จไปนมัสการตลอดมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ ประวัติวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่า มีพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยคณะหนึ่ง เดินทางไปยังลังกาทวีป ด้วยหวังจะสักการบูชาพระพุทธบาท ณ เขาสุมนกูฏ การไปคราวนั้นเป็นเวลาที่พระสงฆ์ชาวลังกาทวีปกำลังสอบประวัติ และที่ตั้งแห่งรอยพระพุทธบาททั้งปวงตามที่ปรากฏอยู่ในตำนานว่ามีเพียง 5 แห่ง ภายหลังสืบได้ความว่า ภูเขาที่ชื่อว่า สุวรรณบรรพต มีอยู่ในสยามประเทศ ครั้นเมื่อได้พบกับพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยในคราวนั้น ต่างพากันสอบถามว่ารอยพระพุทธบาท ที่มีอยู่ 5 แห่ง ในสถานที่ต่างๆ กันนั้น ปรากฏว่ามีที่เขาสุวรรณบรรพตแห่ง 1 ก็ภูเขาลูกนี้อยู่ในประเทศไทย แต่ภิกษุไทยไม่พยายามสืบไปนมัสการ กลับพากันไปถึงลังกาทวีป เมื่อพระภิกษุสงฆ์ไทยคณะนั้นได้รับคำบอกเล่า เมื่อกลับมาสู่ประเทศไทย จึงนำความขึ้นถวายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีท้องตราสั่งบรรดาหัวเมืองทั้งปวง ให้เที่ยวตรวจตราค้นดูตามภูเขาต่างๆ ว่าจะมีรอยพระพุทธบาทอยู่ ณ […]

Read More

วัดพระพุทธฉาย

วัดพระพุทธฉาย ตั้งอยู่เชิงเขาพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ที่วัดแห่งนี้ปรากฏรอยภาพเงาพระพุทธเจ้าในลักษณะประทับยืนอยู่บนชะง่อนผา ตามประวัติการค้นพบ มีบันทึกไว้ว่า ถูกค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นมีรับสั่งให้ค้นหารอยพระพุทธบาทตามภูเขาทุกแห่ง แล้วได้มาพบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา และพระพุทธฉาย ณ เงื้อมเขาแห่งนี้ จึงโปรดให้สร้างเป็นมหาเจดีย์สถาน มีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาทไว้และโปรดให้สร้างสังฆาราม ให้เป็นสถานที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน หลังจากผ่านเวลามายาวนานกว่า 400 ปี เป็นธรรมดาที่สิ่งปลูกสร้างเก่าแก่จะชำรุดทรุดโทรมลง จนเมื่อปีพ.ศ. 2537 ได้มีการซ่อมแซมมณฑปหลังเก่าและได้มีการเคลื่อนย้ายรอยพระพุทธบาทจำลองออก และทุบซ่อมแซมพื้นจึงพบ “รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา” ใต้กอง ทรายหยาบ ซึ่งปัจจุบันรอยพระพุทธบาทเบื้องขวานี้ประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปน้อย บนยอดเขา  นักท่องเที่ยวสามารถขับรถอ้อมขึ้นไปจอดรถด้านบน และเดินขึ้นบันไดต่อไปอีกเล็กน้อย ก็จะได้สักการะรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา พร้อมทั้งยังได้ชมวิวทิวทัศน์รอบๆ เขาพุทธฉาย ซึ่งมีทั้งบ้านเรือนของชาวบ้าน และแนวเขาสลับกันไปสามารถมองได้ไกลสุดสายตาเลยทีเดียวค่ะ ส่วนพื้นที่วัดบริเวณเชิงเขา ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวางและร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่มากมาย เมื่อเดินเข้ามาบริเวณวัดแล้ว เราจะเห็นบันไดนาคซึ่งจะนำเราไปสู่มณฑปพระพุทธฉาย ซึ่งภายในปรากฎภาพเงาพระพุทธเจ้าเป็นรอยสีแดงจางๆ บนหน้าผา มีตำนานเล่าขานเชื่อกันว่าในอดีตกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดนายพรานฆาฏกะ ซึ่งมีทิฎฐิมานะสันดานหยาบจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ ภิกษุฆาฎกะได้ทูลขอติดตามไปด้วย ซึ่งพระองค์ได้ห้ามไว้ เพื่อต้องการใช้ภิกษุฆาฎกะช่วยกันประกาศพระศาสนา ภิกษุฆาฎกะจึงทูลขอสิ่งที่เคารพสักการะไว้ พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงแสดอิทธิปาฏิหาริย์ให้เงาของพระองค์ติดไว้ ณ เงื้อมเขา […]

