Category: เที่ยวในประเทศไทย

สวนสาธารณะสันติชัยปราการ(สวนสันติชัยปราการ)

สวนสาธารณะสันติชัยปราการ(สวนสันติชัยปราการ) ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนพระอาทิตย์ ต่อกับถนนพระสุเมรุ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพ เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนเมือง สร้างบนพื้นที่ประมาณ 8 ไร่เศษ บริเวณโดยรอบป้อมพระสุเมรุ ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่วงปลายถนนพระอาทิตย์ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาตรงปากคลองบางลำพู สวนแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยภายในบริเวณสวนมี พระที่นั่งสันติชัยปราการ ที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติมาประดับไว้ พร้อมกับท่ารับเสด็จขึ้นลงเรือพระที่นั่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่จัดพระราชประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยา สวนแห่งนี้มีทัศนียภาพของคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงามมาก นับเป็นสวนสาธารณะเพียงไม่กี่แห่งของกรุงเทพมหานคร ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมบรรยากาศริมแม่น้ำ และสามารถชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินได้อย่างชัดเจน สวนสาธารณะสันติชัยปราการ นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์และโบราณสถาน นับเป็นนันทนสถานเอนกประสงค์ที่ได้ประโยชน์ใช้สอยทั้งด้านการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา และการอนุรักษ์ (ป้อมพระสุเมรุ) พื้นที่โดยรอยได้รับการออกแบบให้สามารถใช้เป็นที่ออกกำลังกายได้หลายประเภท เช่น การเต้นแอโรบิค รำมวยจีน สามารถเป็นสถานที่จัดงานของท้องถิ่นและรัฐบาล เช่น พิธีต้อนรับแขกจากต่างประเทศ รวมทั้งด้านวัฒนธรรม เช่น พิธีลอยกระทง สงกรานต์ เป็นต้น นอกจากตัวป้อมพระสุเมรุแล้ว ในบริเวณสวนแห่งนี้ยังมี “ต้นลำพู” ดั้งเดิมอันเป็นที่มาของชื่อ […]

Read More

สยามโอเชี่ยนเวิร์ล

สยามโอเชี่ยนเวิร์ล  เป็นอุทยานสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของสยามพารากอน ศูนย์การค้าชื่อดังที่เป็นทั้งแหล่งช้อปปิ้งและความบันเทิงอย่างเต็มรูปแบบ ที่นี่คุณจะได้สัมผัสความน่ารัก และสวยงามของโลกใต้ทะเลอย่างใกล้ชิด เปิดโลกกว้างให้คุณได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์จริงเกี่ยวกับชีวิตใต้น้ำ ตื่นตาตื่นใจไปกับอาณาจักรใต้ทะเลอันน่ามหัศจรรย์ ผจญภัยไปกับกิจกรรมสนุกสนานที่ตื่นเต้น เร้าใจ ให้ทั้งความรู้ ประสบการณ์แปลกใหม่และความสนุกสนานท้าทายกับการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย พลาดไม่ได้เลยค่ะ อุทยานสัตว์น้ำแห่งนี้มีความกว้างใหญ่เป็นอย่างมาก ด้วยเนื้อที่กว่า 10,000 ตารางเมตรและจุน้ำได้ถึง 4 ล้านลิตร ภายในอุทยานจะมีการจัดแสดงสัตว์น้ำ แบ่งเป็นโซนๆดังนี้ค่ะ โซนแรก “โซนแปลกประหลาดและอัศจรรย์เกินคาด” ในบริเวณนี้ นักท่องเที่ยวจะได้พบกับสิ่งมีชีวิตแปลกๆที่ไม่เคยพบ ไม่เคยเห็นมาก่อนมากมาย โซนที่ 2 “โซนแนวปะการัง” บริเวณนี้ ผู้ชมจะได้เห็นว่ามีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้างที่อาศัยบริเวณแนวปะการัง ทั้งนี้ โซนนี้จะมีการจัดแสดงในแทงก์ขนาดใหญ่ ที่มีความสูงถึง 8 เมตร โซนที่ 3 “โซนกฎเหล็กเพื่อการอยู่รอด” บริเวณนี้ผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรูและสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถมีชีวิตรอดต่อไปได้ โซนที่ 4 “โซนป่าดิบชื้น” บริเวณนี้นอกจากจะแสดงป่าดิบชื้นแบบเสมือนจริง จนทำให้คนดูรู้สึกเหมือนอยู่ในป่าจริงๆแล้ว ยังสามารถเข้าชมการจัดแสดงปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้อีกด้วย โซนที่ 5 “โซนชีวิตสุดขอบขั้ว” บริเวณนี้จะได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณผืนดินและผืนน้ำมาบรรจบกัน อย่างเพนกวิน และสามารถสัมผัสดาวทะเลได้ด้วย โซนที่ 6 “โซนมหาสมุทรสุดกว้าง” บริเวณนี้จะได้พบกับมหาสมุทรอันกว้างใหญ่เสมือนจริง ภายใต้อุโมงค์ใสใต้น้ำ […]

