Tag: แม่ฮ่องสอน

ปางอุ๋ง

ปางอุ๋ง หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า “โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)” นั้น เป็นโครงการในพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่อันตราย อยู่ติดแนวชายแดนพม่ามีกองกำลัง ต่างๆ มีการขนส่ง ปลูกพืชเสพติด รวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ตัดไม้ทำลายป่าอยู่เสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระราชินีนาถจึงมีพระราชดำริให้รวบรวมราษฎรกลุ่มน้อยบริเวณนั้น และ พัฒนาความเป็นอยู่ ส่งเสริม อาชีพปลูกป่า สร้างอ่างเก็บน้ำ โดยมีพระราชประสงค์สร้างความมั่นคงแนวชายแดน พัฒนาความเป็นอยู่ของ ราษฎร ให้ดีขึ้นและฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไป ปางอุ๋ง มีลักษณะเป็นพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวสนที่ปลูกเรียงรายกัน ปางอุ๋ง ที่หลายๆ คนอาจยังไม่เข้าใจความหมาย คำว่า “ปาง” ซึ่งหมายถึงที่พักของคนทำงานในป่า ส่วน “อุ๋ง” นั้น เป็นภาษาเหนือหมายถึงที่ลุ่มต่ำคล้ายกระทะใบใหญ่มีน้ำขังเฉอะแฉะ ก็น่าจะหมายถึงที่พักริมอ่างเก็บน้ำนี่เอง ภาพอันสวยงามของไอหมอกที่ลอยเหนือทะเลสาป กับบรรยากาศอันหนาวเหน็บในยามเช้า ทำให้ปางอุ๋ง กลาย เป็น เป็นสถานที่ท่องเี่ที่ยวมาแรง ยอดฮิต สุดแสนโรแมนติกติดอันดับต้นๆของแม่ฮ่องสอน จนได้รับขนานนาม ว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย” ยิ่งยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำผ่านทิวสนและไอหมอกบางๆ ยิ่งเ็ป็นภาพที่สร้างความประทับยากจะลืมเลือน แม้ในกระทั่งเวลาที่หมอกเลือนลางหายไปก็ยังคงความงาม ที่ปางอุ๋งนอกจากชมบรรยากาศของสายหมอกในยามเช้าแล้ว กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่พลาดไม่ได้ […]

Read More

วัดหัวเวียง

วัดหัวเวียง ตั้งอยู่ที่ถนนสีหนาทบำรุง ตำบลจองคำ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2406 เป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประจำเมืองที่งดงามมาก มีประวัติว่าหล่อจำลองจาก พระมหามุนี  ซึ่งเป็นเจ้าพาราละแข่งองค์จริง ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า โดยลุงจองโพหย่า เดินทางไปนิมนต์มา พระเจ้าพาราละแข่งองค์นี้สร้างเป็นท่อนๆ ทั้งหมด ๙ ท่อน ล่องมาตามแม่น้ำปาย แล้วนำมาประกอบที่วัดพระนอนและนำมาประดิษฐานที่วัดหัวเวียง หรือวัดกลางเวียง ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง ปัจจุบันวิหารที่ประดิษฐานพระเจ้าพาราละแข่ง วัดหัวเวียงเป็นวัดที่มีศิลปะแบบไทใหญ่ ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่มีหลังคาซ้อนกันหลายชั้นโดยยกจั่วขึ้นและมีหลังคาขนาดเล็กว่าทิ้งชายครอบลงมา ถ้ามีสองจั่วและซ้อนหลังคาสามชั้นเรียกว่า “เจตบุน” ส่วนอาคารสามคอจั่วและซ้อนหลังคาเป็นสี่ชายเรียกว่า “ยอนแซก” หากสูงไปกว่านั้นนิยมสร้างเป็นยอดปราสาทโดยซ้อนหลังคาขึ้นไปห้าหรือเจ็ดชั้น ส่วนชายของหลังคานิยมประดับสังกะสีเจาะฉลุเป็นลวดลายสวยงาม สังกะสีฉลุส่วนที่ประดับเหนือหลังคาเรียกว่า “ปานถ่อง” ส่วนสังกะสีฉลุส่วนที่ห้อยลงมารียกว่า “ปานซอย” สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1. พระเจ้าพาลาละแข่ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่องฝีมือช่างมัณฑะเลย์ องค์พระหล่อจากทองเหลือง ส่วนพระพักตร์มีส่วนผสมของทองอยู่ส่วนหนึ่ง ทำให้พระพักตร์แวววาวอยู่เสมอ พระเจ้าพาลาละแข่งจำลองจากพระมหามุนีองค์จริงที่ประดิษฐานอยู่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า การหล่อพระเจ้าพาละแข่ง ช่างได้หล่อเป็นท่อนๆจำนวนเก้าท่อน ลุงจองโพหย่าเป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญล่องมาตามแม่น้ำปายแล้วนำมาประกอบที่วัดพระนอน จากนั้นจึงนำมาประดิษฐานที่วัดหัวเวียง 2. วิหารพระเจ้าพระเจ้าพาลาละแข่ง สันนิษฐานว่าสร้างในคราวเดียวกับการสร้างวัด โครงสร้างทั้งหมดของวิหารใช้ไม้เป็นวัสดุ ลักษณะเด่นคือหลังคาแบบเรือนยอดทรงปราสาทซ้อนห้าชั้น […]

