Month: November 2014

วัดโพธาราม

วัดโพธาราม (วัดหลวงพ่อพระใหญ่) ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไคร้ หมู่ 5 ตำบลบึงกาฬ  เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใหญ่ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบึงกาฬ คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาคว่ำวางทับพระฌานุ นิ้วพระหัตถ์ ทั้ง 5 เหยียดลงอย่างมีระเบียบ เหมือนพระพุทธรูปทั่วๆไป หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ (5 ฟุต 4 นิ้ว) ศิลปะสมัยล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปโลหะที่มีการฉาบปูนโอบไว้ ภายหลังได้ทาสีทองทับเพื่อป้องกันองค์พระชำรุด ประดิษฐานบนแท่น 4 เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี 2537 ประวัติหลวงพ่อใหญ่ ตามตำนาน และคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่หลายรุ่น หลายสมัยเล่าสืบต่อกันมา ว่า ประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว จนถึงยุคสมัยหลังๆ ซึ่งแต่ก่อนคนเหล่านี้ส่วนมาก ได้อพยพ ครอบครัวมาจากเมืองยศ (บริเวณจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) มาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำโขง และร่นขึ้นมาทางเขตชัยบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอบึงกาฬ) การตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นก็เหมือนกัน ทุกยุคทุกสมัย คือที่ใดไม่เหมาะสมในการดำรงชีวิต ต้องประสบกับภัย และโรคร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอหิวา โรคไข้ฝีดาด […]

Read More

วัดบุพราชสโมสร

วัดบุพาราชสโมสร  เดิมชื่อ “วัดศรีมงคล” ชาวบ้านเรียก”วัดกลาง” ตั้งอยู่เลขที่ 170 บ้านบึงกาฬ ถนนชาญสินธุ์ หมู่ 1 ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยคุณตาดวง ได้ชื้อที่ดินในราคา 5 บาท แบ่งที่ดินส่วนหนึ่งสร้างเป็นวัด มีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 44 ตาราวา นายแดงและนางคำป้อง(บุตรสาวคุณตาดวง) ได้รวบรวมปัจจัยและแรงงานชาวบ้านร่วมสร้างพระอุโบสถ โดยใช้ยางบกผสมทรายและปูนขาว และได้ถวายปัจจัยในการสร้างพระประธานประดิษฐานในพระอุโบสถเป็นจำนวนเงิน 700 บาท แล้วเสร็จในปี 2468 ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดบุพราชสโมสร” อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และตึก 2 หลัง ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย 3 องค์ ปัจจุบันมีพระครูอุทัยวรคุณเป็น เจ้าอาวาส […]

Read More

วัดไตรภูมิ

วัดไตรภูมิ ตั้งอยู่ที่ ถนนโพธิ์ศรี หมู่ที่ ๑ ตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด อุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก บานประตูหน้าต่าง เป็นไม้มะค่าแกะสลักลวดลายสวยงามมาก พระพุทธรูปปูน ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4จ นิ้ว ใบเสมาศิลาสลักลายไทย ปรางค์เทพนม และธรรมาสน์ วัดไตรภูมิ พระบรมสารีริกธาตุ พระประทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสลกมาสังฆปรินายก ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “พระธาตุรัตนตรัยภูมิ” ณ วัดไตรภูมิ อ.เซกา จ.บึงกาฬ ถือเป็นแหล่งรวมจิตรวมใจ ตลอดจนแรงศรัทธาของประชาชนชาว อ.เซกา และอำเภอใกล้เคียงต่างเดินทางมากราบไหว้พระธาตุ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ศูนย์บริการข่าวสารท่องเที่ยว ททท. 1672 สำนักงานจังหวัด โทร. 0-4249-1797-8 ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155 ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สถานีตำรวจภูธร โทร. 0-4249-1256, 0-4249-1254,0-4249-1258 […]

Read More

วัดเจติยาคีรีวิหาร(ภูทอก)

