Category: นนทบุรี

วัดอัมพวัน

วัดอัมพวัน เดิมชื่อ วัดบางม่วง ตั้งอยู่ที่ต.บางด้วน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี เป็นวัดสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายประมาณรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ประมาณ พ.ศ.2175 ตั้งอยู่ริมคลองแม่น้ำอ้อม การตั้งชื่อวัดแห่งนี้สันนิษฐานว่า ตั้งตามชื่อสภาพการทำสวน “มะม่วง” ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่พื้นที่โดยรอบวัด ทั้งนี้คำว่า อัมพวัน หรือ อัมพวาน หมายถึง ป่า หรือสวนมะม่วง โดยในสมัยพุทธกาล สวนอัมพวันตั้งอยู่ระหว่างกำแพงกรุงราชคฤห์กับภูเขาคิชฌกูฏ แต่เดิมเป็นของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ครั้งหนึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์เคยถวายการรักษาอาการประชวรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงอาพาธให้หายเห็นปกติ แล้วถวายผ้าเนื้อดีจากแคว้นสีพีคู่หนึ่ง พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา ทันทีที่ทรงอนุโมทนาจบลงหมอชีวกโกมารภัจจ์ก็บรรลุโสดาปัตติผล ปัจจุบันในประเทศไทยมีวัดที่ใช้ชื่อว่า “วัดอัมพวัน” มีอยู่เกือบ 30 แห่ง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด หอไตรกลางน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นเรือนไม้ตั้งอยู่ในสระน้ำขนาดเล็ก ตัวหอเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างโล่งไม่มีพื้นและฝา ชั้นบนเป็นตัวหอขนาด 2 ห้อง ช่วงล่างเป็นลูกฟักกระดานดุน ตอนบนเป็นซี่ลูกกรงไม้กลึงเสากรอบประตูเป็นเสาหัวเม็ด ประตูหูข้าง เครื่องลำยองเป็นไม้จำหลัก หลังคาซ้อน 2 ชั้น มีปีกนก 1 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาใต้เชิงชาย และหน้าบันประดับไม้สลักลายรดน้ำ ฝาผนังด้านนอกทาสีลูกฟักด้วยสีแดง […]

Read More

วัดสวนแก้ว

วัดสวนแก้ว ตั้งอยู่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 55/1 หมู่ที่ 1 ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แต่เดิมวัดนี้ชื่อ “วัดแก้ว” เป็นวัดร้างมา 80 ปี จนกระทั่งหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และพระภิกษุอีก 3-4 รูป ได้เข้ามาพำนักแต่พื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยสวนต่างๆ หลวงพ่อไม่สามารถจะบูรณะได้ เพราะขาดบุคลากร ที่จะช่วย พัฒนา เมื่อปี พ.ศ. 2521 พระพยอม กัลยาโณ และเพื่อนพระภิกษุอีก 2 รูปได้เดินทางมาจากวัดสวนโมกขพลาราม เพื่อขอทำโครงการบวชเณร ภาคฤดูร้อนที่วัดแห่งนี้ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2522 หลวงพ่อได้มอบหมายให้พระพยอมและเพื่อนพระภิกษุ เป็นผู้ดูแลรักษาวัดเนื่องด้วยหลวงพ่อ เทียนนั้นดำริจะเดินทางกลับจังหวัดเลย ต่อมาภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดสวนแก้ว” และได้จัดตั้ง “มูลนิธิสวนแก้ว” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ หลัก 3 ประการ คือ – เพื่อเผยแผ่ศีลธรรมในศาสนา – เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจแก่ผู้กระทำความดี – และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนดีมีสัมมาชีพ […]

Read More

วัดไผ่ล้อม

วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่บนเกาะเกร็ด ด้านทิศเหนือของเกาะเกร็ด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์รูปทรงคล้ายมะเฟือง ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น คนมอญเรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะโต้” ประวัติความเป็นมา วัดไผ่ล้อม เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อาจจะเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งบนเกาะเกร็ด แต่ได้เป็นวัดร้างไปตั้งแต่ พ.ศ. 2308 เพราพม่าเข้าตีและยึดเมืองนนทบุรี จากนั้นเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้เมื่อ พ.ศ. 2310 จึงไม่มีพระสงฆ์และชาวบ้านดูแลวัด พ.ศ. 2317 ได้มีคนมอญมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ วัดไผ่ล้อมถึงมีพระสงฆ์อยู่ประจำวัดสืบมา แต่วัดคงมีสภาพทรุดโทรมมากเพราะมีชาวบ้านไม่มาก ประกอบกับวัดถูกทิ้งร้างมานาน ต่อมาอำแดงแตนได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ อุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2446 ที่ตั้งวัดไผ่ล้อมอยู่กลางระหว่าง วัดมอญอีก 2 วัด คือวัดปรมัยยิกาวาสและวัดเสาธงทอง คนมอญจึงเรียกวัดไผ่ล้อมในภาษามอญว่า เภี่ยะโต้ แปลว่าวัดกลาง การตั้งอยู่ระหว่างวัดดังที่กล่าว ประกอบกับมีชุมชนใกล้วัดจนเกือบจะเป็นวัดร้าง พ.ศ. […]