Read More

วัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง เดิมชื่อวัดจอมหมากแจง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองแม่สะเรียง อยู่ติดกับวัดจองสูงโดยมีรั้วกั้นพื้นที่แยกจากกัน เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอแม่สะเรียง สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2450 ตามแบบศิลปพม่าผสมไทยใหญ่ เป็นวัดที่มีความสวยงาม ศาลาและวิหารมีหลังคาที่มีลวดลายฉลุสวยงามเป็นศิลปะผสมผสานแบบ กรีกรามัญ วัดศรีบุญเรือง เดิมชื่อวัดจองหมากแกง เพราะมีต้นมะขามขนาดใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของกุฏิสงฆ์ โดยการสร้างของ ครูบาศรีวิชัย ประมาณปี พ.ศ. 2450 เป็นวัดที่มีพื้นที่ค่อนข้างน้อย แต่โดดเด่นด้วยความสวยงามของศิลปะแบบไทยใหญ่ คือหลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ประดับสังกะสีและลายแกะสลักไม้ ลวดลายละเอียด เป็นหลังคาจองขนาดใหญ่ 3 หลังติดกัน ภายในจอง(วัด) มีภาพเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก โดยฝีมือช่างชาวพม่า วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ติดกับวัดจองสูง และมีทางเดินเชื่อมกัน [adsense-2] สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1. ศาลาหลังใหญ่ สร้างตามแบบศิลปะไทยใหญ่ หลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ ตามแบบฉบับของไทยใหญ่ใช้เป็นทั้งวิหาร กุฏิ และศาลาการเปรียญ ภายในมีภาพเขียนเป็นเรื่องพระเวสสันดรชาดก มีทั้งหมด 12 กัณฑ์ ฝีมือช่างชาวพม่า 2. พระอุโบสถ มีขึ้นด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่นักเพราะพื้นที่จำกัด หลังคามีลวดลายฉลุที่สวยงาม ภายในประดิษฐานพระประธานแบบพม่าองค์โต เปิดให้ชมเป็นบางครั้ง 3. พระพุทธรูปหยกขาว เป็นพระพุทธรูปที่ทำจากหยกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย […]

Read More

วัดม่วยต่อ

วัดม่วยต่อ ตั้งอยู่เลขที่ 21 ถนนผดุงม่วยต่อ ตำบลจองคำ อำเภอเมือง วัดม่วยต่อ แปลว่า วัดแห่งเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยเจ้านางเมี๊ยะ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนในสมัยนั้น ได้สร้างศาลาการเปรียญแบบไทใหญ่ คณะศรัทธาจึงร่วมมือกันสร้างเจดีย์ 6 องค์ ชื่อวัดได้มาโดยเจ้าอาวาสรูปแรกซึ่งย้ายมาจากวัดม่วยต่อ อำเภอหมอกใหม่ รัฐฉานในประเทศพม่า จึงนำเอาชื่อวัดม่วยต่อมาใช้ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “จองหม่วยต่อ”และเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อ ปี พ.ศ. 2466 มีการขึ้นทะเบียนเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อ ปี พ.ศ. 2498 วัดม่วยต่อได้ทรุดโทรมลงมาก พระราชวีรกรเจ้าอาวาสวัดม่วยต่อ และเจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงสร้างศาลาการเปรียญทรงไทใหญ่ขึ้นใหม่ซึ่งเป็นศาลาการเปรียญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ วัดม่วยต่อประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ศาลาบำเพ็ญกุศล โรงครัว เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร และปูชนียวัตถุ ได้แก่ พระประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปทองเหลือง พระประธานที่ศาลาการเปรียญ เป็นพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ซึ่งเป็นศิลปะพม่า […]

