วัดพลับพลาชัย

วัดพลับพลาชัย ตั้งอยู่เลขที่ 106 ถนนดำเนินเกษม ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี วัดพลับพลาชัย ตั้งอยู่กลางเมืองเพชรบุรี เป็นวัดเก่าแก่ มีถนนดำเนินเกษมผ่านกลางวัด ทำให้เขตจาระของวัดแยกออกเป็นเขตพุทธวาสและเขตสังฆ์วาส จากประวัดความเป็นมา วัดนี้เคยเป็นแหล่งรวมความเป็นเลิศในสรรพวิทยาการ วิทยาคุณ มีผลงานทางศิลปะการช่าง เช่น อุโบสถ ซึ่งมีรูปทรงการแกะสลักลวดลายอันวิจิตบรรจง โดยเฉพาะบริเวณหน้าบันบานประตู บานหน้าต่าง และเสนาสนะอื่นๆ การแกะสลักหนังชุดต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากวัดเคยถูกไฟไหม้ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2458 จนไม่เหลือถาวรวัตถุหลงเหลืออยู่ นอกจากวิหารเพียงหลังเดียว  พระอุโบสถภายในวัดมีรูปทรงการแกะสลักลวดลายอันวิจิตรบรรจง โดยเฉพาะบริเวณหน้าบันบานประตู บานหน้าต่าง และเสนาสนะอื่น ๆ การแกะสลักหนังชุดต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากวัดเคยถูกไฟไหม้ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2458 จนไม่เหลือถาวรวัตถุหลงเหลืออยู่ นอกจากวิหารเพียงหลังเดียว

ประวัติความเป็นมา

วัดพลับพลาชัยสร้างขึ้นในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ราว พ.ศ.2229 – 2310 ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยบรรดาขุนนางพ่อค้าคหบดีและประชาชน รวมทุนกันสร้างขึ้น วัดพลับพลาชัย เจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยที่หลวงพ่อฤทธิ์ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นผู้นำในการวางรากฐานการศึกษาฟื้นฟูศิลปะวรรณกรรม และเป็นผู้ก่อตั้ง หนังใหญ่คณะวัดพลับพลาชัย ที่ขึ้นชื่อลือดังสมัยนั้น

ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูอาทรวชิรธรรม(เชื่อม สิริวณฺโณ)อดีตเจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัย เขียนไว้ว่า “หนังใหญ่ของวัดพลับพลาชัยดังที่สุด เป็นการละเล่นที่มักจะมีคนว่าไปเล่นในงานศพของเจ้านาย ขุนนางหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทั้งในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง”

หนังใหญ่วัดพลับพลาชัยสร้างโดยหลวงพ่อฤทธิ์ อดีตเจ้าอาวาสของวัดพลับพลาชัย (เป็นเจ้าอาวาสระหว่างพ.ศ.2412 – 2462) หลวงพ่อฤทธิ์ในวัยเยาว์ บิดา-มารดาของท่านได้มอบท่านให้เป็นศิษย์ของขรัวอินโข่ง ในกรุงเทพฯ ทำให้ท่านมีโอกาสเรียนศิลปะ และเมื่ออายุครบบวชท่านได้กลับมาบวชที่วัดมหาธาตุวรวิหาร เมืองเพชรบุรี และจำพรรษาที่วัดพลับพลาชัย นอกจากจะได้เรียนพระปริยัติธรรมตามที่ผู้บวชพระควรจะเรียนแล้ว ท่านยังศึกษาวิชาแพทย์ต่างๆ จากหลวงพ่อคง(เจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัยในขณะนั้น) โดยเฉพาะการรักษาโรคตา เช่นโรคตาแดง ตาริดสีดวง และตาต้อทุกชนิด จนสามารถผ่าต้อได้ทุกชนิด

หลังจากที่หลวงพ่อคง มรณภาพ ในปี 2412 หลวงพ่อฤทธิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ในช่วงนั้นนอกจากการรักษาโรคตาแล้ว หลวงพ่อฤทธิ์ยังริเริ่มทำหนังใหญ่ขึ้น โดยท่านได้ระดมลูกศิษย์ด้านงานวิจิตรศิลป์มาช่วยในการทำหนังใหญ่ ในเวลา 3 ปีที่ทำตัวหนังนั้น หลวงพ่อฤทธิ์ สามารถผลิตตัวหนังได้กว่า 200 ตัว โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดพลับพลาชัย เป็นโรงงานฉลุหนังใหญ่ ตัวหนังใหญ่ทั้งหมดฉลุขึ้นมาเป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ หนังใหญ่ทำโดยฝีมือของหลวงพ่อฤทธิ์และบรรดาลูกศิษย์ในตอนนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ หนังเมืองหรือหนังจับ เป็นรูปของตัวละครกับสถานที่ หรือตัวละครสองตัวกำลังแสดงอิริยาบทอยู่ดัวยกัน และหนังเดี่ยวคือ ฉลุเป็นตัวละครตัวเดี่ยวๆ หลังจากที่ได้ฉลุหนังจนเสร็จและค้นหาลูกศิษย์ที่มีหน่วยก้านดีพอที่จะเป็นคนเล่นหนังใหญ่ได้แล้ว ก็เริ่มการฝึกซ้อมจนเป็นที่โจษขานว่า หนังใหญ่ของหลวงฤทธิ์เล่นงามนักหนา

จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองเพชรบุรี ก็ทรงมีรับสั่งให้เจ้าเมืองเพชรบุรีสมัยนั้น ไปหาหนังใหญ่มาเล่นถวายเพื่อจะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบรอบปีสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์ ณ พระราชวังรามราชนิเวศน์(วังบ้านปืน) ท่านเจ้าเมืองได้เชิญให้หนังใหญ่คณะวัดพลับพลาชัยเล่นถวายหน้าพระที่นั่งเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2453 เมื่อหลวงพ่อฤทธิ์ได้มรณภาพลง ลูกศิษย์ของท่าน คือหลวงพ่อกร เป็นเจ้าอาวาสต่อ และยังคงมีการสืบทอดเรื่องของการทำหนังใหญ่อยู่บ้าง แต่หลังจากหลวงพ่อฤทธิ์จะมรณภาพได้ไม่นาน ก็เกิดเหตุไฟไหม้วัดพลับพลาชัยครั้งใหญ่วอดวายไปเกือบทั้งหมด หลวงพ่อกรจึงเร่งบูรณะวัดให้กลับมาสวยงามดังเดิม การต่อยอดในเรื่องของหนังใหญ่จึงได้ชะงักไป

ในวันนี้หนังใหญ่วัดพลับพลาชัยเหลือไว้แต่ตัวหนังและชื่อเสียงเท่านั้น แต่ด้วยท่านเจ้าอาวาสปัจจุบันเล็งเห็นความสำคัญ และต้องการจะเก็บรวบรวมความทรงจำเกี่ยวกับหนังใหญ่ของวัดพลับพลาชัย ท่านจึงได้จัดทำพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดพลับพลาชัยขึ้น ด้วยความร่วมมือและความอนุเคราะห์ของชมรมครูผู้รับบำเหน็จบำนาญของเพชรบุรี อาคารพิพิธภัณฑ์คือภายในวิหารพระคันธารราฐ อีกฟากของถนนบันไดอิฐ (วัดถูกแบ่งออกเป็นสองฟาก จากการตัดถนนบันไดอิฐ) ภายในวิหารมีพระพุทธรูปและรูปจำลองของหลวงพ่อฤทธิ์ หลวงพ่อกร อดีตเจ้าอาวาสของวัด และตัวหนังใหญ่แขวนอยู่บนผนังของวิหารโดยรอบ โดยถูกจัดแสดงจัดไว้ในกรอบ มีไฟส่องสว่างให้เห็นลวดลายของตัวหนัง ส่วนใหญ่จะแยกระหว่างหนังจับกับหนังเดี่ยว เนื่องจากหนังจับอาจจะมีตัวละครหรือสถานที่ประกอบอยู่ในตัวหนังด้วย จึงทำให้ขนาดของตัวหนังจับใหญ่กว่าหนังเดี่ยว ซึ่งมีความสูงส่วนใหญ่ประมาณ 1 เมตรเท่านั้น

การดูแลรักษานั้น แยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่จัดแสดงจะอยู่ในกรอบไฟสำหรับจัดแสดงในวิหาร ตัวหนังอีกส่วนหนึ่งจะอยู่ในอาคารไม้ข้างๆ กับวิหาร หนังทั้งหมดนั้น เป็นหนังที่แกะและสร้างมาตั้งแต่สมัยหลวงพ่อฤทธิ์ เมื่อเกิดไฟไหม้ที่วัดพลับพลาชัย ตัวหนังใหญ่เหล่านี้ถูกย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่วัดคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี จากนั้นกรมศิลปากรก็ขึ้นทะเบียนและเก็บรักษาไว้ เมื่อทางวัดพลับพลาชัยทราบว่า กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ทั้งหมดแล้ว จึงขอความอนุเคราะห์ยืมหนังใหญ่บางตัว มาเก็บไว้ที่วัดเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

ผู้เข้าชมส่วนใหญ่คือ ผู้ที่เข้ามานมัสการพระในวิหาร ก็จะได้ชมตัวหนังใหญ่ไปด้วย ในบางครั้งก็มีกลุ่มนักเรียนนักศึกษาเข้ามาชมเพื่อทำรายงาน ปีละ 2-3 ครั้ง หลวงพ่อเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ท่านได้มอบหมายหน้าที่การดูเลเปิด-ปิดตัวอาคาร และเป็นผู้นำชมภายในพิพิธภัณฑ์แก่ พระธนภูมิ สัญญโม ด้วยท่านสนใจงานด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ และศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานเพชรบุรี (เพชรบุรี ราชบุรี) อ.ชะอำ เพชรบุรี โทร. (032) 471 005-6
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี โทร. (032) 425 573
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (032) 428 047
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. (032) 425 544
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า โทร. (032) 401 251-3
โรงพยาบาลเพชรรัชต์ โทร. (032) 417 070 – 2
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. (032) 425 500, (032) 417 106
บริษัท ขนส่ง จำกัด สาขาเพชรบุรี โทร. (032) 425 307
สถานีรถไฟเพชรบุรี โทร. (032) 425 211
ไปรษณีย์เพชรบุรีโทร. (032) 425 146, (032) 425 571
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบุรี โทร. (032) 402 220, (032) 427 579
ที่ว่าการอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 361, (032) 472 502, (032) 471 078
โรงพยาบาลชะอำ โทร. (032) 471 007
สถานีตำรวจภูธรอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 321, (032) 434 021-2
ไปรษณีย์ชะอำ โทร. (032) 471 252
สถานีรถไฟชะอำ โทร. (032) 471 159
สถานีรถปรับอากาศ (ปอ.1) โทร. (032) 471 615 (สี่แยกชะอำ) โทร.(032) 471 654, (032) 4332 88 (ชายหาดชะอำ)
ศูนย์ตำรวจท่องเที่ยวเฉพาะกิจหัวหิน-ชะอำ โทร. (032) 515 995

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว  ตั้งอยู่ที่ถนนดำเนินเกษม ใกล้กับวัดมหาธาตุ อยู่ในเขตตำบลคลองกระแชง

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น