Month: January 2015

ปราสาทตาเมือนโต๊ด

ปราสาทตาเมือนโต๊ด ไปเที่ยวชมโบราณสถาน อโรคยาศาลของผู้คนสมัยโบราณกันค่ะ ปราสาทตาเมือนโต๊ด ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง  อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดกลางในกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา ปราสาทตาเมือน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าคือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมายปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้อยยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 2-3 ชิ้น ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นอโรคยาศาล(โรงพยาบาลในสมัยนั้น)  สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18  ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ผู้คนที่ใช้เส้นทางผ่านช่องเขา และเป็นอโรคยศาลาที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดที่พบในประเทศไทย ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่อโรคยาศาลแห่งอื่น […]

Read More

ปราสาทตาเมือน(บายกรีม)

ปราสาทตาเมือน(บายกรีม) ตั้งอยู่ใน ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ติดกับชายแดนไทย – กัมพูชา บนพื้นที่บ้านหนองคันนาสามัคคี ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทตาเมือน(บายกรีม)ตั้งอยู่ใกล้กับปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นปราสาทขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน(บายกรีม) ปราสาทตาเมือน เป็นปราสาทขนาดเล็ก ศิลปะขอมแบบบายน สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อเป็น ธรรมศาลา หรือที่พักสำหรับผู้คนที่เดินทางผ่านช่องเขาสู่เมืองพระนครของขอม ปราสาทก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีผังเป็รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะเป็นห้องยาว หันหน้าสู่ทิศตะวันออก มีมุขยื่นด้านหน้า ผนังด้านทิศเหนือปิดทึบ ผนังด้านทิศใต้มีช่องหน้าต่าง เหนือประตูทางเข้ามีทับหลังภาพพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับเหนือหน้ากาลด้านข้างเป็นรูปบุคคลพนมมือไหว้ กรอบประตูประดับด้วยหินทรายขาวแกะลวดลาย นับเป็นธรรมศาลาที่มีความสมบูรณ์ที่สุดที่พบในประเทศไท [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ (044) 512 039 ตำรวจท่องเที่ยว 1155 ตำรวจทางหลวง (045) 515 388 ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต […]

Read More

ปราสาทตะเปียงเตีย

ปราสาทตะเปียงเตีย หรือ ปราสาทตระเปียงเตีย ตั้งอยู่ในวัดปราสาทเทพนิมิต หมู่ที่ 3 บ้านยะสุข ที่บ้านหนองเกาะ ตำบลตะเปียงเตีย อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ตัวปราสาทมีลักษณะเป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 4 ชั้น ส่วนยอดทำเป็นรูปดอกบัวตูม มียอดปราสาท 5 ยอด เมื่อพิจารณาจากลัษณะสถาปัตยกรรม พบว่าเป็นแบบลาวร่วมสมัยกับอยุธยาตอนปลาย หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตระเปียงเตีย เป็นภาษาเขมรท้องถิ่น คำว่า “ตระเปียง” แปลว่าบ่อ สระ หนอง หรือหลุมที่มนุษย์ขุดขึ้น หรืออาจจะหมายถึงบารายที่ปราสาทขอมทุกแห่งมักจะมี หรืออาจจะเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนคำว่า “เตีย” หมายถึง เป็ด แปลรวมกันได้ความว่า ตระเปียงเตีย แปลว่า หนองเป็ด ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอดีตบริเวณดังกล่าวมีนกเป็ดน้ำอพยพย้ายถิ่นมาอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวก็เป็นได้ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีอาคารสำหรับผู้ต้องการเลิกเหล้า ซึ่งวัดนี้มีชื่อเสียงในการบำบัดรักษาผู้ต้องการเลิกดื่มเหล้า ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ไปรักษามากกว่าหนึ่งหมื่นคน [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ (044) 512 039 ตำรวจท่องเที่ยว 1155 ตำรวจทางหลวง (045) 515 […]