Read More

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม)

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม) มาที่นี่แล้วเราจะได้รู้ว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่สถานที่เฉพาะเด็กๆเท่านั้นค่ะ เพราะที่นี่เป็นพิพิธภัณฑสถานแนวใหม่ในยุคแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการชมพิพิธภัณฑ์ ที่เน้นกระตุกต่อมคิด จุดประกายความอยากรู้สู่การค้นพบความคิดใหม่ๆ ด้วยตนเองตลอดเวลา เพื่อการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบค่ะ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม) ตั้งอยู่ที่ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ (กระทรวงพาณิชย์เดิม ตรงข้ามโรงเรียนวัดราชบพิธ) เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในมิวเซียมสยามนี้ แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงาม การจัดแสดง การจัดพื้นที่ภายในแบ่งเป็นเนื้อหาย่อย 17 ธีม ในรูปแบบ “เรียงความประเทศไทย” ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ได้แก่ 1.เบิกโรง (Immersive […]

Read More

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น ประวัติความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 6:54 นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า 5 เมตร […]

Read More

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ […]

Read More

วัดโสมนัสวรวิหาร

วัดโสมนัสวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 646 ถนนกรุงเกษม แขวงโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร อยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษมด้านตลาดนางเลิ้ง สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามหลวงริมคูเหมือนกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2396 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีพระบรมราชเทวี และทรงพระราชทานให้เป็นพระอารามฝ่ายธรรมยุต พระวิหาร พระวิหารคตและเจดีย์สร้างเชื่อมต่อกันโดยมีพระวิหารเป็นอาคารทรงไทยอยู่ด้านหน้า มีระเบียง 3 ด้าน หอระฆังและหอกลองสร้างเป็นหอกลมหลังคาแบบจีนหน้าต่างเจาะเป็นช่องกลมซึ่งแตกต่างจากวัดอื่นๆ และที่สำคัญอักอย่างหนึ่ง คือ วัดนี้จะมีสีมา 2 ชั้น ซึ่งในกรุงเทพฯ จะมีวัดที่มีสีมาลักษณะนี้อีกหนึ่งวัด คือ วัดมกุฎกษัตริยาราม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถ มีหน้าบันเป็นศิลปะไทยกับจีนผสมกัน ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 4 มีภาพชุดปริศนาธรรม ภาพพุทธประวัติ ภาพพระเถระสำคัญยืนเพ่งซากศพ บนบานประตูหน้าต่างมีภาพแก้วเจ็ดประการและอื่น ๆ แม้ตามกุฏิก็มีภาพเขียนกระจกแบบจีน เหล่านี้ล้วนแล้วแต่น่าชมทั้งสิ้น พระวิหาร พระวิหารคดและพระเจดีย์สร้างต่อเนื่องกันเป็นกลุ่มเดียว โดยให้พระวิหารคดต่อจากด้านหลังพระวิหารโอบรอบพระเจดีย์ไว้ มีพระพุทธรูปยืนปางต่าง ๆ รวม 96 องค์ ประดิษฐานอยู่ในระเบียงพระวิหารคด หน้าบันพระวิหารประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีและสีทองเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ในรัชกาลที่ […]