วัดเจติยาคีรีวิหาร หรือ วัดภูทอก ตั้งอยู่ที่บ้านคำแคนพัฒนา หมู่ที่ 6 ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย มีขนาดความสูง โดยวัดจากฐานถึงยอด 460 เมตร มีบันไดเรียงขึ้นตามชั้นต่าง ๆ 7 ชั้น และฐานชั้นที่ 6 วัดโดยรอบได้ 800 เมตร เป็นหน้าผาสูงชัน ภูทอก ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว ภูทอก มี 2 ลูก คือภูทอกใหญ่และภูทอกน้อยส่วนที่นักแสวงบุญและ นักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถชมได้คือ ภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวชม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น การเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก จุดเด่นของภูทอกก็คือ สะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก ใช้เพียงแรงงานคนสร้าง บรรไดเวียน ไปมา รอบภูทอกแบบ 360 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็มจากชั้น 1-7 จะมีบันไดไม้ให้ เดินแบบตรงทอดยาว จนถึงจุดสูงสุดของยอดภูทอก และตั้งแต่ชั้นที่ 3 […]

Read More

น้ำตกเจ็ดสี

น้ำตกเจ็ดสี ตั้งอยู่ที่ ตำบลโคกกว้าง อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ  เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว สายน้ำไหลตกจากหน้าผาหินทรายแล้วแผ่กว้างออกสวยงามตระการตา ด้านล่างมีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำและโขดหินให้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ เป็นหินทรายเรียบ มีตะไคร่น้ำจับ ลื่นมาก ๆ ต้องเดินอย่างระมัดระวังทุกย่างก้าว ตัวน้ำตกมีทั้งหมด 3 ชั้นระยะทางเดินถึงชั้นที่สามประมาณ 1 กิโลเมตร น้ำตกเจ็ดสี เดิมเรียกว่าน้ำตกห้วยกะอาม ซึ่งเกิดจากธารน้ำของลำห้วยกะอาม เป็นน้ำตกจากหน้าผาสูง ละอองไอน้ำตกกระทบกับแสงแดดยามบ่ายทำให้เกิดรุ้ง 7 สีขึ้น จึงเป็นที่มาของน้ำตกเจ็ดสี นักท่องเที่ยวซึ่งต้องการเห็นสายรุ้ง 7 สี ต้องเดินเท้ามาให้ถึงตัวน้ำตกเจ็ดสีตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 10.00 – 14.00 น.ในวันฟ้าโปร่งเท่านั้นค่ะ เหมาะสำหรับท่องเที่ยวในช่วงฤดูฝนเพราะจะสวยงามมีน้ำมาก ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดให้เข้าชมเฉพาะเสาร์อาทิตย์ ข้อควรระวัง ไม่เหมาะสำหรับคนชรา และเด็กเล็ก ถ้าไม่ห่วงเรื่องลื่นล้ม ถือว่าเป็นน้ำตกที่มีจุดให้เล่นน้ำได้เยอะ และน่าสนุกมาก ๆ ค่ะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ศูนย์บริการข่าวสารท่องเที่ยว ททท. 1672 สำนักงานจังหวัด โทร. 0-4249-1797-8 ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155 ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 […]

Read More

เที่ยว บึงกาฬ

บึงกาฬ “สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์ อิทฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิงสุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล” เทศกาล/ประเพณี ประเพณีบุญบั้งไฟ จัดเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ณ บริเวณพื้นที่ต่างๆในจังหวัด เทศกาลดูบั้งไฟพญานาค จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงวันออกพรรษา(ประมาณเดือนตุลาคม) ณ บริวเณริมแม่น้ำโขง วัดอาฮงศิลาวาส อ.เมือง การเดินทาง รถทัวร์ จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีรถเที่ยวเวลา 19:00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ 600 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1490 สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ วัดอาฮงศิลาวาส  กราบนมัสการพระพุทธคุวานันศาสดา พระประธานซึ่งมีลักษณะเดียวกับพระพุทธชินราช ประดิษฐานในอุโบสถหลังงามริมแก่งอาฮง แก่งอาฮงนั้นเป็นจุดที่ถือว่ามีความลึกที่สุดของแม่น้ำหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สะดือแม่น้ำโขง” ภายในบริเวณวัดยังรายล้อมไปด้วยสวนโขดหินธรรมชาติลักษณะแปลกตา วัดแห่งนี้ถือว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวบึงกาฬและยังเป็นจุดขมบั้งไฟพญานาคที่เป็นที่นิยมอีกแห่งหนึ่งด้วย น้ำตกชะแนน ผจญภัยกับเส้นทางท่องเที่ยวสู่ผาน้ำตกสวยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ที่เกิดจากลำห้วยสะแนไหลลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ 2 ชั้น มีขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามมาก ระหว่างทางจะผ่านขัวหิน(สะพานหิน) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำลอดหายไปใต้สะพานหินและผ่านแนวลำธารที่เต็มไปด้วยโขดหิน ใครที่ชอบการผจญภัยไม่ควรพลาดเลยค่ะ [adsense-2] สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆในจังหวัด น้ำตกเจ็ดสี วัดเจติยาคีรีวิหาร(ภูทอก) วัดไตรภูมิ […]

