Category: แม่ฮ่องสอน

น้ำตกผาบ่อง

น้ำตกผาบ่อง ตั้งอยู่บ้านผาบ่อง เป็นน้ำตกขนาดเล็กแต่มีความสงมาก สายน้ำไหลลดหลั่นลงจากหน้าผาหินสูง 40 ม. กระแสนน้ำไม่รุนแรง แวดล้อมด้วยป่าเบญจพรรณที่ร่มรื่น ส่วนด้านหน้าเป็นแอ่งน้ำเล็กๆ สามารถลงเล่นน้ำได้  น้ำตกผาบ่อง มีอีกชื่อหนึ่งว่าน้ำตกดำข่อน เพราะเกิดจากสายน้ำของห้วยดำข่อนที่ไหลตกมาตามหน้าผาสูงชันลดหลั่นกัน ตัวน้ำตกตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 108 ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน 12 กิโลเมตร [adsense-2] ติดต่อสอบถาม ททท. สำนักงานแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ 0 5361 2982-3 การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 ไปทาง อ.ขุนยวม ผ่านจุดตรวจบ้านผาบ่องไปไม่ไกล จะถึงทางแยกซ้ายมือไปน้ำตกผาบ่องเข้าไปราว 1.5 กม. ช่วงแรกจนถึงบ้านผาบ่องเหนือเป็นทางคอนกรีตราว 500 ม. จอดรถหน้าหน่วยพิทักษ์ อช. ถึงตัวน้ำตกพอดี รถรับจ้าง เหมารถสองแถวที่ตลาดสายหยุด ราคา 300 บาท แผนที่

Read More

ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ

ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ในช่วงฤดูหนาวทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอจะบานสะพรั่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา เยือน และชมความงดงาม ของท้องทุ่งที่เต็มไปด้วยสีเหลืองส้มปกคลุมเต็มเทือกเขา ทุ่งบัวตองอยู่ในเขต บ้านสุรินทร์ ต.ยวมน้อย อ.ขุนยวม มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณ ประมาณ 1,000 ไร่ และจะบานสะพรั่งในช่วงเดือน พฤศจิกายน- ต้นเดือนธันวาคม เกือบสุดปลายทางถนน 108 ที่อำเภอขุนยวมใน ฤดูหนาวนักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมทุ่งดอกบัวตองบาน ทุ่งดอกบัวตองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีให้ชมเพียงปีละครั้งเท่านั้น ทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ ห่างจากที่ทำการอำเภอขุนยวม 25 กิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีก แห่งหนึ่งของ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะเป็นทิวเขาเขียวสูงขึ้นสลับด้วยทิวทุ่งดอกบัวตอง เหลืออร่ามทั่วพื้นเขา มีพื้นที่ประมาณ 500 กว่าไร่ เมื่อเดินขึ้น ไปยังดอยแม่อูคอแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถชมวิวได้ทั่ว มีศาลาชมวิวที่ สร้างขึ้นไว้รองรับนักท่องเที่ยวอยุ่หลายแห่ง ซึ่งจากศาลาชมวิว สามารถมองเห็นทุ่งดอกบัวตองได้ 360 องศา นอกจากนี้ในระหว่างทา่งชมทุ่งดอกบัวตอง ตรงจุดพักรถข้างทางใกล้หมู่บ้านก่อนถึง ดอยแม่อูคอประมาณ 2 กิโลเมตรนักท่องเที่ยว ช่วงเวลาน่าเที่ยวชมทุ่งดอกบัวตอง ดอกบัวตองจะบานสะพรั่งในช่วงเดือน […]