Read More

ตลาดการค้าช่องจอม

ตลาดการค้าช่องจอม ไปเดินช็อปของถูก ซึ่งมีทั้งราคาปลีกและส่งกันค่ะ ตลาดการค้าช่องจอม ตั้งอยู่ที่บ้านด่านพัฒนา หมู่ 1 และ 14 ตำบลด่าน เดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายห้วยทับทัน-ห้วยสำราญและประกาศเป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2538 ฝั่งตรงข้ามฝั่งกัมพูชาเป็นชุมชนโอร์เสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย ช่องจอมเป็นเส้นทางข้ามแดนที่ใหญ่ และสะดวกที่สุดของจังหวัดสุรินทร์ที่จะไปยังประเทศกัมพูชา ทำให้มีการติดต่อสัญจรไปมา และซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาวไทย และ กัมพูชามาเป็นเวลาช้านาน และเป็นที่มาของแนวความคิด ในการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศค่ะ ส่วนสินค้าที่จำหน่ายมีทั้งสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เครื่องอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า เครื่องประดับ และสิ่งประดิษฐ์จากไม้ เช่น ม้านั่ง หัตถกรรมไม้ เสื่อสานไม้ไผ่ ตะกร้าสานต่างๆ ช่วงเวลาที่เปิดให้เที่ยวชม ตลาดแห่งนี้เปิดทำการค้าขายทุกวันเวลา 8.00-16.00 น. (อนุญาตให้ข้ามแดนเฉพาะคนไทยเท่านั้น) [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ (044) 512 039 ตำรวจท่องเที่ยว 1155 ตำรวจทางหลวง (045) 515 388 ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 […]

Read More

กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค

กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค ไปเดินเพลินๆ ช็อปปิ้งสินค้าเครื่องเงิน ซึ่งมีให้เลือกมากมายทั้งเครื่องประดับและของใช้กันค่ะ กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค ตั้งอยู่ที่บ้านโชค ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ สุรินทร์  “กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค” สร้างความโดดเด่นในเรื่องคงเอกลักษณ์ กรรมวิธีโบราณผสานกับการทำประเกือม หรือ ประคำในภาษากลาง ด้วยวัตถุดิบเงิน 60% มีการประดิษฐ์ลวดลายต่างๆอย่างประณีตจำนวน 13 ลาย คือ ขจร มะลิ ดอกปลึด 3 ชั้น เอกปลึด ตังโอ๋ ตังโอ 3 ชั้นระเวยิ่ง ทานตะวัน รวงผึ้ง รังแตน รำหอกโปรง และลายรำหอก ซึ่งทำยากที่สุด เนื่องจากเป็นลายที่มีความสลับซับซ้อนและมีราคาสูง ในขณะที่ลายไข่แมงดารับสั่งทำบ่อยที่สุด เพราะลวดลายสวย ด้านช่องทางจัดจำหน่าย นอกจากจะมีผู้ซื้อเดินทางมาในหมู่บ้านแล้ว ยังมีตัวแทนรับไปขายตามร้านจิวเวลลี่ ช่วงแรกได้รับความนิยมสูงเมื่อปี 2528 ทำให้ขายดีมาตลอด และยอมรับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ราว 270 ปีเศษ ประชาชนชาวเขมรกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีสงครามออกมาจากกรุงพนมเปญ ข้ามภูเขาบรรทัดมาตั้งภูมิลำเนาให้มั่นคงถาวร… “โคกเมือง” หรือเรียกว่า” ผไทสมันท์” ซึ่งเป็นเมืองร้างแต่มีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ […]

Read More

เที่ยว สุรินทร์

สุรินทร์ “สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” เทศกาล/ประเพณี งานเทศกาลแห่เทียนพรรษา 85 ไอยรา เทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงวันเข้าพรรษาหรือช่วงเดือนกรกฎาคม ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดและอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) อ.เมือง งานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน ณ สนามกีฬาศรีณรงค์ อ.เมือง เทศกาลงานปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิ และงานกาชาด จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธันวาคม บริเวณสนามที่ว่าการอำเภอชุมพลบุรี การเดินทาง รถทัวร์ จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีรถเที่ยวเวลา 07:00-23:00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ 270-550 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1490 รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มี 9 ขบวน/วัน เวลา 05:45-22:25 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 […]