Read More

วัดจันทบุรี

วัดจันทบุรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยไหน เหตุที่ชื่อว่าวัดจันทบุรีสันนิษฐานได้ว่าชุมชมเก่าแก่ที่อยู่ล้อมรอบวัดแห่งนี้น่าจะเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 3 ชื่อ “จันทบุรี” จึงน่าจะเป็นการตั้งชื่อตามเมืองเวียงจันทน์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงนั่นเอง สิ่งที่น่าสนใจ คือ พระอุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2436 สมัยรัชกาลที่ 3 ลักษณะของพระอุโบสถเป็นอาคารขนาดไม่ใหญ่นัก รูปทรงสอบขึ้นด้านบน มีงานปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยแบบจีนปรากฏให้เห็นที่บริเวณหน้าบัน ไม่ปรากฏช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซึ่งคงรับอิทธิพลศิลปะจีนซึ่งเป็นอาคารแบบพระราชนิยมรูปแบบหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายในเป็นอาคารโถง ไม่ปรากฏแนวเสา มีงานปูนปั้นประดับกรอบประตูหน้าต่างแบบเดียวกันกับหน้าบัน บริเวณภายในพระอุโบสถมีงานจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ ซึ่งอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างชำรุดอย่างมาก ร่องรอยของภาพเขียนเริ่มปรากฏราว 80 เซนติเมตรจากพื้นล่าง ที่น่าสนใจคือการเขียนลายผ้าม่านด้านหลังพระประธาน ลายดอกไม้ร่วง และเทพชุมนุม งดงามไม่แพ้ที่อื่นๆ เนื้อหาในงานจิตรกรรมโดยทั่วไปเหมือนกับวัดอื่นๆ คือนิยมแสดงเรื่องพุทธประวัติ และชาดกต่างๆ เพื่อบอกเล่าคำสอนทางพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติตอนออกบวช มารผจญ ฯลฯ ชาดกที่นำมาเล่ามักอยู่ในกลุ่มทศชาติชาดก เช่น เตมียชาดก พระมหาชนกชาดก เป็นต้น จิตรกรรมที่นี่มักได้รับการอ้างอิงในการกล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนหลากหลายชาติพันธุ์ในภาคกลางสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น ลาว […]

Read More

วัดเขาแก้ววรวิหาร

วัดเขาแก้ววรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นตาล ทางฝั่งขวาของแม่น้ำป่าสัก เป็นวัดเก่าแก่อยู่บนเขาขนาดย่อม ตั้ง อยู่ที่ตำบลต้นตาล ทางฝั่งขวาของแม่น้ำป่าสัก ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถที่จะขับรถยนต์ขึ้นไปถึงบริเวณวัดได้ มีปูชนียสถานสำคัญคือเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สีขาวสวยตั้งตระหง่านอยู่ ชาวบ้านในท้องถิ่นกล่าวว่า มีคำเล่าลือกันว่าวันดีคืนดีจะเห็นดวงแก้ว สุกสว่างเหนือวิหารวัดเขาแก้วถือว่าเป็นการแสดงปาฏิหาริย์องสิ่งศักดิ์ สิทธิ์ที่บรรจุในองค์พระเจดีย์ เป็นที่อัศจรรย์เป็นอย่างมาก วัดนี้จึงได้ชื่อว่าวัดเขาแก้ว ประวัติวัด วัดเขาแก้ววรวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณวัดหนึ่งตั้งอยู่บนเขา ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตท้องที่ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เป็นวัดราษฎร์สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ประมาณ ปี พ.ศ.2171 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนมัสการ พระพุทธบาทและจะเสด็จนมัสการพระพุทธฉายได้ทรงแวะพักไพร่พลขบวนราบ ณ พลับพลาท่าหิน ลานหน้า วัดเขาแก้ว พระองค์ได้เสด็จขึ้นทอดพระเนตรวัดเขาแก้ว ทรงเลื่อมใสในภูมิฐานของวัด ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาเล็กๆ แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่งดงามเป็นที่สงบเหมาะสำหรับการบำเพ็ญสมณธรรม พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะ บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) เป็นแม่กอง ควบคุมการก่อสร้าง เจ้าพระยานิกรบดินทร์ได้จัดพวกนายกองโค พากันไปรับไม้เครื่องบนและสิ่งก่อสร้างจาก กรุงเทพฯ […]

Read More