Read More

ถ้ำลอด

ถ้ำลอด หรือถ้ำน้ำลอด ตั้งอยู่ที่ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญ ปัจจุบันอยู่ ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มแม่น้ำปาย มีสถานที่น่าสนใจ คือ ถ้ำลอด ซึ่งมีลำห้วยชื่อ น้ำลางไหล ลอดภูเขาไปทะลุออกอีกด้านหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม จากการพบเครื่องมือเครื่องใช้ โบราณในถ้ำสันนิษฐานได้ว่ามีอายุประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ถ้ำลอด เป็นถ้ำที่มีชื่อเสียง สวยงาม และเข้าชมได้ง่ายสะดวกสบายที่สุดในบรรดาถ้ำทั้งหมด การเข้าชมถ้ำจาก ด่านด้านหน้าต้องเดินเท้าเข้าไปประมาณ 350 เมตร พร้อมคนนำทางและตะเกียงส่องทาง สาเหตุที่ไม่มีการติดตั้ง ไฟในถ้ำต่างๆก็เพื่อเป้นการรักษาถ้ำเหล่านี้ให้สวยงามและคงเดิมอยุ่ตลอดเวลา อีกทั้งยังสร้างรายได้เสริมให้กับ ชาวบ้านใกล้เคียงที่สมัครมาเป็นคนนำทางให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย เมื่อถึงบริเวณปากทางเข้าถ้ำนักท่อง เที่ยวส่วนใหญ่ก็มาถึงบางอ้อว่าทำไมถ้ำแห่งนี้ชื่อว่า “ถ้ำลอด” นั่นเป็นเพราะถ้ำแห่งนี้มีสายน้ำไหลผ่านตั้งแต่ปาง ทางเข้าถ้ำไปจนถึงถ้ำสุดท้ายที่อยู่ภายในโพรงแห่งนี้มีความยาวกว่า 500 เมตร กว้าง 20 เมตร สูง 50 เมตร สายน้ำกัดเซาะโพรงถ้ำแห่งนี้มากกว่าล้านปี ก่อเกิดเป็นถ้ำใหญ่ๆถึง 3 แห่ง ได้แก่ ถ้ำเสาหิน ถ้ำตุ๊กตา และถ้ำผีแมน เส้นทางท่องเที่ยวทั้ง 3 ถ้ำ […]

Read More

ถ้ำแก้วโกมล

ถ้ำแก้วโกมล อยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย มีเนื้อที่ประมาณ 51.26 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2539 ความแวววาวของหินย้อย ที่ราวกับเกล็ดเพชรของถ้ำเมืองเหนือ ความแวววาวของผลึกแร่แคลไซต์ สีขาวใสที่เคลือบฉาบผนังภายในถ้ำแก้วโกมล หรือที่เรียกกันว่าถ้ำน้ำแข็ง ถูกค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อวิศวกรสำรวจเหมืองแร่ของสำนักงานทรัพยากรธรณีแม่ฮ่องสอน ขุดเจาะอุโมงค์เข้าไปตามสายแร่ ลักษณะถ้ำมีผนังแวววาว ยิ่งยามต้องแสงไฟผลึกแร่ดูงดงามดั่งเกล็ดน้ำแข็ง ถ้ำเช่นนี้พบเห็นได้เพียง 3 แห่งในโลก คือ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศจีน และประเทศไทย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร ยังถ้ำแม่ลาน้อย(ชื่อเดิม) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 และได้พระราชทานนามว่า “ถ้ำแก้วโกมล” และยังพระราชทานนามให้กับถ้ำย่อย ๆ ทั้งห้าห้องของถ้ำแก้วโกมล ตามลักษณะของแต่ละห้องว่า 1. ห้องพระทัยธาร 2. ห้องวิมานเมฆ 3. ห้องเฉกหิมพานต์ 4. ห้องม่านผาแก้ว 5. ห้องเพริศแพร้วมณีบุปผา ซึ่งห้องที่ 5 […]

Read More

สะพานประวัติศาสตร์(ท่าปาย)

สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย อยู่ที่บ้านท่าปาย ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก่อนถึงตัวอำเภอปาย ประมาณ 10 กิโลเมตร บนเส้นทางหมายเลข 1095 ถือเป็นหน้าด่านของอำเภอปาย สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย มีลักษณะคล้ายกับสะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ที่เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นใช้เป็นเส้นทางเดินทัพจากเชียงใหม่ ผ่านอำเภอปายไปยังประเทศพม่า แต่เดิมนั้นเป็นสะพานไม้ ภายหลังสงครามสิ้นสุดทหารญี่ปุ่นถอยทัพกลับได้เผาทำลายสะพานไม้ทิ้ง และชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ สะพานถูกน้ำพัดหายไป ทางอำเภอจึงได้ขอสะพานเหล็ก “นวรัฐ” เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ใช้การแล้วมาใช้ทดแทน ซึ่งก็คือ “สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย” ในปัจจุบัน ปัจจุบันจะมีสะพานปูนสร้างอยู่เคียงข้าง แต่สะพานประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งนี้ก็ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ที่มาเยือนอำเภอปายอยู่เป็นประจำ โดยแต่เดิมนั้นเป็นเหล็ก และทางเดินไม้ที่ทรุดโทรม ไม่สามารถเดินได้ แต่ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงใหม่นักท่องเที่ยวสามารถเดินไปบนสะพานเพื่อชมวิว และถ่ายรูปเป็นที่ระลึกได้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะเดินทางมาถ่ายรูป และเดินเท้าข้ามสะพานแห่งนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกในการมาเยือน อ.ปาย ในปัจจุบัน สะพานแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ ความเป็นมาของเมืองปาย และสะพานไป เป็นจุดถ่ายรูปยามเย็นที่สวยงามมากๆ [adsense-2] สิ่งอำนวยความสะดวก/ที่พัก […]

Read More

วัดพระธาตุแม่เย็น

วัดพระธาตุแม่เย็น ตั้งอยู่บนเขาทางทิศตะวันออกหลังหมู่บ้านแม่เย็น ด้านหลังโบสถ์เป็นที่ตั้งเจดีย์เก่า สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด จากจุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอปายได้ทั่วถึงทั้งบ้านเรืองและทุ่งนา ยิ่งถ้าได้ขึ้นไปในตอนเย็นจะได้ชมพระอาทิตย์ตกโดยมีเทือกดอยจิกจ้องเป็นฉากหลังที่งดงาม และพระธาตุแห่งนี้เป็นจุดสังเกตของผู้โดยสารทางเครื่องบินว่าเข้าเขตอำเภอ ปายแล้ว วัดพระธาตุแม่เย็น ถือเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองปายมาเป็นเวลาช้านานแล้ว หากแต่ไม่มีประวัติแน่ชัดว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง ตั้งอยู่บนภูเขาทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอปาย ห่างจากที่ว่าการอำเภอปายประมาณ 2กิโลเมตร เลยจากทางเข้าน้ำตกแม่เย็นมาเพียง 100 เมตร ก็จะพบทางเข้าวัด นักท่องเที่ยวสามารถเลือกขึ้นไปด้านบนได้ 2 วิธี คือ โดยการขับรถขึ้นไป หรือ จะเดินเท้าขึ้นบันไดพญานาค ก็ถือเป็นการออกกำลังกายอีกทางหนึ่ง ภายในบริเวณวัดเงียบสงบ ร่มรื่น ด้านหลังโบสถ์เป็นที่ตั้งของเจดีย์เก่าหรือที่เรียกว่า “เจดีย์พระธาตุแม่เย็น” เป็นเจดีย์ทรงระฆังสีขาวฐานกลม สูงประมาณ 3 เมตร โดดเด่นที่ยอดฉัตรแบบเจดีย์พม่า นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางขึ้นมาชม และสักการะก่อนเดินทางกลับ ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ตั้งพระธาตุที่ชาวเมืองปายเคารพแล้ว ยังถือเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม เนื่องจากสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของตัวเมืองปายที่รายล้อมด้วยภูเขาน้อยใหญ่ และมีแม่น้ำปายไหลผ่าน [adsense-2] หากท่านมีโอกาสได้มาเยี่ยมเยียนเมืองปายในช่วงฤดูฝน ท่านก็จะได้สัมผัสกับบรรยากาศทุ่งนาที่เขียวขจี ได้เห็นความงามในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยปกติ นักทอ่งเที่ยวจะขึ้นมาเยี่ยมชมที่วัดพระธาตุแม่เย็นกันในช่วงเย็น เพื่อรอชมพระอาทิตย์ตกดิน และชมความงามของเมืองปาย ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ทั้งเมืองจากจุดนี้ ด้วยระยะทางจากเมืองที่ไม่ไกลนัก นักท่องเที่ยวสามารถปั่นจักรยานมาเที่ยวที่นี่ได้ไม่ยากนัก เมื่อมาถึงพระธาตุแม่เย็นเราจะต้องเดินขึ้นบันไดอีกพอสมควร แค่พอเหนื่อย บริเวณรอบๆพระธาตุแม่เย็นมีร้านโปสการ์ด […]