Read More

วัดพระนอน

วัดพระนอนเป็นวัดเก่าแก่และสำคัญอีกแห่งหนึ่งของแม่ฮ่องสอนเพราะสร้างขึ้น โดยเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอน ถือเป็นวัดประจำตระกูลเจ้าเมือง ห่างจากวัดไปไม่กี่ร้อยเมตรเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พญาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองคนแรก ชาวเมืองและนักท่องเที่ยวแวะมาสักการะอยู่เสมอ ประวัติ พระนางเมียะซึ่งเป็นชายาของพญาสิงหนาทราชาและเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแม่ฮ่องสอนองค์ที่ 2 สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2414 วัดพระนอนจึงเป็นวัดประจำตระกูลของเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนและเป็นสถานที่บรรจุอัฐิของเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนทุกพระองค์ สิ่งน่าสนใจภายในวัด 1. พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่ในจอง เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนแบบศิลปะพม่าที่มีความงดงาม ประดิษฐานบนแท่นสูง 3 ม. มีขนาดความยาวตลอดองค์ 12 ม. สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพญาสิงหนาทราชาตามคติที่ว่าคนเกิดวันอังคารควรสร้างหรือบูชาพุทธไสยาสน์หรือพระนอน การก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยพระนางเมียะ 2. โบสถ์หลังเก่า ตั้งอยู่ด้านหลังจอง เป็นโบสถ์เก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างในราวปี พ.ศ.2469 เป็นหนึ่งในจำนวนโบราณสถานแบบไทยใหญ่เพียงแปดหลังในภาคเหนือที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2536 โบสถ์หลังนี้มีสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่ที่งดงามมาก หลังคาเป็นเรือนยอดทรงปราสาทซ้อนสามชั้น มีโลหะฉลุลายตกแต่งตามเชิงชายและจั่วของหลังคาแต่ละชั้น ส่วนยอดหลังคาประดับฉัตรสีทองอย่างสวยงาม 3. พิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่บนจอง จัดแสดงพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่พบในแม่ฮ่องสอน หนังสือธรรมภาษาไทยใหญ่หรือ “ลีกไต” ข้าวของเครื่องใช้โบราณทั้งของเจ้าเมือง ชาวบ้าน ชาวอังกฤษที่เคยเข้ามาทำไม้ และของทหารญี่ปุ่นที่เดินทัพเข้ามาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 [adsense-2] 4. รูปปั้นสิงห์คู่ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหลังวัด ตรงเชิงบันไดขึ้นดอยกองมู แต่ปัจจุบันบันไดทางขึ้นนี้รกร้างเนื่องจากไปทางรถยนต์สะดวกกว่า […]

Read More

วัดพระธาตุดอยกองมู

วัดพระธาตุดอยกองมู เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์์คู่่บ้านคู่เมืิองของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาช้านาน ตั้งอยู่บน ดอยกองมู ทาง ทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเพียง 3 ก.ม.เดินทางโดยแยกจากทางหลวงสาย 108 ตรงบริเวณ อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชาขึ้นไปทางซ้ายมือ เป็นทางลาดยางขึ้นภูเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึง บริเวณวัด พระธาตุดอยกองมูเดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอย ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย จองต่องสู่ เมื่อ พ.ศ. 2403เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมา จากประเทศพม่า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย พระยาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอน คนแรก จากวัดพระธาตุ ดอยกองมูนี้สามารถมองเห็นภูมิประเทศและสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจน และสวยงามมากวัดนี้มีงานเทศกาลประจำปีหลายงาน เช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวันออกพรรษา จะมีการตักบาตรดาวดึงส์ หรือ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1.พระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ ของวัดพระธาตุดองกองมูสร้างโดยพ่อค้าชาวไทยใหญ่ชื่อ “จองต่องสู่” เมื่อ พ.ศ. 2403 ลักษณะเป็นเจดีย์ทรง เครื่องแบบมอญ ประดับลวดลายปูนปั้น มีฐานแปดเหลี่ยมซ้อนสามชั้น […]