Read More

อุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ

อุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ ไปเที่ยวชมอุทยานบัวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยกันค่ะ อุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ หรือ “หนองหารน้อย” หรือ “อุทยานบัว” ตั้งอยู่เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร บนถนนสายสกลนคร-นครพนม อยู่ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และใช้เป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยด้านพันธุ์ไม้น้ำจืด โดยเฉพาะ “บัว” ที่มีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2553 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมบัวพันธุ์ต่างๆ และรองรับการประชุมวิชาการบัวนานาชาติปี พ.ศ.2553 ที่จัดขึ้นที่วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ของนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสกลนครอีกด้วยค่ะ ปัจจุบันอุทยานบัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1.ส่วนรวบรวมพันธุ์บัว เป็นการรวบรวมพันธุ์บัวทั้งในและต่างประเทศทั้งหมด 34 สายพันธุ์ เช่น บัวกระด้ง บัวสาย บัวผัน-เผื่อน และบัวฝรั่ง รวบรวมไว้ในรูปแบบสระบัวบนพื้นที่ 10 ไร่ โดยมีทางเดินที่สามารถเดินลงไปชมบัวได้ อย่างใกล้ชิด 2.ส่วนแสดงพันธุ์บัว โดยนำบัวพันธุ์จำนวน […]

Read More

หมู่บ้านท่าแร่

หมู่บ้านท่าแร่ ไปชมตึกและสิ่งก่อสร้างโบราณทรงยุโรปในหมู่บ้านคาทอลิกกันค่ะ หมู่บ้านท่าแร่ ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าแร่ อ.เมือง จ.สกลนคร เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่สุดในประเทศไทยค่ะ เป็นชุมชนที่เก่าแก่มีอายุกว่า 100 ปี ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนนับถือศานาคริสต์ ในอดีตประมาณปี พ.ศ.2427 ประชากรชาวท่าแร่เป็นคริตชน อพยพมาจากประเทศเวียตนามประมาณ 40 คน อาศัยอยู่ในตัวเมืองสกลนคร และมีบาทหลวงเกโก(มิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศส) เป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ แต่เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขี้น กอปรกับมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน จึงได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านท่าแร่ ซี่งเต็มไปด้วยป่าไม้ มีหินลูกรังทั่วไป และคนพื้นเมืองเรียก “หินแฮ่” สำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวภายในหมู่บ้านท่าแร่นั้น นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้พบกับความสวยงามของบ้านโบราณอายุมากกว่า 100 ปี และยังเป็นที่ตั้งของอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง หรือสำนักมิสซังท่าแร่ฯ หมู่บ้านนี้มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก โดยอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นแบบตึกปูนทรงยุโรปในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสผสมเวียดนาม อาคารแต่ละหวังถูกสร้างขึ้นด้วยการใช้ภูมิปัญญาช่างและประสบการณ์การก่อสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูนไม่มีช่างใดทำได้และไม่ค่อยพบเห็นที่ไหนอีกด้วย ปัจจุบันอาคารบ้านเรือนเกือบทุกหลังยังใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ และในตึกแต่ละหลังจะมีแท่นแม่พระทุกบ้านเพราะมีความเชื่อในแม่พระ นอกจากนี้ทางตอนท้ายของหมู่บ้านยังมีตึกร้างก่อด้วยอิฐฉาบปูน มีต้นโพธิ์ขึ้นปกคลุมอยู่ ตึกหลังนี้มีอายุประมาณ 90 – 100 ปี เป็นบ้านของนายหนูกัน และนางหนูนา โง่นคำ เป็นมรดกขององเฮียน แต่เดิมสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามอินโดจีน) ทางราชการสั่งปิดโบสถ์ไม่ให้ใช้ประกอบพิธีใดๆในทางศาสนา ด้วยเหตุนี้ชาวคริสต์จึงต้องหาสถานที่แห่งใหม่เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น […]

Read More