Read More

วัดน้ำฮู

วัดน้ำฮู อยู่ที่บ้านน้ำฮู หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นวัดแบบไทยล้านนา อยู่ระหว่างทางไปหมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนาน เป็นที่ประดิษฐานของพระอุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม (ศิลปะล้านนา) ปางมารวิชัยทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ ประวัติการสร้างไม่แน่นอนแต่เชื่อกันว่าสร้างโดยพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นพระราชกุศลถวายพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา พระพุทธรูปองค์นี้พระเศียรกลวง ส่วนบนปิดเปิดได้และมีน้ำขังอยู่เสมอ นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปนมัสการพระอุ่นเมือง ต้องขออนุญาตจากเจ้าอาวาสเพื่อเปิดโบสถ์เสียก่อน นอกจากนี้ ภายในบริเวณวัดมีศาลากลางน้ำ ภายในศาลามีรูปหล่อของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ และอัฐิของพระนางสุพรรณกัลยา ประวัติวิหารวัดน้ำฮู สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2474 โดยครูบาศรีวิชัย เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอุ่นเมือง ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุสำคัญคู่เมืองปาย มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ต่อมาวิหารหลังนี้ได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ไม่สามารถใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปอุ่นเมืองได้ คณะพุทธบริษัทจากกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และอำเภอปาย โดยมีพลโทวิเชียร – คุณวิเชียร วิชัยวัฒนะ เป็นประธานดำเนินการ นายเกษม ไชยวงศ์ จากหน่วยศิลปากรที่ 4 กรมศิลปากร เป็นผู้ควบคุมแบบก่อสร้าง และนายสมบูรณ์ เบ็ญมาตร์ นายอำเภอปายเป็นผู้ประสานงาน ได้ร่วมกันบูรณะวิหารโดยให้คงลักษณะสถาปัตยกรรมตามแบบเดิมให้มากที่สุด เพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถาน เมื่อปีพุทธศักราช 2533 […]

Read More

วัดกลาง

วัดกลาง ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะไทยใหญ่แท้ ประดิษฐานอยู่กลางลานวัดและมีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบ ใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่เป็นมณฑปยอดมงกุฎ ในบริเวณวัดไม่มีที่จอดรถ นักท่องเที่ยวสามารถจอดรถได้ที่วัดหลวง และเดินเที่ยวในถนนคนเดิน และวัดกลาง ซึ่งมีระยะทางไม่ห่างกันมาก วัดกลาง เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอปาย หากนักท่องเที่ยวนั่งรถประจำทางมาลงที่สถานีปาย เดินทางออกมาทางซ้ายมือจะพบวัดกลาง โดดเด่นที่เจดีย์ศิลปะแบบไทยใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางวัด มีมณฑปที่ยอดมงกุฎสีทองสวยงาม รายลอบด้วยเจดีย์ทรงมอญ ส่วนบริเวณใต้เจดีย์เป็นซุ้มที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปประจำวัดเหนือฐานวัดตั้งอยู่ตรงถนนคนเดินโดดเด่นมากครับ [adsense-2] คำแนะนำในการเที่ยว : วัดกลางอาจจะไม่โดดเด่นเรื่องสถาปัตยกรรมเท่าวัดในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน แต่เราก็จะได้เห็นรูปแบบของวัดมอญที่นี่อีกแห่งหนึ่ง ยังตั้งอยู่ในจุดสำคัญอย่างถนนคนเดินรับรองว่าใครไปเที่ยวปายคงได้มีโอกาสเดินผ่านมองเห็นอย่างแน่นอน การเดินทาง รถยนต์ วัดกลางอยู่ติดกับท่ารถเปรมประชา (ท่ารถปาย) ซึ่งอยูในถนนคนเดิน อ.ปาย แผนที่

Read More

หมู่บ้านสันติชล(ศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนาน)