Read More

วัดปราสาท

วัดปราสาท ตั้งอยู่เลขที่ 18 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หน้าบันพระอุโบสถเป็นไม้สักสลักรูปนารายณ์ทรงครุฑ (ปัจจุบันตัวครุฑถูกขโมยไปแล้ว) เครื่องบนเป็นไม้สักประดับด้วยรวยมอญ (ตัวไม้แกะสลักที่ทอดตัวลงมาบนหัวแปตอนหน้าจั่ว เป็นศิลปะมอญ) ตรงหุ่นนก (สามเหลี่ยม ข้างรวยมอญ) เป็นรูปราชสีห์และคชสีห์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นโบสถ์แบบมหาอุดไม่มีการเจาะฝาผนังเลย ฐานพระอุโบสถเป็นแบบตกท้องช้างหรือท้องสำเภา (การสร้างโบสถ์แบบตกท้องช้างนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางสถาปัตยกรรม คือเมื่ออากาศร้อน ความร้อนจะลอยตัวขึ้นสูงอากาศเย็นจะพัดเข้าแทนที่ได้สะดวก) ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานและพระสาวก มีภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยฝีมือของสกุลช่างชั้นสูงนนทบุรี เรียกว่าทศชาติชาดก นับว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดนนทบุรี ถือว่าวัดนี้เป็นวัดหนึ่ง ที่ดำเนินการอนุรักษ์โบสถ์และศิลปกรรมได้อย่างถูกวิธี จึงทำให้เป็นแหล่งวิทยาการที่น่าสนใจยิ่งของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ บนศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์ที่มีอายุเก่าแก่พอกับโบสถ์ ประดับลวดลายตกแต่งอย่างสวยงาม วัดนี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดที่มีการอนุรักษ์ศิลปกรรมได้อย่างถูกต้อง เป็นที่เชิดหน้าชูตา [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนนทบุรี (02) 589 5479 สำนักงาน ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร (02) 250 5500 สำนักงานขนส่งจังหวัด (02) 591 4079 สำนักงานจังหวัด (02) 528 4700 สถานีตำรวจภูธร […]

Read More

วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร

วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง” ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพญาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา” สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ศาลาเปรียญทรงมอญ ยกพื้นสูงจากดิน 2 ศอก ไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องดินเผาขนาดกว้างยาวเท่าไรหาหลักฐานไม่พบ […]

Read More

วัดตำหนักใต้

วัดตำหนักใต้ ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง นนทบุรี ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นคนสร้างและสร้างมาแต่สมัยใด ทราบแต่เพียงว่า แต่เดิมวัดนี้เรียกกันว่า”วัดตำหนัก”จนกระทั่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจราชการคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. 2464 ทรงเห็นว่าวัดต่างๆ มีชื่อซ้ำกันหลายวัดจึงทำให้เติมชื่อว่าเหนือ และใต้ต่อท้าย จากชื่อวัดตามทิศที่ตั้ง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถหลังใหม่ ที่สร้างขึ้นโดยนำเอาหน้าบาน และประตูหน้าต่าง รวมถึงเพดานของพระอุโบสถหลังเก่ามาใช้ หน้าบันนั้นเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปนกประดับด้วยพุดตานเทศ มีรูปช้างทรงเครื่อง ยืนอยู่เหนือเมฆตรงกลางลายกระหนกอันวิจิตร วิหารเก่าแก่ มีหน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปกระหนกดอกจอก มีรูปม้าทรงเครื่องอยู่ภายในกระหนก ซุ้มบานประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลายดอกไม้ปูนปั้นยังคงเหลืออยู่บ้างบางส่วนบานประตูและบานหน้าต่าง เขียนลายทองรดน้ำ หอระฆัง 2 ชั้น หลังคาทำเป็นรูปปรางค์ลึกเข้าไปด้านในของวัดเป็นกุฎิสงฆ์ที่ตั้งเรียงรายสวยงาม อย่างไรก็ตามจากประวัติได้กล่าวว่า ก่อนที่จะสร้างวัดในพื้นที่นี้เคยสร้างเป็นพลับพลาที่ประทับชั่วคราวของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และจากหลักฐานที่คงเหลือยังสันนิษฐานว่า วิหาร และหอระฆังสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2367 ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ฝาผนังภายในมีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระพุทธประวัติตามบานประตู และหน้าต่าง ลงรักปิดทองเขียนด้วยลายไทยอย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมีพระประธานปางมารวิชัยสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถวิหาร ศาลาวัดต่าง ๆ […]

Read More

วัดโชติการาม(สามจีน)