Read More

วัดพระธาตุจอมมอญ

วัดพระธาตุจอมมอญ เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์สำคัญหนึ่งในสี่เจดีย์ประจำมุมเมือง เป็นพระเจดีย์เก่าแก่ตั้งอยู่บนยอดเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง สิ่งน่าสนใจภายในวัด พระธาตุจอมมอญ สร้างขึ้นเมื่อครั้งตั้งเมือง เป็นหนึ่งในสี่เจดีย์ที่สร้างไว้สี่มุมเมือง คือ จอมแจ้ง จอมทอง จอมกิตติ และจอมมอญ ชาวบ้านถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง มีงานฉลองในเดือน ก.ค. ของทุกปี ตามคติของผู้คนท้องถิ่นเหนือนิยมสร้างเจดีย์ไว้ตามยอดดอยรอบๆ เมือง นอกจากเรื่องศรัทธาทางศาสนาแล้ว ยังเป็นจุดหมายสำหรับคนเดินทางให้รู้ว่าเข้าเขตเมืองใหญ่แล้ว [adsense-2] จุดชมทิวทัศน์เมืองแม่สะเรียง เมื่อขึ้นไปข้างบนนักท่องเที่ยวจะได้เห็นภาพเมืองแม่สะเรียงปรากฏอยู่เบื้องล่าง เป็นภาพมุมกว้างที่เห็นบ้านเรือนกระจุกตัวอยู่ในหุบเขา ล้อมรอบด้วยทุ่งนาและสายน้ำยวมที่ไหลคดเคี้ยวผ่านที่ราบซอกซอนลับสายตาไปตรงช่องเขาด้านใต้ การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว จากตัว อ.แม่สะเรียง ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำยวมไปตามทางหลวงหมายเลข 1194 (แม่สามแลบ) ประมาณ 1 กม.จะพบทางแยกให้เลี้ยวขวาไปราว 4 กม. จะถึงที่ตั้งวัดทางขวามือ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง จากตลาดเทศบาล ค่ารถ 30 บาท แผนที่

Read More

วัดพระธาตุจอมกิตติ

วัดพระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่บนยอดเขาเล็กๆ วัดพระธาตุ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยภายในวัดนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์รูปทองปราสาท ภายในบรรจุพระบรมธาตุ สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูน พระเจดีย์รูปทองปราสาท นับเป็นพระเจดีย์ที่สำคัญและเก่าแก่ของตำบลแม่แฝก ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าพระธาตุจอมกิตติสร้างในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้างจากการบอกเล่า และยืนยันของพระครูสุธรรมานุศาสก์ท่านบอกว่า พระธาตุจอมกิตติสร้างมาประมาณ 800 ปี ก็เท่ากับว่าสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ก่อนเมืองเชียงใหม่ บริเวณพระธาตุจอมกิตติ มีพระวิหาร พระอุโบสถ หอระฆัง พระพุทธไสยาสน์ ลานชมวิว บันไดขึ้นสู่บริเวณวัด และมีรูปปั้นครูบาแหว้น (พระครูวินิจคุณากร) และครูบาชุ่ม โพธิโก ผู้ดูแลและบูรณะพระธาตุจอมกิตติ วัดพระธาตุมีสำนักปฏิบัติธรรม เป็นสถานที่สงบเหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม และนักท่องเที่ยวที่แสวงหาความสงบทางใจ [adsense-2] การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว วัดพระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จากตัวอำเภอสันทราย(หน้า ม.แม่โจ้)-ไปยัง วัดพระธาตุจอมกิตติ  ประมาณ 20 กิโลเมตร ตามทาง หมายเลข […]