หมู่บ้านสันติชล ตั้งอยู่ในตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากตัวอำเภอปาย 4.5 ก.ม. เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่นำเสนอเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ของชาวจีนยูนนานอันเป็นรากฐานของ ชุมชนมาเป็นจุดดึงดูด นักท่องเที่ยว และยังใช้กิจกรรมท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือของการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน ทั้งด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมจีนยูนนาน การพัฒนาอาชีพ ที่ส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ในอดีตหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านเกือบปิดเพราะปัญหา ยาเสพติด ทำให้คนภายนอกไม่กล้าเข้าไปเที่ยวในชุมชน ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวได้หมดไปหลังนโยบาย ปราบปรามยาเสพติดตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ชุมชนจึงร่วมกัน วิเคราะห์ตนเอง พบว่าหมู่บ้านยังมีปัญหาหลายประการที่รอการแก้ไขได้แก่ ไร้สัญชาติการศึกษารายได้เสริม การจัดการผลผลิตทางการเกษตรที่ล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ร่วมกัน การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นประเด็นที่ชุมชนให้ความสนใจ เพื่อหารายได้เสริมให้แก่ครอบครัว บรรยากาศในหมู่บ้านจำลอง เหมือนได้ก้าวเข้ามาสู่ประเทศจีน เนื่องจากลักษณะของการตกแต่ง สถานที่จะเป็นสไตล์จีนยูนานทั้งหมด สิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นเมื่อก้าวย่างเข้าไปในเขตของศูนย์วัฒนธรรม คือ มังกรสีสดพันอยู่กับเสา ซี่งตั้งอยู่บนเนินหินสีเข้ม ด้านหน้าของเนินหินมีอักษรภาษาจีน เมื่อเดินเข้ามาจะพบกับ บ้านดินสีส้มพลาสเทลสดใสตัดกับสีท้องฟ้าใสตั้งเรียงรายอยู่ มีร้านของที่ระลึก เช่น รองเท้า เสื้อผ้า ชา ผลไม้ดองและอบแห้ง อาหารแปรรูปชนิดต่างๆฯจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว และมีร้านอาหารจีนยูนานให้บริการด้วย อาหารที่เลี่ยงชื่อ ขาหมู หมั่นโถว […]

Read More

บ่อน้ำร้อนเมืองแปง

บ่อน้ำร้อนเมืองแปง หรือน้ำพุร้อนเมืองแปง มีลักษณะเป็นบ่อน้ำร้อนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใจกลางไร่นาของชุมชนบ้านเมืองแปง ใกล้หน่วยพิทักษ์ป่าแม่ปิงห่างจากตัวเมืองปายประมาณ 35 กิโลเมตร โป่งน้ำร้อนแห่งนี้มีอุณหภูมิสูงถึง 95 องศาเซลเซียสจึงไม่สามารถลงแช่น้ำได้ ช่วงฤดูหนาวมาเยือนชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนิยมมานั่งรับไออุ่นกันบริเวณริม โป่งน้ำร้อนแห่งนี้ นอกจากนี้จากที่นี่คุณยังสามารถไปเที่ยวชมน้ำพุร้อนเมืองแปงได้อีกด้วย โดยน้ำพุร้อนเมืองแปงจะมีลักษณะเป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยพรรณไม้อันร่มรื่นจึงเหมาะสำหรับพักผ่อนชมวิว สิ่งอำนวยความสะดวก ภายในบริเวณโป่งน้ำร้อน และน้ำพุร้อนเมืองแปงไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวสามารถนำเต็นท์มา กางพักแรมได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใด ๆ สิ่งน่าสนใจ บ่อน้ำพุร้อนมีอุณหภูมิสูงถึง 95 องศาเซลเซียส น้ำร้อนไหลเป็นธารผ่านก้อนหินใหญ่น้อยลดหลั่นกันลงไปอย่างสวยงาม [adsense-2] การเดินทาง   รถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) ระหว่างหลัก กม.92-91 ให้เลี้ยวขวาเข้าถนน รพช.บ้านทุ่งยาวใต้-บ้านเมืองแปง เป็นถนนคอนกรีตสลับลูกรัง ตรงไปจนถึงหลัก กม.24 ก่อนข้ามสะพานเข้าบ้านเมืองแปง ด้านขวาเป็นทางเข้าวัดใหม่เมืองแปง สังเกตถังน้ำใหญ่ทางด้านขวา เลี้ยวซ้ายเข้าทางดินอีก 2 กม. ถึงน้ำพุร้อน รถรับจ้าง เหมารถที่ท่ารถเปรมประชา ราคา 300 บาท แผนที่

Read More