Read More

วัดสุทัศน์เทพวราราม

วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่146 ถนนตีทอง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิง เป็นศรีสง่าแก่พระนคร ได้พระราชทานนามไว้ว่า วัดมหาสุทธาวาส จากนั้นทรงอัญเชิญพระพุทธรูปโลหะปางมารวิชัย ซึ่งหล่อขึ้นตั้งแต่สมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ที่เรียกกันว่า พระโต หรือ พระใหญ่ จากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ แต่สร้างยังมิทันสำเร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงดำเนินงานต่อ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระอุโบสถและหล่อพระประธานขึ้นใหม่ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดสุทัศนเทพวราราม จากเดิมที่เรียกกันว่า วัดพระโต สร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงถวายพระนาม พระโต ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารว่า พระพุทธศรีศากยมุนี และพระประธานในพระอุโบสถว่า พระพุทธตรีโลกเชฏฐ์ ที่วัดสุทัศนเทพวรารามไม่มีเจดีย์เหมือนวัดอื่นๆ เพราะมีสัตตมหาสถานเป็นอุเทสิกเจดีย์ (ต้นไม้สำคัญในพุทธศาสนา 7 ชนิด) แทนที่อยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด  พระอุโบสถ ของวัดสุทัศน์ฯ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หันหน้าไปด้านทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐานไพที 2 ชั้น หลังคาทรงไทยโบราณ 4 ชั้น 3 ลด […]

Read More

วัดราชบูรณะวรวิหาร

วัดราชบุรณราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 119 อยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ระหว่างถนนจักรเพชรกับถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดเก่าแก่ เดิมชื่อ “วัดเลียบ” ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์ พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า “วัดราชบุรณะ” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระวิหารคดเป็นที่ประดิษฐานพระระเบียง 162 องค์ (นำมาจากหัวเมืองต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1) รอบพระอุโบสถ และทรงสร้างพระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมด้วยอสีติมหาสาวกจำนวน 80 องค์ ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระพุทธปรางค์ ซึ่งไม่ได้รับอันตรายจากภัยสงคราม ได้แต่ชำรุดทรุดโทรม มาบูรณธเอาใน พ.ศ.2502 นอกจากนั้นยังได้รับการปฏิสังขรณ์อีกในสมัยรัชกาลที่ 4 […]

Read More

วัดราชนัดดารามวรวิหาร

วัดราชนัดดารามวรวิหาร หรือ “วัดราชนัดดา” ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถ.มหาไชย แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ใกล้กับป้อมมหากาฬ ติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นพลับพลารับแขกเมือง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ใกล้กับวัดเทพธิดาราม ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 วัดราชนัดดารามวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2389ตรงกับปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บนสวนผลไม้เก่าเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ พระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี สำหรับสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในวัดราชนัดดารามนี้ก็ยังเป็นแบบไทย พระอุโบสถเป็นมีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานพระนามว่า “พระเสฏฐตมมุนี” ส่วนพระวิหารก็เป็นศิลปะแบบไทยเช่นกัน ภายในมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นประธาน พระนามว่า “พระพุทธชุติธรรมนราสพ” สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด โลหะปราสาท พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาท แทนการสร้างเจดีย์ นับเป็นโลหะปราสาทแห่งแรกของไทย โดยสร้างเป็นอาคาร 7 ชั้น มียอดปราสาท 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรมในพระพุทธศาสนา 37 […]

Read More

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) ตั้งอยู่บนถนนหน้าพระลาน กรุงเทพมหานคร ใกล้ๆ กับท้องสนามหลวงและแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทน์ และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระแก้วมรกต เป็นพระประทับนั่งอย่างสมาธิราบในสกุลช่างล้านนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งแกะสลักมาจากหยกสีเขียว เข้มที่มีค่าและหายากมาก พระแก้วมรกตจะมีเครื่องทรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู ซึ่งเครื่องทรงเหล่านี้ทำด้วย ทองคำประดับเพชรและสิ่งมีค่าชนิดต่าง ๆ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งของ พระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบันที่จะต้องเสด็จ ฯ ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูด้วยตนเองซึ่งกำหนดวันเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตมีดังนี้ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูฝน วันแรม […]

Read More