วัดโชติการาม(สามจีน) ตั้งอยู่ที่ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เดิมชื่อว่า “วัดสามจีน” เพราะสร้างโดยพี่น้องชาวจีน 3 คน ในปี 2350 ต่อมาเจ้าพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเป็นผู้ทำการบูรณะและก่อสร้าง ได้รับพระราชมานวิสุงคามสีมา เมื่อ 5 ธันวาคม 2460 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถ สร้างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนไปถึงอกไก่ ไม่มีช่อฟ้าใบระกา บางทีอาคารชนิดนี้เรียกว่า “ตึกทรงวิลันดา” ด้านหน้ามีพาไลยื่นออกมา หน้าบันด้านหน้าปั้นเป็นรูปภูริทัตชาดก (บำเพ็ญศีลบารมี) ท่ามกลางลายปูนปั้นต้นไม้ ดอกไม้ ประดับด้วยเครื่องชาม รวมทั้งซุ้มจระนำก็ประดับถ้วยชามด้วยเช่นกัน น่าจะเป็นแบบพระราชนิยมที่ทำกันในสมัยรัชกาลที่3 เจดีย์องค์กลางระหว่างโบสถ์กับวิหาร เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ตั้งแต่องค์ระฆังขึ้นไปประดับกระเบื้องสีเหลือง ยอดเป็นบัวคลุ่ม ทรวดทรงงดงาม คล้ายเจดีย์สี่รัชกาลที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน วิหาร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีปรางค์ขนาดเล็กที่มุมกำแพงแก้วทั้งสี่ วิหารนี้มีการก่อสร้างมุขหน้า – มุขหลังใหม่ ประตูด้านหน้าวิหารสลักเป็นภาพทวารบาลอย่างจีน คล้ายกับที่วัดนางชี ฝั่งธนฯ ส่วนด้านหลังบานประตู หน้าต่าง เขียนเป็นภาพแจกันทรงสูง ใส่ดอกไม้อย่างเครื่องบูชาแบบจีน ภายในพระวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม แต่ยังเห็นเค้าความงามและฝีมือช่างในยุตนั้น โดยจิตรกรรมด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นเรื่องสัตตมหาสถาน ส่วนตอนบนเขียนมารผจญ […]

Read More

วัดชลประทานรังสฤษฏ์

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 เมื่อ ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ไปเยี่ยมชมวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ฟังการแสดงธรรมของพระปัญญานันทภิกขุ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดอุโมงค์ในขณะนั้น และเลื่อมใสวิธีการสอนธรรมะแนวใหม่ของท่าน จากเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรม แบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก กรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ “วัดชลประทานรังสฤษดิ์” และได้อาราธนาพระปัญญานันทภิกขุ เป็นเจ้าอาวาสใน พ.ศ. 2503 ปัจจุบัน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ มีบรรยากาศร่มรื่นทั่วบริเวณวัด มีกิจกรรมทุกเช้าวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9.00 น. โดยมีการสวดมนต์ บรรยายปาฐกถาธรรม และถวายเพลพระสงฆ์ ที่ลานหินโค้ง ท่านปัญญานันทภิกขุ ได้แต่งหนังสือชื่อ “ชีวิตกับความตาย: ท่านได้อะไรเมื่อไปงานศพ” การจัดงานฌาปนกิจศพที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จะเป็นไปอย่างเรียบง่ายต่างจากที่อื่นๆ มีเพียงการบรรยายธรรม ไม่มีการเลี้ยงอาหาร การแสดงมหรสพ และงดพวงหรีด จุดเด่นของที่นี่ คือ […]

Read More

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

วัดเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 3 ถนนท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ดอนพรหม ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี วัดแห่งนี้เป็นพระอารามหลวง ที่มีความสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง มาร่วม 135 ปีแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ทำการสร้างขึ้น และพระราชทานนามว่า “วัดเฉลิมพระเกียรติ” แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงแก้ว และป้อมปราการทั้งสี่มุมดูสง่างดงาม เพราะในอดีตพื้นที่นี้เคยเป็นที่ตั้งของป้อมปราการเก่าแก่มาก่อน ประวัติความเป็นมา มูลเหตุแห่งการสร้างวัดเริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลา ไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิมแห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระ บรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย […]

Read More

เกาะเกร็ด

เกาะเกร็ด เกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” ในจังหวัดนนทบุรี (คลองลัดเกร็ดใหญ่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก) ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้น เซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ชื่อเดิมเรียกว่า “เกาะศาลากุน” “เกาะเกร็ด” มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากวัดวาอารามต่างๆ บนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยศรีอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยา หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ โดยชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้น มีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้ว “เกาะศาลากุน” จึงมีฐานะเป็นตำบล และเรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงมีชื่อว่า “เกาะเกร็ด” สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนเกาะเกร็ด วัดปรมัยยิกาวาส ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอด ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาส ตั้งตระหง่านอยู่ ส่วนพระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้น พระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบัน ที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษา พระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 […]

Read More