Read More

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม นั่นคือ“ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนสถาน ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้ จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย ในปี พ.ศ. 2479 […]

Read More

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน เทศบาลเมืองนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่ตรงหน้าประตูชุมพล จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประตูเมืองเก่าทางด้านทิศตะวันตก อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หล่อด้วยทองแดงร่มดํา ความสูง 1.85 เมตร น้ำหนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ความสูง 2.5 เมตร แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอวหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ บริเวณฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง ประวัติท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า “โม” (แปลว่า ใหญ่มาก)หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกาพ.ศ. 2314สมัยกรุงเทพมีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก(ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก […]

Read More

อนุสรณ์สถานเทวาลัยไทรทองเทพนิมิตร

อนุสรณ์สถานเทวาลัยไทรทองเทพนิมิตร ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา สถานที่เที่ยวแห่งใหม่ของโคราชที่เพิ่งเปิดตัวเมืองกลางปี 52 นี้เอง อนุสรณ์สถานเทวาลัยไทรทองเทพนิมิต หรือที่เรียกกันว่า สวนสมเด็จพระนเรศวร เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมรูปวีรกษัตริ์ 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรส และสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ที่นี่มีความสวยงามของสถาปัตยกรรมโดยรอบ มีมุมให้ถ่ายภาพเยอะค่ะ อีกทั้งยังได้สักการะวีรกษัตริย์ของไทยเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตอีกด้วยค่ะ และมีอาคารที่จัดแสดง ห้องบรรทมและข้อมูลเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเอกาทศรถ พระนางสุพรรณกัลยา เสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงามค่ะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานนครราชสีมา (นครราชสีมา ชัยภูมิ) อ.เมือง นครราชสีมา โทร. (044) 213-666, (044) 213-030 ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (044) 251-818 ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, (044) 341-777-9 ท่าอากาศยานนครราชสีมา โทร. (044) 259-524 […]

Read More

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท

แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท หมู่ที่ 7 ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 3,000 ปี เป็นที่รู้จักเพราะ นักค้าของเก่าลักลอบนำโบราณวัตถุในบริเวณหมู่บ้านไปขาย กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการจับกุมพร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาแหล่ง โบราณคดีนี้ในปี 2526 พบโครงกระดูกโบราณถึง 60 โครง พร้อมกับภาชนะดินเผาแบบต่างๆและเครื่องประดับทั้งที่ทำจากเปลือกหอยและสำริดจำนวนมาก กรมศิลปากรได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจาก ททท.ภายใต้โครงการอีสานเขียวพัฒนาแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จึงจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งขึ้นเป็นแห่งที่ 2 ของภาคอีสานหลังจากเปิดพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีมาก่อนหน้านี้ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ถือเป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น มีลำธารปราสาทไหลผ่านด้านเหนือ มีมนุษย์มาตั้งชุมชนครั้งแรกราว 3,000 ปีมาแล้ว รู้จักการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สำริดบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ทำภาชนะดินเผาทรงปากแตรสีแดงขัดมันและมีการนำภาชนะดังกล่าวฝังร่วมกับศพด้วย ต่อมาในราว 2,200 ปี เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงขึ้น โดยผลิตภาชนะดินเผาแบบพิมายดำขึ้นแทน มีการนำเหล็ก สำริด หินสีต่าง ๆ เช่น หินคาร์นีเลียน หินอเกต มาทำเครื่องใช้เครื่องประดับ จนราวพุทธศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มรับวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรเข้ามา แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ […]

Read More