Read More

วัดปางล้อ

วัดปางล้อ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘ บ้านปางล้อ ถนนปางล้อนิคม ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ( สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย) วัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๑๔ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๘๕ เมตร ถึงถนนปางล้อนิคม ทิศใต้ประมาณ ๗๕ เมตร จรดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ ๖๕ เมตร จรดที่ดินเอกชน อาคารเสนาสนะ วัดปางล้อ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ โดยพระครูเมธาเจ้าอาวาสวัดปางล้อ และศรัทธาประชาชนในชุมชนที่ใกล้เคียงมาร่วม ที่มาของชื่อวัดปางล้อมีว่าเมื่อก่อนมีประชาชนบรรทุกเกวียน มาขออาศัยพักพิงวัดอยู่หลายครั้งเป็นเวลานานๆ ชาวบ้านก็เลยตั้งชื่อ ว่า “วัดปางล้อ” มาจนถึงปัจจุบัน สถาปัตยกรรมของวัดเป็นศิลปะพม่า หรือลายไต โดยแกะสลักลายไตจากสังกะสีทำเป็นหลังคาวัดและสร้างประมาณ ๕ ชั้น ที่เป็นยอดของหลังคาวัด มีพระพุทธรูปประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปจากพม่า โดยลำเลียงจากพม่าล่องแม่น้ำปายมา ๑ องค์ ต่อมาศรัทธาชาวบ้านจึงอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ๑ […]

Read More

วัดต่อแพ

วัดต่อแพ เป็นวัดเก่าแก่ริมน้ำยวม มีความงดงามมากอีกแห่งหนึ่งของ อ.ขุนยวม นักท่องเที่ยวที่ผ่านมาเส้นทางนี้มักไม่พลาดเข้าชม อีกทั้งตัวหมู่บ้านต่อแพซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ของแม่ฮ่องสอนก็ยังคงรักษาบรรยากาศแบบไทยใหญ่ไว้อย่างน่าสนใจ ประวัติ เดิมเป็นวัดร้าง มีเจดีย์เก่าๆ ที่เหลือเป็นซากอิฐจำนวนมาก ต่อมมามีพระพม่ามาจำวัดอยู่ ชาวบ้านจึงได้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ.2461 และพ่อค้าจีนที่มาพักบริเวณนี้เพื่อจะต่อแพบรรทุกข้าวสารไปแม่สะเรียง ได้รวบรวมปัจจัยทำนุบำรุงวัดให้ดีขึ้น สิ่งน่าสนใจภายในวัด 1. เจดีย์ทรงเครื่องแบบมอญ วิหารแบบไทยใหญ่ ทั้งเจดีย์และวิหารตั้งเด่นอยู่กลางลานวัดโดยมีกำแพงแก้วล้อมรอบเจดีย์มีสถาปัตยกรรมแบบมอญตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม ที่ส่วนยอดประดับฉัตรโลหะเจ็ดชั้น ตั้งอยู่คู่กับวิหารโถงซึ่งเป็นศิลปะไทยใหญ่ มีหลังคาซ้อนหลายชั้นอย่างวิจิตรพิสดาร แสดงให้เห็นฝีมืออันประณีตของช่างไทยใหญ่ในยุคนั้น 2. ศาลาการเปรียญ เป็นสถาปัตยกรรมพม่าผสมไทยใหญ่ที่สวยงามมาก สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง มีความกว้าง 30 ม. ยาว 25 ม. หลังคาแยกเป็นหลังๆ ซ้อนเป็นชั้นๆ มุงด้วยสังกะสี ประดับโลหะฉลุลายอย่างสวยงาม 3. ผ้าม่านโบราณ ชาวพม่านำมาถวายให้เป็นสมบัติของวัด ผ้าม่านผืนนี้มีอายุร้อยกว่าปี เป็นศิลปะแบบพม่า ปักดิ้นทองลานนูนประดับด้วยทับทิมกับอัญมณีที่มีค่าแสดงเรื่องราวพระเวสสันดรชาดก ปัจจุบันผ้าม่านโบราณผืนนี้จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์บนจอง 4. อาคารสถาปัตยกรรมไทยใหญ่ เป็นอาคารขนาดเล็กต่างๆ ที่ตั้งอยู่ภายในวัด ได้แก่ ถาน(ส้วม) ศาลาสรงน้ำ ศาลาบ่อน้ำซึ่งล้วนมีลักษณะสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น คือ มีหลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ […]

Read More